กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการป้องกันภาวะซีดในหญิงตั้งครรภ์ ลูกเกิดรอด แม่ปลอดภัย ประจำปี 2564
รหัสโครงการ 64-L3011-1-05
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 1 สนับสนุนการจัดบริการสาธารณสุขของ หน่วยบริการ/สถานบริการ/หน่วยงานสาธารณสุข
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ หน่วยบริการหรือสถานบริการสาธารณสุข เช่น รพ.สต.
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลตะลุโบะ
วันที่อนุมัติ 3 มีนาคม 2564
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 1 มกราคม 2564 - 30 กันยายน 2564
กำหนดวันส่งรายงาน
งบประมาณ 24,300.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นายหวันมูฮำมัดรุสดี เจะอาแว
พี่เลี้ยงโครงการ
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลตะลุโบะ อำเภอเมืองปัตตานี จังหวัดปัตตานี
ละติจูด-ลองจิจูด 6.853,101.267place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานอนามัยแม่และเด็ก
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด 100 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด :

stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

ภาวะโลหิตจางเป็นความผิดปกติทางระบบเลือดที่ส่งผลให้การสร้างเม็ดเลือดแดงน้อยลง เกิดจากหลายสาเหตุทั้งความผิดปกติทางกรรมพันธุ์ ภาวะขาดสารอาหารและโรคติดเชื้อ โดยพบบ่อยที่สุดในหญิงตั้งครรภ์ สาเหตุสำคัญของภาวะโลหิตจางในหญิงตั้งครรภ์ คือ การขาดสารอาหารจากธาตุเหล็กและกรดโฟลิก (ชลธิชา ดานา, 2560) ภาวะโลหิตจางในหญิงตั้งครรภ์ส่งผลให้เกิดภาวะแทรกซ้อนของมารดาและทารก เช่น มารดาเสี่ยงต่อการตกเลือดหลังคลอด ทารกเสี่ยงต่อคลอดก่อนกำหนด ทารกแรกคลอดมีน้ำหนักต่ำกว่า 2,500 กรัม หญิงตั้งครรภ์ที่่มีภาวะโลหิตจางอย่างรุนแรงจะมีโอกาสเสี่ยงต่อการตกเลือดในระหว่างคลอด และมีโอกาสติดเชื้อในระยะหลังคลอดสูง พัฒนาการไม่สมบูรณ์ และภาวะตายในครรภ์ ฯลฯ จากรายงานของงานอนามัยแม่และเด็ก พบว่าสาเหตุการตายของมารดา อันดับหนึ่ง คือ ภาวะตกเลือดหลังคลอด ซึ่งปัญหาดังกล่าว เป็นปัญหาทางสาธารณสุขของประเทศที่กำลังพัฒนา โดยเฉพาะอย่างยิ่งในประเทศแถบเอเชียใต้ พบได้มากสุดถึงร้อยละ 65 (WHO, 2019: Online) ในประเทศไทย ผลสำรวจภาวะโลหิตจางในกลุ่มหญิงตั้งครรภ์ พ.ศ.2561 – 2563 พบว่ามีแนวโน้มสูงขึ้น ในปี พ.ศ. 2561-2562 หญิงตั้งครรภ์มีภาวะโลหิตจาง ร้อยละ 16.06 และ 16.43 ตามลำดับ (HDC,2563) กระทรวงสาธารณสุขจึงได้กำหนดให้มีการตรวจคัดกรองภาวะโลหิตจางในหญิงตั้งครรภ์ทุกราย ให้ยาบำรุงเสริมธาตุเหล็กและให้ความรู้เรื่องการบริโภคอาหาร การดูแลและการส่งเสริมสุขภาพในหญิงตั้งครรภ์ ทำให้ผลสำรวจภาวะโลหิตจางในกลุ่มหญิงตั้งครรภ์ พ.ศ.2563 ลดลง เป็นร้อยละ 15.15 อย่างไรก็ตาม แผนพัฒนาการสาธารณสุข ฉบับที่ 12 พ.ศ. 2560-2564 กำหนดเป้าหมายให้หญิงตั้งครรภ์ที่มีภาวะโลหิตจางจากการขาดธาตุเหล็กไม่เกินร้อยละ 10 ทั้งนี้จากผลการดำเนินงานแม่และเด็กปี 2563 ของ รพ.สต.ตะลุโบะ อัตราหญิงตั้งครรภ์มีภาวะโลหิตจางในระยะใกล้คลอดเท่ากับร้อยละ 18.09 ซึ่งมีค่าสูงกว่าเป้าหมายที่กำหนดแต่เนื่องจากภาวะโลหิตจางในหญิงตั้งครรภ์เป็นปัญหาสำคัญที่ส่งผลกระทบต่อสุขภาพของมารดาและทารก การตกเลือดหลังคลอดและภาวะแทรกซ้อนที่เกิดจากภาวะเสี่ยงของการตั้งครรภ์ สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดปัตตานีได้มีนโยบาย ลดแม่ตายโดยเน้นระยะตั้งครรภ์ ระยะคลอดและหลังคลอดทางดังนั้น โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลตะลุโบะ ได้ตระหนักถึงความสำคัญและความจำเป็นในการแก้ไขปัญหาดังกล่าวบรรลุตามเป้าหมายที่กำหนดจึงได้จัดทำโครงการ “ป้องกันภาวะซีดในหญิงตั้งครรภ์ ลูกเกิดรอด แม่ปลอดภัย” ขึ้น เพื่อให้ลูกเกิดรอดแม่ปลอดภัยเด็กสุขภาพดีและมีพัฒนาการสมวัยโดยดึงพลังแกนนำของประชาชนโดย แกนนำสุขภาพบุคคลใกล้ชิด ให้มีส่วนร่วมในการดูแลหญิงตั้งครรภ์

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อให้ลูกเกิดรอด แม่ปลอดภัย ลูกมีภาวะสมบูรณ์ แข็งแรง และมีพัฒนาการสมวัย

1.อัตราเด็กเกิดไร้ชีพเป็น 0
2.น้ำหนักแรกคลอดไม่ต่ำกว่า  2,500 กรัม

0.00
2 เพื่อให้หญิงตั้งครรภ์ได้รับการเฝ้าระวังเมื่อมีภาวะเสี่ยงและได้รับการแก้ไขปัญหาอย่างทันท่วงที
  1. หญิงตั้งครรภ์มีภาวะโลหิตจางน้อยกว่า  ร้อยละ 10
  2. หญิงตั้งครรภ์ฝากครรภ์ครบ 5 ครั้ง ตามเกณฑ์มากกว่า    ร้อยละ 90
  3. หญิงตั้งครรภ์ที่มีภาวะเสี่ยงได้รับการส่งต่อพบสูติแพทย์  ร้อยละ 100
0.00
3 เพื่อให้หญิงตั้งครรภ์ สามีและ ญาติ มีความรู้ ความเข้าใจ ในการดูแลสุขภาพในระยะตั้งครรภ์ ระยะก่อนคลอด และระยะหลังคลอด

หญิงตั้งครรภ์ สามี และญาติ มีความรู้ ความเข้าใจ ในการดูแลสุขภาพในระยะตั้งครรภ์ ระยะก่อนคลอด และระยะหลังคลอดร้อยละ 90

0.00
4 เพื่อส่งเสริมให้หญิงตั้งครรภ์และมารดาหลังคลอดเลี้ยงลูกด้วยนมอย่างน้อย 6 เดือน

มารดาหลังคลอดเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ไม่ต่ำกว่า ร้อยละ 60

0.00
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
hourglass_emptyไม่มีกลุ่มกิจกรรม กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรม 100 24,300.00 1 24,300.00
26 เม.ย. 64 กิจกรรมอบรมให้ความรู้ 100 24,300.00 24,300.00
  1. ขั้นเตรียมการ
          ๑.๑ จัดทําโครงการเพื่อขอนุมัติต่อคณะกรรมการบริหารกองทุนหลักประกันสุขภาพองค์การบริหารส่วนตําบลตะลุโบะ
        ๑.๒ ประชุมชี้แจง รายละเอียดโครงการ แก่เจ้าหน้าที่สาธารณสุข ผู้นำท้องถิ่น และแกนนำสุขภาพร่วมถึงผู้มี ส่วนเกี่ยวข้องในเรื่ององค์ความรู้ วัตถุประสงค์และหารือแนวทางการดำเนินงาน
          1.3 ร่วมกันประชุมวางแผน กําหนดเป้าหมายจํานวนกลุ่มเป้าหมาย เนื้อหาและรูปแบบวิธีการดําเนินงานโครงการ     - สำรวจและจัดทำฐานข้อมูลหญิงตั้งครรภ์
        - กําหนดแนวทางการดําเนินงานแต่ละกิจกรรม     - แบ่งบทบาทและหน้าที่รับผิดชอบ
        - จัดทำสื่อต่างๆ และเตรียมอุปกรณ์
  2. ขั้นตอนการดําเนินงาน
    กิจกรรมที่ 1 จัดอบรมให้ความรู้ตามหลักสูตรโรงเรียนพ่อ-แม่ เฝ้าระวังภาวะเสี่ยงในหญิงตั้งครรภ์ การรับประทานยาบำรุงการปฏิบัติตัวขณะตั้งครรภ์แก่หญิงตั้งครรภ์และสามี และแกนนำสุขภาพ
        กิจกรรมที่ 2 จัดเวทีแลกเปลี่ยนเรียนรู้ “รักนี้ ไม่มีวันจาง”ในกลุ่มหญิงตั้งครรภ์ที่ซีด (ความเข้มข้นของเลือด น้อยกว่า 33% และเสี่ยงซีด (ความเข้มข้นของเลือด 33 – 35.9 % ) โดยเชิญหญิงตั้งครรภ์และครอบครัวที่สามารถแก้ไขภาวะโลหิตจางได้สำเร็จ มาเล่าเคล็ดลับดีๆในการดูแลตนเองให้พ้นจากภาวะเลือดจางและสรุปบทเรียนที่ได้มาเป็นแนวทางปฏิบัติในการดูแลหญิงตั้งครรภ์และแสดงความยินดีกับหญิงตั้งครรภ์         กิจกรรมที่ 3 สาธิตเมนูอาหารเสริมธาตุเหล็ก ยำผักกูด ของหวาน ถั่วแดง               กิจกรรมที่ 4 แข็งขันปั้มนมในมารดาหลังคลอดที่เลี้ยงลูกด้วยนมแม่
                  กิจกรรมที่ 5 ติดตามเยี่ยมมารดาหลังคลอด     3. ประเมินผลการดําเนินงาน             - สรุปผลสุขภาวะของหญิงตั้งครรภ์และรวบรวมข้อมูลหลังเสร็จสิ้นกิจกรรมในแต่ละครั้ง
                      - ประเมินผลความพึงพอใจของผู้เข้าร่วมกิจกรรม หลังสิ้นสุดโครงการ โดยใช้แบบสอบถาม
    • ประเมินผลตามตัวชี้วัดของงานอนามัยแม่และเด็ก   4. สรุปผลการดําเนินงาน สรุปตามแผนงานโครงการส่งให้กองทุนหลักประกันสุขภาพองค์การบริหารส่วนตําบลตะลุโบะ
stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ
  1. หญิงตั้งครรภ์ได้รับการดูแลในระยะตั้งครรภ์ได้อย่างมีคุณภาพ ได้แก่ ฝากครรภ์ครบ 5 ครั้งตามเกณฑ์ ฝากครรภ์ก่อนอายุครรภ์ 12 สัปดาห์ และได้คลอดในโรงพยาบาล
  2. หญิงตั้งครรภ์ที่มีภาวะเสี่ยงได้รับการดูแลตลอดระยะของการตั้งครรภ์อย่างมีคุณภาพ
  3. หญิงตั้งครรภ์ที่มีภาวะโลหิตจางจากการขาดธาตุเหล็ก ได้รับการควบคุมและป้องกันแก้ไข ไมให้เกิดภาวะ   ตกเลือดหลังคลอด และภาวะคลอดก่อนกําหนด
  4. หญิงตั้งครรภ์มีความรูและตระหนักความสำคัญของการฝากครรภ์และสามารถดูแลตนเองในระยะตั้งครรภ์ได้
  5. เพื่อให้ชุมชนและทุกคนในครอบครัวมีความรู้ความเข้าใจในการดูแลหญิงตั้งครรภ์เสริมสร้างสัมพันธภาพที่ดีเกิดสายใยรักครอบครัว
stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 26 มี.ค. 2564 10:10 น.