กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการป้องกันและควบคุมโรคไข้เลือดออก ปี 2564
รหัสโครงการ l2498-64-02-02
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 2 สนับสนุนกิจกรรมสร้างเสริมสุขภาพ การป้องกันโรคของกลุ่มหรือองค์กรประชาชน/หน่วยงานอื่น
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ กลุ่มหรือองค์กรประชาชน
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ ชมรมอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน ตำบลยี่งอ
วันที่อนุมัติ 28 มกราคม 2564
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 1 กุมภาพันธ์ 2564 - 1 กันยายน 2564
กำหนดวันส่งรายงาน
งบประมาณ 58,473.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นางฮายานิ่ง เปาะแต
พี่เลี้ยงโครงการ
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลยี่งอ อำเภอยี่งอ จังหวัดนราธิวาส
ละติจูด-ลองจิจูด 6.382,101.703place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานกลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีความเสี่ยง
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

โรคไข้เลือดออกนับเป็นปัญหาสาธารณสุขไทยตลอดมา เพราะไข้เลือดออกเป็นโรคติดต่อที่สร้าง ความสูญเสียชีวิตและค่าใช้จ่ายในการรักษาพยาบาลและความสูญเสียทางด้านเศรษฐกิจของประเทศ ทั้งที่ทุกฝ่ายได้ ช่วยกันรณรงค์ป้องกันและควบคุมมาโดยตลอด และได้รับความร่วมมือจากหน่วยงานต่างๆ ทั้งภาครัฐและเอกชน พบว่าปัญหาโรคไข้เลือดออกไม่ได้ลดลงมากนัก และยังคงเป็นปัญหาสําคัญในระดับประเทศเรื่อยมาตําบลยี่งอ พบ ผู้ป่วยไข้เลือดออก จํานวน 25 ราย คิดเป็นร้อยละ 261.56 ซึ่งอัตราป่วยเกินกว่าที่กําหนด โรคไข้เลือดออก ส่วนมากจะพบผู้ป่วยในช่วงเดือน มีนาคม - กันยายน ของทุกปีซึ่งเป็นช่วงระหว่างปิดภาคเรียนพอดี และนิสัยของยุง ชอบออกหากินเวลากลางวันจึงสันนิษฐานได้ว่าการแพร่เชื้อและการกระจายโรค จะเกิดขึ้นได้ทั้งชุนชน ศูนย์พัฒนา เด็กเล็กและโรงเรียน การควบคุมโรคจะต้องอาศัยความร่วมมือทั้งจาก ชุมชน โรงเรียนเทศบาล โรงพยาบาลและ หน่วยงานอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง ถือเป็นภารกิจที่ต้องช่วยกัน กระตุ้นและชักนําให้ประชาชน องค์กรชุมชน ตลอดจน เครือข่ายสุขภาพให้มีส่วนร่วมอย่างจริงจังและต่อเนื่องโรคไข้เลือดออกสามารถป้องกันได้โดยการให้ประชาชนร่วมมือ กันทําความสะอาด ปรับปรุงสภาพแวดล้อมของบ้านและชุมชน โดยนํามาตรการป้องกันโรคไข้เลือดออก 5 ป 1 ข มาใช้ ได้แก่ 1. ปิด ปิดภาชนะกักเก็บน้ํา 2. เปลี่ยนเปลี่ยนถ่ายน้ํา ทุก 7 วัน เช่น แจกันดอกไม้ ถังเก็บน้ําสําหรับอาบ 3. ปล่อยปลาหางนกยูง หรือปลากินลูกน้ําในอ่างบัว หรือที่กักเก็บน้ําที่ไม่มีฝาปิด 4. ปรับปรุง สิ่งแวดล้อมไม่ให้มีน้ํา ขังในที่ต่างๆ 5. ปฏิบัติการดังกล่าวข้างต้นเป็นประจําทุกสัปดาห์ และในช่วงฤดูร้อนต่อช่วงฤดูฝนต้องเพิ่ม 1 ข คือ ขัดภาชนะที่เคยใช้กักเก็บน้ําก่อนมารองรับน้ําครั้งใหม่ ดังนั้น อสม.ตําบลยี่งอ จึงได้จัดทํากิจกรรมโครงการป้องกันและควบคุมโรคไข้เลือดออก ปี 2654 เพื่อควบคุมและ ป้องกันการแพร่ระบาดของโรคในชุมชนมิให้มีการแพร่ระบาดของโรคไข้เลือดออกไปในวงกว้าง ป้องกันโรค ไข้เลือดออกล่วงหน้าให้ทันต่อสถานการณ์ที่เกิดโรคและดําเนินการอย่างต่อเนื่องเกิดประสิทธิภาพและประสิทธิผล เป็นการกระตุ้นให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องทั้งภาครัฐ เอกชนสถาบัน ต่างๆ โรงเรียน รวมทั้งประชาชนโดยทั่วไปได้ทราบ และเล็งเห็นความสําคัญของการป้องกันและควบคุมโรคไข้เลือดออก โดยการทําลายแหล่งเพาะพันธุ์ลูกน้ํายุงลาย ซึ่ง เป็นพาหะนําโรคและร่วมกับชุมชน บริหารจัดการสิ่งแวดล้อม เพื่อไม่ให้เป็นแหล่งเพาะพันธุ์ลูกน้ํายุงลาย เพื่อไม่ให้ เป็นแหล่งเพาะพันธุ์ลูกน้ํายุงลาย เช่น จัดกิจกรรม Big Cleaning Day ทําลายแหล่งเพาะพันธ์ แจกทรายอะเบท ส่งผลให้ประชาชนมีชีวิตความเป็นอยู่ที่ปลอดภัยจากโรคไข้เลือดออกดีขึ้น เป้าหมายเด็กวัยเรียน,เยาวชน, และ ประชาชนทั่วไป จํานวน 391 คน พื้นที่ดําเนินการพื้นที่ตําบลยิ่งอ

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 1. เพื่อให้ประชาชนมีความรู้ในการป้องกันและกำจัดลูกน้ำยุงลาย

 

0.00
2 2. เพื่อสร้างความตระหนักและความร่วมมือของชุมชนในการป้องกันและแก้ไขปัญหาโรคไข้เลือดออก

 

0.00
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
hourglass_emptyไม่มีกลุ่มกิจกรรม กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรม 391 58,473.00 0 0.00
1 มี.ค. 64 - 1 ก.ย. 64 ให้ความรู้การป้องกันและควบคุม ทำลายแหล่งเพาะพันธ์ที่ทำให้เกิดโรคไข้เลือดออก 391 47,473.00 -
1 เม.ย. 64 - 1 ก.ย. 64 เดินรณรงค์ แจกทราบอะเบท ยาทากันยุง พร้อมแผ่นพับ 0 11,000.00 -

 

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ
  1. ประชาชนทุกครัวเรือนมีความรู้ ทัศนคติและพฤติกรรมที่ดีในการป้องกันควบคุมและเฝ้าระวังโรคไข้เลือดออกอย่างเข้มแข็งและต่อเนื่อง 2. อัตราป่วยโรคไข้เลือดออกไม่เกิน 50 ต่อแสนประชากร 3. ไม่มีผู้ป่วยรายใหม่ติดต่อรายแรกภายใน 28 วัน 4. ไม่มีผู้ป่วยตายโรคไข้เลือดออก
stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 26 มี.ค. 2564 11:20 น.