กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการป้องกันโรคไข้เลือดออก
รหัสโครงการ 60-L5201-01-04
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 1 สนับสนุนการจัดบริการสาธารณสุขของ หน่วยบริการ/สถานบริการ/หน่วยงานสาธารณสุข
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ หน่วยบริการหรือสถานบริการสาธารณสุข เช่น รพ.สต.
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ่อดาน
วันที่อนุมัติ 22 มิถุนายน 2560
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 1 มิถุนายน 2560 - 30 กันยายน 2560
กำหนดวันส่งรายงาน
งบประมาณ 63,980.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ่อดาน
พี่เลี้ยงโครงการ
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลบ่อดาน อำเภอสทิงพระ จังหวัดสงขลา
ละติจูด-ลองจิจูด 7.435,100.447place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
งวดวันที่งวดโครงการวันที่งวดรายงานงบประมาณ
(บาท)
จากวันที่ถึงวันที่จากวันที่ถึงวันที่
1 1 มิ.ย. 2560 30 ก.ย. 2560 63,980.00
รวมงบประมาณ 63,980.00
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

โรคไข้เลือดออกนับเป็นปัญหาสาธารณสุขไทยตลอดมา เพราะไข้เลือดออกเป็นโรคติดต่อที่สร้างความสูญเสียชีวิตและค่าใช้จ่ายในการรักษาพยาบาลและความสูญเสียทางด้านเศรษฐกิจของประเทศ ทั้งที่ทุกฝ่ายได้ช่วยกันรณรงค์ป้องกันและควบคุมมาโดยตลอด และได้รับความร่วมมือจากหน่วยงานต่างๆ ทั้งภาครัฐและเอกชน พบว่าปัญหาโรคไข้เลือดออกไม่ได้ลดลงมากนัก ยังคงเป็นปัญหาสำคัญในระดับประเทศเรื่อยมา จังหวัดสงขลา เป็นอีกพื้นที่หนึ่งที่มีปัญหาการระบาดของโรคไข้เลือดออกมาอย่างต่อเนื่อง จากข้อมูลรายงานการเฝ้าระวังทางระบาดวิทยา สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดสงขลา ตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม - 31 ธันวาคม 2559 มีผู้ป่วยไข้เลือดออก 3550 คน คิดเป็นอัตราป่วย 252.50 ต่อประชากรแสนคน มีผู้เสียชีวิต 8 คน กลุ่มอายุที่พบสูงสุดคือ กลุ่มอายุ 10-14 ปี รองลงมาคือ 5 - 9 ปี และพบมากในกลุ่มนักเรียน อำเภอสทิงพระเป็นอำเภอหนึ่งที่มีการระบาดอย่างต่อเนื่อง จากข้อมูลรายงานการเฝ้าระวังทางระบาดวิทยาตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม - 31 ธันวาคม 2559 มีผู้ป่วยไข้เลือดออก 20 ราย คิดเป็นอัตราการป่วย 40.95 ต่อประชากรแสนคน ไม่มีผู้เสียชีวิต กลุ่มอายุที่พบสูงสุดคือ กลุ่มอายุ 10-14 ปี รองลงมา คือ 5-9 ปี และพบมากในกลุ่มนักเรียน สำหรับตำบลบ่อดาน ก็เป็นอีกตำบลหนึ่งที่มีผู้ป่วยไข้เลือดออกอย่างต่อเนื่องทุกปี จากข้อมูลรายงานการเฝ้าระวังทางระบาด ตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม - 31 ธันวาคม 2559 มีผู้ป่วยไข้เลือดออก 3 คน คิดเป็นอัตราป่วย 57.95 ต่อแสนประชากร และจากการสำรวจลูกน้ำยุงลายเดือน ยังพบลูกน้ำยุงลายทุกหมู่บ้าน ซึ่งมีค่าดัชนีลูกน้ำคิดเป็นร้อยละ 11.5 ซึ่งเกินค่ามาตรฐานไม่เกินร้อยละ 10 จากค่าดัชนีลูกน้ำ จัดเป็นสาเหตุหนึ่งของการเกิดไข้เลือดออกในพื้นที่ตำบลบ่อดาน หากไม่มีการควบคุม ป้องกันหรือทำลายแหล่งเพาะพันธุ์ยุงลาย ก็จะทำให้การเกิดโรคไข้เลือดออกเพิ่มขึ้น ในการป้องกันควบคุมโรคไข้เลือดออกให้ได้ผลสำเร็จ ต้องอาศัยความร่วมมือจากทุกๆฝ่าย

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 ลดอัตรป่วยด้วยโรคไข้เลือดออก ไม่น้อยกว่าร้อยละ 20 ของค่ามัธยฐาน 5 ปี ย้อนหลัง

ผู้ป่วยลดลงหรือไม่พบผู้ป่วยโรคไข้เลือดออกในตำบลบ่อดาน

2 เพิ่มความครอบคลุมของการรณรงค์กำจัดลูกน้ำยุงลายในโรงเรียนและชุมชน และลดความชุกชุมของลูกน้ำยุงลาย

1.ไม่พบลูกน้ำยุงลายในภาชนะที่มีน้ำขัง 2.ประชาชนให้ความสำคัญในการกำจัดลูกน้ำยุงลาย

stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม

1.ประชุมเจ้าหน้าที่และ อสม.ในการจัดทำโครงการเพื่อขออนุมัติ 2.จัดซื้อวัสดุอุปกรณ์เพื่อใช้ในการป้องกัน รณรงค์ และควบคุมโรคไข้เลือดออก 3.เจ้าหน้าที่ อสม.และเจ้าของบ้าน ร่วมกันรณรงค์ทำลายแหล่งเพาะพันธ์ลูกน้ำยุงลาย และใส่ทรายอะเบทในภาชนะที่ไม่มีฝาปิด 4.ให้ความรู้กับชาวบ้านโดยการแจกแผ่นพับ และทางหอกระจายข่าว 5.สุ่มตรวจลูกน้ำยุงลาย ในชุมชน 6.เฝ้าระวังการเกิดโรคในพื้นที่ โดยคณะทำงานการควบคุมโรคระดับตำบล และภาคีเครือข่าย พร้อมวิเคราะห์สถานการณ์โรค และแจ้งในหน่วยงานที่เกี่ยวข้องทราบ สรุปผลการดำเนินโครงการ และประเมินผลโครงการ

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ

1.ครัวเรือนในเขตพื้นที่ตำบลบ่อดาน ปลอดลูกน้ำยุงลาย และได้รับการสนับสนุนจากทุกภาคส่วน โดยชุมชนมีส่วนร่วมคิด ร่วมทำ ร่วมแก้ไขเลือดออกลดลง 2.พื้นที่ตำบลบ่อดานมีอัตราป่วยด้วยโรคไข้เลือดออกลดลง

stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 31 ก.ค. 2560 10:30 น.