กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการอบรมเชิงปฏิบัติการป้องกันและควบคุมโรคไข้เลือดออกในชุมชน
รหัสโครงการ 64-L7252-01-02
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 1 สนับสนุนการจัดบริการสาธารณสุขของ หน่วยบริการ/สถานบริการ/หน่วยงานสาธารณสุข
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ หน่วยงานสาธารณสุขอื่นของ อปท. เช่น กองสาธารณสุขของเทศบาล
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ
วันที่อนุมัติ 16 มีนาคม 2564
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 24 มีนาคม 2564 - 29 กันยายน 2564
กำหนดวันส่งรายงาน 30 กันยายน 2564
งบประมาณ 150,000.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นางสาวรุจิรา ไชยเจริญ
พี่เลี้ยงโครงการ นางจินดาพร แซ่เฉีย
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลสะเดา อำเภอสะเดา จังหวัดสงขลา
ละติจูด-ลองจิจูด 6.636,100.416place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานเผชิญภัยพิบัติและโรคระบาด , แผนงานกลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีความเสี่ยง
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน 12 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน :

ระบุ

กลุ่มวัยทำงาน 88 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มวัยทำงาน :

ระบุ

กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

โรคไข้เลือดออก เป็นโรคติดต่อที่เกิดจากเชื้อไวรัสแดงกี่ ซึ่งมียุงลายเป็นพาหะนำโรค ผู้ป่วยจะเริ่มแสดงอาการไข้หลังจากถูกยุงลายที่มีเชื้อกัดประมาณ 5 – 8 วัน โดยโรคนี้เกิดขึ้นได้ทั้งในเด็กและผู้ใหญ่ แต่มักพบในเด็กช่วงอายุ 5 – 14 ปี และมักมีการระบาดในช่วงฤดูฝน เพราะมียุงเพิ่มมากขึ้น ยุงลายอาศัยอยู่ในอาคาร และบริเวณรอบๆอาคาร บ้านเรือน โดยเกาะพักอยู่ตามที่มือ อับชื้น และดูดกินเลือดคนเวลากลางวัน
จากข้อมูลการแพร่ระบาดของโรคไข้เลือดออกดังกล่าว พบว่าข้อมูลการแพร่ระบาดของโรคไข้เลือดออกในเขตพื้นที่เทศบาลเมืองสะเดาในปีที่ผ่านมา (พ.ศ. 2562 – 2563) ไม่พบผู้ป่วยเสียชีวิตด้วยโรคไข้เลือดออก แต่ยังพบผู้ป่วยโรคไข้เลือดออกได้ในทุกชุมชน และพบว่าจำนวนผู้ป่วยไข้เลือดออกมีจำนวนลดลง ซึ่งข้อมูลสถิติจำนวนผู้ป่วยไข้เลือดออกในปี พ.ศ. 2562 มีจำนวน 78 ราย และในปี พ.ศ. 2563 พบจำนวนผู้ป่วยโรคไข้เลือดออกโดยพบจำนวนผู้ป่วย 66 ราย โดยพบผู้ป่วยที่อาศัยในชุมชนประชาร่วมใจ และชุมชนภูธรอุทิศ มากที่สุด (มีจำนวนผู้ป่วย 9 คน) รองลงมา คือ ชุมชนบ้านไพร (มีจำนวนผู้ป่วย 7 คน) และข้อมูลล่าสุดเดือน ม.ค. - มี.ค. พ.ศ. 2564 มีผู้ป่วยจำนวน 2 ราย นอกจากนี้ จากการสำรวจชุมชนพบว่า มีแหล่งเพาะพันธุ์ลูกน้ำยุงลายในหลายพื้นที่ทั้ง 19 ชุมชนซึ่งจะทำให้เกิดโรคไข้เลือดออก และมีโอกาสเกิดการแพร่ระบาดของโรคได้อย่างรวดเร็ว ดังนั้น ทางกองสาธารณสุขและสิ่งแวดล้อมเทศบาลเมืองสะเดา จึงทำโครงการอบรมเชิงปฏิบัติการป้องกันและควบคุมโรคไข้เลือดออกในชุมชน ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2564 เพื่อดำเนินงานป้องกันและควบคุมโรคไข้เลือดออก โดยเน้นให้ประชาชนในชุมชน รวมทั้ง ครูอนามัยในโรงเรียน และนักเรียน ซึ่งกำลังศึกษาอยู่ในโรงเรียนที่ตั้งอยู่ภายในเขตเทศบาลเมืองสะเดา เห็นความสำคัญและชักนำให้ประชาชนมีส่วนร่วมอย่างจริงจัง และต่อเนื่อง

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อควบคุมการแพร่ระบาดของโรค และป้องกันการเกิดผู้ป่วยรายใหม่ในพื้นที่

อัตราผู้ป่วยไข้เลือดออกลดลง

100.00
2 เพื่อให้ประชาชนตื่นตัว และกระตุ้นให้ประชาชนมีส่วนร่วมในการควบคุมโรคไข้เลือดออกอย่างจริงจัง และต่อเนื่อง
  • ประชาชนให้ความร่วมมือและมีความเข้าใจเกี่ยวกับการควบคุมโรคไข้เลือดออก
  • ประชาชนสามารถแนะนำสมาชิกในชุมชนเกี่ยวกับการควบคุมโรคไข้เลือดออก
100.00
3 ลดอัตราผู้ป่วยไข้เลือดออกในประชากรทุกกลุ่มอายุ

อัตราประชากรในชุมชนป่วยด้วยโรคไข้เลือดออกลดลง

100.00
4 ไม่พบอัตราผู้ป่วยโรคไข้เลือดออกเสียชีวิต

อัตราผู้เสียชีวิตจากโรคไข้เลือดออกเป็นศูนย์

100.00
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
  1. ประชุมคณะทำงาน เพื่อวางแผนรายละเอียดโครงการ
  2. เขียนโครงการและขออนุมัติโครงการ
  3. ประสานงานการดำเนินโครงการ/ประชาสัมพันธ์โครงการ
  4. ดำเนินโครงการ โดยมีกิจกรรม
stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ

1.ตัวแทนชุมชน อสม. ทั้ง 19 ชุมชน ครูอนามัยโรงเรียน ตัวแทนนักเรียนรวมทั้งผู้ที่สนใจเข้าร่วมโครงการ มีแรงจูงใจที่จะได้รับความรู้จากการอบรมโดยมีความตระหนักถึงอันตรายของโรคไข้เลือดออก การป้องกันและควบคุมโรคไข้เลือดออก 2.ประชาชนในชุมชนในเขตพื้นที่ทม.สะเดา มีความตระหนักถึงอันตรายของโรคไข้เลือดออก การป้องกันและควบคุมโรค และนำความรู้ที่ได้ไปปฏิบัติในชีวิตประจำวัน 3.ประชาชนในเขตพื้นที่ทม.สะเดา มีส่วนร่วมในกิจกรรมรณรงค์ทำความสะอาด (Big Cleaning Day) และตระหนักถึงการป้องกันและควบคุมโรคไข้เลือดออก 4.ควบคุมการแพร่ระบาดของโรค และป้องกันการเกิดโรคไข้เลือดออกได้อย่างรวดเร็ว โดยความร่วมมือของแกนนำชุมชน และอสม. และประชาชนในพื้นที่ 5.ควบคุมการแพร่ระบาดของโรค และป้องกันการเกิดโรคไข้เลือดออกได้อย่างรวดเร็ว

stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 24 มี.ค. 2564 14:52 น.