กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการ สร้างเสริมสุขภาพในกลุ่มเสี่ยงโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง ด้วยการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพด้วยหลัก ๓ อ. ๒.ส. ๑ น.
รหัสโครงการ
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 2 สนับสนุนกิจกรรมสร้างเสริมสุขภาพ การป้องกันโรคของกลุ่มหรือองค์กรประชาชน/หน่วยงานอื่น
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ หน่วยงานสาธารณสุขอื่นของ อปท. เช่น กองสาธารณสุขของเทศบาล
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ ชมรม อสม. ตำบลคลองปาง
วันที่อนุมัติ 9 มีนาคม 2564
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 1 มีนาคม 2564 - 30 กันยายน 2564
กำหนดวันส่งรายงาน
งบประมาณ 23,550.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นางกัลยาภัสร์ ทองแก้ว
พี่เลี้ยงโครงการ
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลคลองปาง อำเภอรัษฏา จังหวัดตรัง
ละติจูด-ลองจิจูด 7.987,99.645place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานกลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีความเสี่ยง
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
งวดวันที่งวดโครงการวันที่งวดรายงานงบประมาณ
(บาท)
จากวันที่ถึงวันที่จากวันที่ถึงวันที่
1 1 มี.ค. 2564 30 ก.ย. 2564 23,550.00
รวมงบประมาณ 23,550.00
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มวัยทำงาน 50 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มวัยทำงาน :

กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง 50 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง :

stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

ปัจจุบันเศรษฐกิจและสังคมของประเทศไทย มีการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วส่งผลต่อการดำเนินชีวิตของประชาชน มีการแข่งขันสร้างความมั่นคงให้แก่ครอบครัว นิยมวัฒนธรรมตะวันตกมากขึ้น จึงทำให้วิถีชีวิตมีการเปลี่ยนแปลง เช่นการเร่งรีบกับการทำงาน การแข่งขันทางธุรกิจ การบริโภคอาหารโดยไม่คำนึงถึงคุณค่าทางโภชนาการ การเคลื่อนไหวร่างกายน้อยลง ขาดการออกกำลังกาย ความเครียด สิ่งเหล่านี้เป็นปัจจัยทำให้มีโอกาสเสี่ยงต่อการเจ็บป่วยด้วยโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง เช่นโรคเบาหวาน โรคความดันโลหิตสูง หากเกิดภาวะแทรกซ้อนจากโรคเหล่านี้ จะนำมาสู่การเสียชีวิตก่อนวัยอันควรได้ ซึ่งโรคเหล่านี้สามารถป้องกันได้โดยการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพ เช่นการรับประทานอาหารตามหลักโภชนาการ การมีกิจกรรมทางกายที่เหมาะสม
      จากผลการคัดกรองโรคความดันโลหิตสูง และโรคเบาหวานในประชากร เขตการปกครองส่วนพื้นที่องค์การบริหารส่วนตำบลคลองปาง ปีงบประมาณ ๒๕๖๔ พบว่า มีกลุ่มเสี่ยงด้วยโรคความดันโลหิตสูง จำนวน ๒๒๐ ราย คิดเป็นร้อยละ ๑๗.๖๙ และกลุ่มเสี่ยงด้วยโรคเบาหวาน จำนวน ๑๕๐ ราย คิดเป็นร้อยละ ๑๐.๘๒ นอกจากนี้กลุ่มป่วยที่รับยาที่โรงพยาบาลรัษฏาและรพ.สต.คลองปาง ตั้งแต่ปี ๒๕๖๐-๒๕๖๔ มีแนวโน้มเพิ่มมากขึ้น จากการติดตามวัดความดันซ้ำในกลุ่มเสี่ยงและกลุ่มสงสัยป่วยต่อเนื่อง ๗ วัน โดยอสม.ในพื้นที่ พบว่า กลุ่มเสี่ยงและกลุ่มสงสัยป่วยด้วยโรคความดันโลหิตสูงบางรายยังไม่สามารถควบคุมระดับความดันโลหิตให้อยู่ในเกณฑ์ปกติได้อย่างสม่ำเสมอ เนื่องจากขาดความรู้เรื่องการปฏิบัติตัวที่ถูกต้องในการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพ ซึ่งจะส่งผลกระทบให้เกิดผู้ป่วยรายใหม่เพิ่มขึ้น และปัญหาในการลงพื้นที่อีกประการคืออุปกรณ์บางอย่างเช่นเครื่องวัดความดันโลหิต มีไม่เพียงพอต่อการใช้งานกับจำนวนกลุ่มเป้าหมายที่เพิ่มมากขึ้น ทางเจ้าหน้าที่ รพ.สต.คลองปาง และแกนนำ อสม.ตำบลคลองปาง ได้เล็งเห็นความสำคัญในการดูแลสุขภาพประชาชนในชุมชน จึงได้จัดทำโครงการสร้างเสริมสุขภาพในกลุ่มเสี่ยงโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง ด้วยการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพด้วยหลัก ๓ อ. ๒.ส. ๑ น. เพื่อสร้างแกนนำสุขภาพและให้ประชาชน ในชุมชนเกิดการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพแบบยั่งยืน ลดการเกิดผู้ป่วยเบาหวานและความดันโลหิตสูงรายใหม่ ป้องกันภาวะแทรกซ้อนที่เป็นสาเหตุสำคัญในการเสียชีวิตก่อนวัยอันควร

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 ข้อที่ ๑.เพื่อสร้างแกนนำในการส่งเสริมและการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพ ข้อที่ ๒.เพื่อให้กลุ่มเสี่ยงและกลุ่มสงสัยป่วยได้รับการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพตามหลัก ๓ อ. ๒.ส. ๑ น.

ตัวชี้วัดความสำเร็จ 1.มีแกนนำในการส่งเสริมและการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพในชุมชน 2.กลุ่มเสี่ยงและกลุ่มสงสัยป่วยเกิดการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพแบบยั่งยืน

50.00
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
hourglass_emptyไม่มีกลุ่มกิจกรรม กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรม 50 23,550.00 0 0.00
1 มี.ค. 64 - 30 ก.ย. 64 1. จัดทำโครงการเสนอเพื่อพิจารณาอนุมัติ 2. จัดประชุมชี้แจงคณะทำงาน และแกนนำ อสม. เพื่อกำหนดแนวทางในการดำเนินงาน 3. ลงพื้นที่คัดกรองประเมินภาวะสุขภาพโดยเจ้าหน้าที่ และอสม. ๔.จัดทำสมุดบันทึกสุขภาพ ๕. จัดอบรมให้ความรู้เรื่องการปฏิบัติตัวในกลุ่มเสี่ยงและกลุ่ 50 23,550.00 -

 

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ

 

stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 24 มี.ค. 2564 21:35 น.