กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการลด ละ เลิกบุหรี่ในชุมชนลุโบะสาวอ ปี 2564
รหัสโครงการ L695925641005
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 1 สนับสนุนการจัดบริการสาธารณสุขของ หน่วยบริการ/สถานบริการ/หน่วยงานสาธารณสุข
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ หน่วยบริการหรือสถานบริการสาธารณสุข เช่น รพ.สต.
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลลุโบะสาวอ
วันที่อนุมัติ 22 มีนาคม 2564
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 1 เมษายน 2564 - 30 กันยายน 2564
กำหนดวันส่งรายงาน 29 ตุลาคม 2564
งบประมาณ 26,500.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นางฟารีดะห์ ฮาแวมาเนาะ
พี่เลี้ยงโครงการ
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลลุโบะสาวอ อำเภอบาเจาะ จังหวัดนราธิวาส
ละติจูด-ลองจิจูด place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานยาสูบ
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง 35 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง :

stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด
1 ประชากรอายุ 15 ปีขึ้นไปที่มีการสูบบหรี่ 1,153 คนเป็นเวลานานกว่า 20 ปีคิดเป็นร้อยละ 43.42
43.42
2 การสูบบุหรี่ในเพศชายจำนวน 1142 คน คิดเป็นร้อยละ ร้อยละ 99.04
99.04
3 การสูบบุหรี่ในเพศหญิงสูบ จำนวน 11 คน คิดเป็นร้อยละ 0.96
0.96

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

จากการสำรวจการบริโภคยาสูบตำบลลุโบะสาวอ อำเภอบาเจาะ จังหวัดนราธิวาส ในช่วงเดือน ตุลาคม ถึงธันวาคม ปี พ.ศ. 2563ซึ่งมีจำนวนครัวเรือนทั้งสิ้น 1,234 ครัวเรือนมีประชากรที่ทำการสำรวจ 6,134 คน พบว่า ประชากรอายุ 15 ปีขึ้นไปที่มีการสูบบหรี่ 1,153 คนคิดเป็นร้อยละ 18.79 ของประชากรที่สำรวจ โดยมีระยะเวลาการสูบมากกว่า 20 ปี คิดเป็นร้อยละ 43.42 ผู้สูบบุหรี่ส่วนใหญ่เป็นผู้สูบเป็นประจำทุกวัน ร้อยละ 93.37 และพบว่าปริมาณที่สูบต่อวัน 6-10 มวนต่อวัน มากที่สุด คิดเป็นร้อยละ 62.65 เมื่อพิจารณาข้อมูลการสูบบุหรี่ของประชาชนในพื้นที่แล้วพบว่า มีการสูบบุหรี่มวนเองสูงกว่าบุหรี่โรงงาน ทั้งในด้านอัตราและจำนวนผู้สูบบุหรี่ และมีการสูบบุหรี่สูงในเพศชาย ร้อยละ 99.04 (1,142 คน) ขณะที่เพศหญิงสูบ ร้อยละ 0.96 (จำนวน 11 คน) อายุอยู่ในวัยแรงงานและสูงอายุ และที่มากกว่านั้นก็คือการได้รับควันบุหรี่มือสองในเด็กต่ำกว่า 5 ปี เมื่อพิจารณาจากสัดส่วนของผู้สูบบุหรี่กับจำนวนเด็ก พบว่า เด็กมีความเสี่ยงในการได้รับควันบุหรี่มือสอง ในสัดส่วน 1:4

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อให้ประชาชนที่สูบบุหรี่มีความรู้ ความเข้าใจ สร้างแรงจูงใจส่งเสริมให้เกิดการลด ละ เลิกบุหรี่ เพื่อสุขภาพที่ดีของตนเองและคนใกล้ชิด

ประชาชนที่สูบบุหรี่มีความรู้ ความเข้าใจ เรื่องบุหรี่ และสนใจสมัครเข้าร่วมโครงการ ลด ละ เลิกบุหรี่

5.00
2 เพื่อให้สามารถมีบุคคลต้นแบบในการเลิกบุหรี่ได้สำเร็จ (อย่างน้อยเลิกบุหรี่ติดต่อกัน 6 เดือนขึ้นไป)

มีบุคคลต้นแบบในการเลิกบุหรี่ได้สำเร็จ (อย่างน้อยเลิกบุหรี่ติดต่อกัน 6  เดือนขึ้นไป)

1.00
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
วันที่ชื่อกิจกรรมกลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
1 เม.ย. 64 - 30 ก.ย. 64 กิจกรรมที่ 2 จัดแต่งตั้ง อสม.ติดตามผู้เลิกบุหรี่ 0 4,200.00 -
1 เม.ย. 64 - 30 ก.ย. 64 กิจกรรมที่ 3 สร้างแรงจูงใจแก่บุคคลต้นแบบที่สามารถเลิกบุหรี่ได้สำเร็จ (อย่างน้อย 6 เดือนขึ้นไป) 0 14,000.00 -
10 พ.ค. 64 กิจกรรมที่ 1 อบรมให้ความรู้แก่ผู้ที่สนใจเข้าร่วมโครงการลด ละ เลิกบุหรี่ 0 8,300.00 -
รวม 0 26,500.00 0 0.00

 

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ

1.ผู้เข้าร่วมโครงการมีความรู้ ความเข้าใจ มีแรงจูงใจในการลด ละ เลิกบุหรี่ เพื่อสุขภาพที่ดีของตนเองและคนใกล้ชิดได้สำเร็จ 2.เกิดเครือข่ายเฝ้าระวังควบคุมการบริโภคยาสูบในหมู่บ้าน/ชุมชน โดยบุคคลต้นแบบเลิกบุหรี่ในชุมชน และมีเครือข่าย อสม.ในการเฝ้าระวังติดตามการเลิกสูบบุหรี่ในหมู่บ้าน/ชุมชน
3.สามารถมีบุคคลต้นแบบในการเลิกบุหรี่ได้สำเร็จ (อย่างน้อยเลิกบุหรี่ติดต่อกัน 6เดือนขึ้นไป)

stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 29 มี.ค. 2564 00:00 น.