กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ รู้ทันโรคหลอดเลือดในสมอง
รหัสโครงการ 011/2564
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 2 สนับสนุนกิจกรรมสร้างเสริมสุขภาพ การป้องกันโรคของกลุ่มหรือองค์กรประชาชน/หน่วยงานอื่น
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ กลุ่มหรือองค์กรประชาชน
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ
วันที่อนุมัติ 23 กุมภาพันธ์ 2021
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 3 พฤษภาคม 2021 - 30 กันยายน 2021
กำหนดวันส่งรายงาน
งบประมาณ 20,000.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นายอัสมิง ตันหยงขาเดร์
พี่เลี้ยงโครงการ นายมะกะตา เจ๊ะแล
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลบาตง อำเภอรือเสาะ จังหวัดนราธิวาส
ละติจูด-ลองจิจูด 6.336,101.445place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานสิ่งเสพติด , แผนงานกลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีความเสี่ยง
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

โรคหลอดเลือดสมอง (stroke) หรือที่มักจะเรียกกันว่า “อัมพฤกษ์อัมพาต” เป็นโรคที่พบได้บ่อย และอาจทำให้เกิดความพิการและเสียชีวิตได้หากได้รับการรักษาไม่ทันเวลา การทำความรู้จักสัญญาณเตือนของโรคหลอดเลือดสมองจึงเป็นเรื่องสำคัญที่จะช่วยป้องกันไม่ให้โรคลุกลามก่อนสายเกินแก้ ในกรณีที่มีความผิดปกติของสมองเกิดขึ้นชั่วคราว จะเรียกว่า transient ischemic attack (TIA) หรือ mini stroke ซึ่งเกิดจากสมองขาดเลือดชั่วคราว เมื่อเลือดกลับมาเลี้ยงสมองตามเดิม อาการก็จะกลับเป็นปกติ โดยทั่วไปแล้วอาการของ TIA มักจะไม่นานเกิน 1 ชั่วโมง ถ้าเป็นนานกว่านี้แล้วไม่หายจัดว่าเป็น stroke ในบางครั้งโรคหลอดเลือดสมองอาจเกิดขึ้นโดยไม่รู้ตัว แต่สามารถสังเกตได้จากอาการเตือนหรือสัญญาณของความผิดปกติของสมอง ซึ่งมักเกิดขึ้นปุบปับทันทีทันใด เช่น อ่อนแรง แขนขาไม่มีแรงหรือขยับไม่ได้, ความผิดปกติที่เกิดขึ้นเพียงข้างใดข้างหนึ่งของร่างกาย เช่น ชาครึ่งซีกข้างใดข้างหนึ่ง เดินเซด้านเดียว  มีความผิดปกติด้านการมองเห็นข้างเดียว มองเห็นภาพซ้อน, พูดไม่รู้เรื่อง พูดไม่ชัด พูดตะกุกตะกัก เสียงพูดไม่ชัดเจน,ฟังคนอื่นพูดแล้วไม่เข้าใจ, เดินแล้วจะล้มง่าย เดินเซไปด้านใดด้านหนึ่ง ทั้งนี้พบว่าเมื่อเกิดโรคหลอดเลือดสมองขึ้น ผู้ป่วยประมาณ 15-20% อาจเสียชีวิต ในขณะที่ผู้ป่วย 20-30% จะยังคงมีอาการหลงเหลืออยู่ เช่น เดินลำบาก เดินเซ รับประทานอาหารลำบาก สำลักง่าย ต้องให้อาหารผ่านสายยางทางจมูก และถ้าเป็นซ้ำกันหลายๆ ครั้งอาจทำให้เกิดสมองเสื่อม (vascular dementia) ตามมา แต่โดยส่วนใหญ่แล้วประมาณ 50% ผู้ป่วยจะมีอาการดีขึ้น อาจดีขึ้นเล็กน้อยหรือดีขึ้นจนหายเป็นปกติก็ได้ โดยอาการของผู้ป่วยแต่ละคนจะไม่เหมือนกัน ขึ้นกับตำแหน่งที่เป็นและความกว้างของบริเวณที่สมองเสียหาย ศูนย์พัฒนาครอบครัวในชุมชนตำบลบาตง อำเภอรือเสาะ จังหวัดนราธิวาส ได้เล็งเห็นความสำคัญของการให้ข้อมูลเรื่องภาวะอาการโรคหลอดเลือดสมอง (stroke) และการช่วยเหลือผู้มีอาการโรคหลอดเลือดในสมองเบื้องต้นแก่ประชาชนในตำบลบาตง เพื่อสามารถป้องกันการเกิดความพิการหรือเสียชีวิตของคนในครอบครัวได้

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ

 

stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 29 มี.ค. 2021 14:44 น.