กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการจัดเวที/กิจกรรมแลกเปลี่ยนเรียนรู้ เพื่อพัฒนาศักยาภาพการบริหารกองทุน "กิจกรรมเขียนโครงการไม่ยากอย่างที่คิด"
รหัสโครงการ
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 4 สนับสนุนการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ หน่วยงานสาธารณสุขอื่นของ อปท. เช่น กองสาธารณสุขของเทศบาล
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ กองสาธารณสุขและสิ่งแวดล้อม เทศบาลตำบลโกตาบารู
วันที่อนุมัติ 21 เมษายน 2560
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 3 สิงหาคม 2560 - 3 สิงหาคม 2560
กำหนดวันส่งรายงาน
งบประมาณ 20,000.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ กองสาธารณสุขและสิ่งแวดล้อม เทศบาลตำบลโกตาบารู
พี่เลี้ยงโครงการ นายประพันธ์สีสุข
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลโกตาบารู อำเภอรามัน จังหวัดยะลา
ละติจูด-ลองจิจูด 6.452,101.345place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานการบริหารจัดการกองทุนสุขภาพตำบล
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
งวดวันที่งวดโครงการวันที่งวดรายงานงบประมาณ
(บาท)
จากวันที่ถึงวันที่จากวันที่ถึงวันที่
1 3 ส.ค. 2560 3 ส.ค. 2560 20,000.00
รวมงบประมาณ 20,000.00
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)] 60 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)] :

ระบุ

stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

เทศบาลตำบลโกตาบารู ได้ดำเนินงานกองทุนหลักประกันสุขภาพในระดับท้องถิ่นหรือพื้นที่ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2554 ในการดำเนินกิจกรรมด้านการส่งเสริมสุขภาพ ตาม พรบ. หลักประกันสุขภาพแห่งชาติ พ.ศ. 2545 “ตามมาตรา 47 เพื่อสร้างหลักประกันสุขภาพแห่งชาติให้กับบุคคลในพื้นที่ โดยส่งเสริมกระบวนการมีส่วนร่วมตามความพร้อม ความเหมาะสม และและความต้องการของประชาชนในท้องถิ่น ให้คณะกรรมการสนับสนุนและประสานกับองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นกำหนดหลักเกณฑ์เพื่อให้องค์กรดังกล่าวเป็นผู้ดำเนินงานและบริหารจัดการระบบหลักประกันสุขภาพในท้องถิ่นหรือพื้นที่ โดยให้ได้รับค่าใช้จ่ายจากกองทุนฯ “โดยได้รับการจัดสรรเงินสนับสนุนจากสำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ (สปสช.) 45 บาท:ประชากร 1 คน และเทศบาลตำบลโกตาบารูจะต้องสมทบให้กองทุนฯ อีกไม่น้อยกว่าร้อยละ 50 ของเงินจัดสรรจาก สปสช. เงินกองทุนฯ สามารถใช้จ่ายเพื่อสนับสนุนหรือส่งเสริมเป็นค่าใช้จ่ายตามแผนงานหรือโครงการ หรือกิจกรรม ที่คณะกรรมการกองทุนอนุมัติมี 5 ประเภท ดังนี้ 1) เพื่อสนับสนุนและส่งเสริมการจัดบริการสาธารณสุขของหน่วยบริการ หรือสถานบริการ เน้นเรื่องการสร้างเสริมสุขภาพ ป้องกันโรค การฟื้นฟูสมรรถภาพ และการรักษาพยาบาลเชิงรุก 2) เพื่อสนับสนุนให้องค์กรประชาชน หรือหน่วยงานอื่นในพื้นที่ ดำเนินงานหรือโครงการ หรือกิจกรรมเพื่อการสร้างเสริมสุขภาพ การป้องกันโรค 3) เพื่อสนับสนุนและส่งเสริมกิจกรรมการสร้างเสริมสุขภาพ ป้องกันโรคการฟื้นฟูสมรรถภาพ และการรักษาพยาบาลระดับปฐมเชิงรุก ของศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก หรือศูนย์พัฒนาและฟื้นฟูคุณภาพชีวิตผู้สูงอายุหรือคนพิการในชุมชน หรือศูนย์ชื่ออื่น เป็นเงินไม่น้อยกว่าร้อยละ 15 ของรายรับของกองทุนฯ ในแต่ละปีงบประมาณ 4) เพื่อสนับสนุนค่าใช้จ่ายในการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ ให้มีประสิทธิภาพ ทั้งนี้ต้องไม่เกินร้อยละ 15 ของรายรับของกองทุนฯ ในแต่ละปีงบประมาณ และ 5) กรณีเกิดโรคระบาดหรือภัยพิบัติในพื้นที่ ซึ่งการจัดโครงการทั้ง 5 กิจกรรม ยึดถือปฏิบัติตามคู่มือปฏิบัติงานกองทุนหลักประกันสุขภาพในระดับท้องถิ่นหรือพื้นที่ และแนวทางการดำเนินงานกองทุนหลักประกันสุขภาพในระดับท้องถิ่น นั้น


ซึ่งการดำเนินงานของกองทุนหลักประกันสุขภาพเทศบาลตำบลโกตาบารู ถือได้ว่าเป็นส่วน หนึ่งของการขับเคลื่อนนโยบายสาธารณะ ที่มุ่งหวังในการตอบสนองความต้องการในด้านสุขภาพของประชาชนในพื้นที่ กลุ่มองค์กร และชุมชนหรือประชาชนในพื้นที่ ไม่มีประสบการณ์และความรู้ในการเขียนโครงการ ดังนั้น เพื่อให้การบริหารจัดการงบประมาณของกองทุนฯ เป็นไปตามเจตนารมณ์ของสำนักงานหลักประกันสุขภาพในการดูแลสุขภาพประชาชนให้ครบทุกองค์รวม โดยกำหนดให้มีเงินคงเหลือ ณ วันที่ 30 กันยายน 2560 ไม่เกินร้อยละ 10 จึงจัดทำโครงการจัดเวที/กิจกรรมแลกเปลี่ยนเรียนรู้ เพื่อพัฒนาศักยภาพการบริหารกองทุนฯ “กิจกรรมเขียนโครงการไม่ยากอย่างที่คิด” ขึ้น

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 1. เพื่อให้หน่วยบริการ หน่วยงานด้านสาธารณสุข หน่วยงานอื่นและองค์กรประชาชนมีประสบการณ์ในการวางแผนด้านสุขภาพของประชาชนในพื้นที่
  1. หน่วยบริการ หน่วยงานด้านสาธารณสุข หน่วยงานอื่น และองค์กรประชาชนมีประสบการณ์ ในการวางแผนด้านสุขภาพของประชาชนในพื้นที่
2 2. เพื่อให้หน่วยบริการ หน่วยงานด้านสาธารณสุข หน่วยงานอื่น และองค์กรภาคประชาชน มีส่วนร่วมในการดำเนินกิจกรรมด้านสุขภาพของประชาชนครบทุกองค์รวม
  1. หน่วยบริการ หน่วยงานด้านสาธารณสุข หน่วยงานอื่น และองค์กรประชาชน มีส่วนร่วมในการดำเนินกิจกรรมด้านสุขภาพของประชาชนครบทุกองค์รวม
3 3. เพื่อให้ศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก หรือศูนย์พัฒนาและฟื้นฟูคุณภาพชีวิตผู้สูงอายุหรือคนพิการในชุมชน หรือศูนย์ชื่ออื่น มีส่วนร่วมในการดำเนินกิจกรรมด้านสุขภาพ
  1. ศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก หรือศูนย์พัฒนาและฟื้นฟูคุณภาพชีวิตผู้สูงอายุ หรือคนพิการในชุมชน หรือศูนย์ชื่ออื่น มีส่วนร่วมในการดำเนินกิจกรรมด้านสุขภาพ
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
  1. วางแผนการดำเนินงาน
  2. เขียนโครงการเพื่อขออนุมัติ
  3. แต่งตั้งคณะกรรมการดำเนินงานโครงการ
  4. ประสานงานและเชิญวิทยากร
  5. ประชาสัมพันธ์โครงการฯ
  6. จัดเตรียมเอกสารและสถานที่
  7. ดำเนินการจัดโครงการ
  8. ประเมินผลโครงการ
stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ
  1. หน่วยบริการ หน่วยงานด้านสาธารณสุข หน่วยงานอื่น และองค์กรประชาชนมีประสบการณ์ ในการวางแผนด้านสุขภาพของประชาชนในพื้นที่
  2. หน่วยบริการ หน่วยงานด้านสาธารณสุข หน่วยงานอื่น และองค์กรประชาชน มีส่วนร่วมในการดำเนินกิจกรรมด้านสุขภาพของประชาชนครบทุกองค์รวม
  3. ศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก หรือศูนย์พัฒนาและฟื้นฟูคุณภาพชีวิตผู้สูงอายุ หรือคนพิการในชุมชน หรือศูนย์ชื่ออื่น มีส่วนร่วมในการดำเนินกิจกรรมด้านสุขภาพ
stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 29 ก.ค. 2560 23:08 น.