กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการฟื้นฟูผู้ป่วยโรคข้อเข่าเสื่อมในผู้สูงอายุ ด้วยศาสตร์การแพทย์แผนไทย ประจำปี 2564
รหัสโครงการ 64-L3011-1-03
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 1 สนับสนุนการจัดบริการสาธารณสุขของ หน่วยบริการ/สถานบริการ/หน่วยงานสาธารณสุข
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ หน่วยบริการหรือสถานบริการสาธารณสุข เช่น รพ.สต.
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลตะลุโบะ
วันที่อนุมัติ 3 มีนาคม 2564
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 1 มกราคม 2564 - 30 กันยายน 2564
กำหนดวันส่งรายงาน
งบประมาณ 13,600.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นายหวันมูฮำหมัดรุสดี เจะอาแว
พี่เลี้ยงโครงการ
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลตะลุโบะ อำเภอเมืองปัตตานี จังหวัดปัตตานี
ละติจูด-ลองจิจูด 6.853,101.267place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานผู้สูงอายุ , แผนงานกลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีความเสี่ยง
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มผู้สูงอายุ 30 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มผู้สูงอายุ :

กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

ภาวะข้อเข่าเสื่อมเป็นภาวะที่พบได้บ่อยในผู้สูงอายุ และมีแนวโน้มจะสูงขึ้นเรื่อยๆ จากสถิติผู้ป่วย โรคข้อเข่าเสื่อมในประเทศไทย พบว่ามีจำนวนผู้ป่วยโรคข้อเข่าเสื่อม ทั้งประเทศและคิดเป็นอัตราส่วนต่อ แสนประชากรได้ เท่ากับ 21,315 (33.87%) 24,589 (38.90%) และ 25,723 (40.54%) ตามลำดับ หากจำแนกตามแต่ละภูมิภาคจะพบว่า ภาคกลางมีจำนวนผู้ป่วยโรคข้อเข่า เสื่อมมากที่สุด รองลงมา คือ ภาคเหนือ ภาคตะวันออก เฉียงเหนือ และภาคใต้ ตามลำดับ (ข้อมูลจากกระทรวงสาธารณสุขย้อนหลัง 3 ปี พ.ศ. 2550 – 2552) สาเหตุส่วนใหญ่เกิดจากน้ำหนักตัวที่มากใช้เข่ามาก ใช้นานกว่าปกติ หรือผิดท่ารวมถึงพฤติกรรมการใช้เข่าที่ผิด เช่น นั่งคุกเข่าพับเพียบ ขัดสมาธิ ซึ่งเป็นท่าที่ทำให้ข้อเข่าถูกกดพับและเอ็นกล้ามเนื้อถูกยืดมาก การนั่งเช่นนั้นนานๆ ทำให้การหมุนเวียนของเลือดไปเลี้ยงเข่าไม่ได้ดี และเมื่อเข้าสู่วัยสูงอายุไม่ค่อยชอบออกกำลังกาย ทำให้เข่าต้องแบกน้ำหนักส่วนเกินนั้น กล้ามเนื้อจึงหย่อนสมรรถภาพลงจึงทำให้เป็นโรคเข่าเสื่อมได้ง่ายผู้ที่มีภาวะข้อเข่าเสื่อมมากๆ จะมีอาการเจ็บหรือปวด ข้อเข่าผิดรูป ข้อฝืด หรือข้อติด เดินได้ไม่ปกติ การปฏิบัติภารกิจประจำวันต่างๆทำได้ไม่สะดวกส่งผลให้เกิดความทุกข์ทรมาน ทั้งด้านร่างกายและจิตใจ และจากการคัดกรองโรคข้อเข่าเสื่อมในผู้สูงอายุ ปี 2564 ของโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลตะลุโบะ พบว่ามีผู้สูงอายุ เป็นโรคข้อเข่าเสื่อม จำนวน 60 คน คิดเป็นร้อยละ 18.75 (จากฐานข้อมูล HDC ข้อมูล ณ วันที่ 12 มีนาคม 2562) การส่งเสริมสนับสนุนให้ผู้สูงอายุได้มีความรู้ในการดูแลสุขภาพที่สอดคล้องกับวิถีชีวิตไทย โดยใช้การแพทย์แผนไทยหรือใช้ภูมิปัญญาท้องถิ่น เช่น การใช้สมุนไพรในท้องถิ่นเพื่อลดอาการปวดเข่า การบริหาร ด้วยท่าฤๅษีดัดตน การบริหารกล้ามเนื้อข้อเข่าเพื่อลดอาการข้อเข่าเสื่อม มาปฏิบัติดูแลสุขภาพของผู้สูงอายุ เพื่อส่งเสริมให้ผู้สูงอายุมีสุขภาพที่ดียิ่งขึ้น ช่วยลดปัญหาผลข้างเคียงจากการใช้ยาแผนปัจจุบัน เพื่อลดอาการปวดเข่าโดยหันมาใช้สมุนไพรที่มีอยู่ในท้องถิ่นแทน
ดังนั้นงานแพทย์แผนไทย โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลตะลุโบะจึงได้จัดทำโครงการฟื้นฟูโรคข้อเข่าเสื่อมในผู้สูงอายุด้วยศาสตร์การแพทย์แผนไทย เพื่อให้ความรู้เกี่ยวกับสาเหตุและอาการของโรคข้อเข่าเสื่อม การส่งเสริมการใช้สมุนไพรในท้องถิ่นเพื่อลดอาการปวดเข่าโดยการสาธิตการทำยาพอกเข่าสมุนไพร เพื่อให้ผู้สูงอายุสามารถนำความรู้ที่ได้ไปปรับใช้ในการดูแลสุขภาพของตนเองได้อย่างเหมาะสม

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อให้ผู้สูงอายุมีความรู้เกี่ยวกับการดูแลโรคข้อเข่าเสื่อมด้วยศาสตร์การแพทย์แผนไทย

๑.ร้อยละ 100 ของผู้สูงอายุมีความรู้เกี่ยวกับการดูแลโรคข้อเข่าเสื่อมด้วยศาสตร์การแพทย์แผนไทย ๒.ร้อยละ 80 ของผู้เข้ารับการอบรม มีคะแนนแบบทดสอบความรู้เรื่องการดูแลโรคข้อเข่าเสื่อมด้วยศาสตร์การแพทย์แผนไทย

0.00
2 ส่งเสริมให้ผู้สูงอายุที่มีภาวะโรคข้อเข่าเสื่อม ใช้การรักษาด้วยศาสตร์การแพทย์แผนไทย

๑.ร้อยละ 100 ของผู้เข้ารับการอบรมได้เข้าร่วมกิจกรรมกลุ่มโดยการพอกยาสมุนไพรที่หัวเข่า และลงบันทึกตามแบบบันทึก ๒.ร้อยละ 80 ของผู้เข้ารับการอบรม ผ่านเกณฑ์การประเมินอาการและตรวจอาการปวดก่อนทำการรักษาและหลังการรักษา

0.00
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
hourglass_emptyไม่มีกลุ่มกิจกรรม กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรม 90 13,600.00 3 12,780.00
26 เม.ย. 64 กิจกรรมประเมินความรู้ 30 990.00 990.00
26 เม.ย. 64 .กิจกรรมอบรมให้ความรู้ 30 5,940.00 5,120.00
27 เม.ย. 64 3. กิจกรรมอื่นๆ 30 6,670.00 6,670.00
  • เสนอโครงการเพื่อขออนุมัติ
  • แต่งตั้งคณะทำงาน
  • จัดเตรียมอุปกรณ์ แผ่นพับความรู้เกี่ยวกับโรคข้อเข่าเสื่อม แบบฟอร์ม (Oxford Knee Score) เพื่อใช้ในกิจกรรม
  • ประชาสัมพันธ์โดยแกนนำอาสาสมัครสาธารณสุข ให้ประชากรกลุ่มเป้าหมายในพื้นที่เข้าไปรับการอบรม
  • ประเมินและตรวจคัดกรองผู้สูงอายุที่มีอาการของโรคข้อเข่าเสื่อม โดยการคัดกรองด้วยแบบฟอร์ม (Oxford Knee Score) ก่อนเข้าร่วมโครงการ
    -จัดอบรมให้ความรู้เกี่ยวกับการดูแลผู้สูงอายุที่เป็นโรคข้อเข่าเสื่อมด้วยศาสตร์การแพทย์แผนไทย
    -ผลิตยาพอกสมุนไพรและให้ความรู้เกี่ยวกับสมุนไพรแต่ละตัว เพื่อใช้ในการดูแลผู้ที่มีอาการ ของโรคเข่าเสื่อม
    -ประเมินอาการและตรวจอาการปวดก่อนทำการรักษาด้วยการประเมินจากระดับ (Pain Score)
    -ดำเนินการรักษาโดยการพอกยาสมุนไพร
  • ประเมินอาการหลังทำการรักษาด้วยการประเมินจากระดับ (Pain Score) -ติดตามอาการและตรวจอาการปวดด้วยการประเมินจากระดับ Pain score ของผู้ที่มีอาหารโรคข้อเข่าเสื่อม
  • สรุปกิจกรรมปัญหา อุปสรรค/ นำเสนอแนวทางการปฏิบัติที่ได้ผลต่อไป
stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ
  1. ผู้เข้ารับการอบรมมีความรู้ความเข้าใจเกิดความตระหนักในการดูแลสุขภาพตนเองอย่างเหมาะสม
  2. ภายหลังจากการเข้าร่วมการอบรมกลุ่มเป้าหมายได้รับความรู้ ในการดูโรคข้อเข่าเสื่อม ร้อยละ ๘0
  3. ภายหลังเข้าร่วมโครงการกลุ่มเป้าหมายสามารถรักษาโดยใช้การรักษาด้วยแพทย์แผนไทยที่ถูกต้อง
    ร้อยละ ๑00
stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 26 มี.ค. 2564 10:14 น.