กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการคัดกรองมะเร็งเต้านมและมะเร็งปากมด ปีงบประมาณ ๒๕๖๔
รหัสโครงการ L3313-1-3
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 1 สนับสนุนการจัดบริการสาธารณสุขของ หน่วยบริการ/สถานบริการ/หน่วยงานสาธารณสุข
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ หน่วยบริการหรือสถานบริการสาธารณสุข เช่น รพ.สต.
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพบ้านบางแก้วใต้
วันที่อนุมัติ 19 มีนาคม 2564
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 1 กุมภาพันธ์ 2564 - 30 กันยายน 2564
กำหนดวันส่งรายงาน 30 กันยายน 2564
งบประมาณ 20,000.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นางพรรณี ช่วยพิชัย
พี่เลี้ยงโครงการ
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลจองถนน อำเภอเขาชัยสน จังหวัดพัทลุง
ละติจูด-ลองจิจูด 7.489,100.194place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานอนามัยแม่และเด็ก , แผนงานเด็ก เยาวชน ครอบครัว , แผนงานกลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีความเสี่ยง
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง 75 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง :

stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

ในประเทศไทย โรคมะเร็งปากมดลูกเป็นโรคมะเร็งที่พบเป็นอันดับหนึ่งในสตรีไทย มีผู้ป่วยอัตรารายใหม่ประมาณปีละ ๖,๓๐๐ ราย พบมากที่สุดอายุระหว่างอายุ ๔๕ - ๕๐ ปี ระยะที่พบส่วนใหญ่ อยู่ในระยะลุกลาม อัตราการอยู่รอด ๕ ประมาณ ร้อยละ ๖๐ จึงมีผู้ป่วยจำนวนมาก คาดประมาณว่าจะมีผู้ป่วยใหม่และผู้ป่วยเก่าที่ต้องติดตามดูแลให้การรักษาไม่น้อย กว่า ๖๐,๐๐๐ คนทั่วประเทศ (สถานับมะเร็งแห่งชาติ)
สัญญาณเตือนมะเร็งปากมดลูก ๑ มีเลือดออกจากช่องคลอดอย่างไม่ทราบสาเหตุ เช่น ขณะหรือหลังมีเพศสัมพันธ์ หลังตรวจภายในยังคงมีเลือดออกทางช่องคลอด หลังหมดประจำเดือน หรือประจำเดือนมากะปริดกะปรอยผิดปกติ ๒ มีตกขาวอย่างเห็นได้ชัด และอาจมีเลือดปน ๓ มีอาการเจ็บ ขณะมีเสพสัมพันธ์ ๔ มีสารคัดหลั่งออกมาจากช่องคลอดมากผิดปกติหรืออาจปนเลือด ๕ ปัสสาวะบ่อย หรืออาจปวดบวม ๖ อ่อนเพลีย ไม่มีแรง ๗ เบื่ออาหาร ซูบผอม นำ้หนักลดลง อย่างไม่ทราบสาเหตุ ๘ ปวดท้องน้อย ๙ หากอาการรุนแรงขึ้น อาจจะมีอาการอื่นร่วมด้วย เช่น ขาบวม ปวดหลัง ปัสสาวะมีเลือดปนเป็นต้น       ในช่วงเวลาหลายปีที่ผ่านมา เซลล์เยื่อบุผิวปากมดลูกจะมีการเปลี่ยนแปลงเกิดขึ้น ซึ่งมีกรณีที่พบได้ไม่มากนักที่พบว่าเซลล์ก่อมะเร็ง จะพัฒนาไปเป็นเซลล์มะเร็งในอายุ อนาคต และสามารถให้การรักษาเพื่อลดความเสี่ยงของมะเร็งปากมดลูกในอนาคตได้       ในปีงบประมาณ ๒๕๖๔ นี้ รพ.สต.บ้านบางแก้วใต่ มีสตรีกลุ่มเป้าหมายอายุ ๓๐ - ๖๐ ปี มีที่ต้องคัดกรองทุก ๕ ปี จำนวน ๑๒๔ คน เพื่อการดูแลกลุ่มเป้าหมายดังกล่าว จึงจัดทำโครงการคัดกรองมะเร็งเต้านม ปากมดลูก จำนวน ๔๐ คน ให้ได้ตามเป้าหมายร้อยละ ๔๐ ต่อไป

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 ๑.เพื่อให้สตรีกลุ่มเป้าหมายอายุ ๓๐ - ๖๐ ปี ได้รับการคัดกรองโรคมะเร็งปากมดลูก

สตรีกลุ่มเป้าหมายอายุ ๓๐ - ๖๐ ปี ได้รับการตรวจคัดกรองโรคมะเร็งปากมดลูก ร้อยละ ๒๐

0.00
2 เพื่อไห้สตรีกลุ่มเป้าหมายอายุ ๓๐ - ๖๐ ปี ที่ได้รับการตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูกเมื่อพบภาวะผิดปกติ ได้รับการส่งต่อและรักษาทุกราย

สตรีกลุ่มเป้าหมายอายุ  ๓๐ - ๖๐ ปี ที่ได้รับการตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูกพบภาวะผิดปกติ คัดกรองมะเร็งปากมดลูกพบภาวะผิดปกติ ได้รับการส่งต่อ ร้อยละ ๑๐๐

0.00
3 เพื่อให้ อสม. และแกนนำสุขภาพประจำครอบครัว มีความรู้เรื่องโรคมะเร็งปากมดลูกอย่างถูกต้องและนำกลุ่มเป้าหมายเข้ารับการตรวจคัดกรองโรคมะเร็งปากมดลูกได้อย่างครอบคลุม

อสม.และแกนนำสุขภาพประจำครอบครัว มีความรู้เรื่องโรคมะเร็งปากมดลูกอย่างถูกต้องและนำกลุ่มเป้าหมายเข้ารับการตรวจคัดกรองโรคมะเร็งปากมดลูกได้อย่างครอบคุม

0.00
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม

.ขั้นเตรียม - ประชุมเจ้าหน้าที่/อสม. วางแผน กำหนดเป้าหมาย เนื่อหารูปแบบ - แต่งตั้งเจ้าหน้าที่ผู้ปฏิบัติงานตามแผนงานโครงการ - ประสานงานดำเนินการในส่วนที่เกี่ยวข้อง ๒.ขั้นดำเนินการ - จัดอบรมให้ความรู้แก่ อสม. กลุ่มเป้าหมาย จำนวน 40 คน - เตรียมวัสดุอุปกรณ์ ๓ ประชาสัมพันชาชนในเขตพื้นที่รับผิดชอบ ๔ รณรงค์ประชาสัมพันธ์ในชุมชน (หอกระจายข่าว ป้ายไวนิล ป้ายประชาสัมพันธ์ เอกสารแผ่พับ หนังสือแจ้งถึงเจ้าตัว) ๕.รณรงค์ตรวจคัดกรองค้นหามะเร็งปากมดลูกในกลุ่มเป้าหมาย (อายุ ๓๐ - ๖๐ ปี) ในเขตพื้นที่รับผิดชอบ - ประชาสัมพันธ์ในหมู่บ้าน - บริการตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูกในชุมชน - ให้ศึกษารายบุคคล/กลุ่มเรื่องการป้องกันและการตรวจเต้านมด้วยตนเอง - ส่งต่อในรายที่มีความผิดปกติ - ติดตามผลและแจ้งผลความผิดปกติให้กลุ่มเป้าหมายทราบฉ ๖.บันทึกข้อมูลในโปรแกรม CXS ๒๐๑๐ /HCIS ๗.สรุปผลการดำเนินงาน ๓. ขั้นติดตามประเมินผล - ประเมินภาวะสุขภาพ - สรุปผลการดำเนินงานโครงการ

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ

๑. สตรีกลุ่มเป้าหมายอายุ ๓๐ - ๖๐ ปี ในพื้นที่ได้ตระหนักและเห็นความสำคัญของการตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูกแบบเข้ารับการตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูก ๒. สตรีกลุ่มเป้าหมายอายุ ๓๐ - ๖๐ ปี ที่ได้รับการตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูกและพบภาวะผิดปกติทุกชนิดได้รับการส่งต่อและรักษาทุกราย (ร้อยละ ๑๐๐) ๓. อสม.และแกนนำสุขภาพประจำครอบครัว มีความรู้เรื่องโรคมะเร็งปากมดลูกอย่างถูกต้องและนำกลุ่มเป้าหมายเข้ารับการตรวจคัดกรองโรคมะเร็งปากมดลูกได้อย่างครอบคลุม

stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 25 มี.ค. 2564 08:59 น.