กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการ หนูน้อยสมาร์ทคิดส์ บ้านน้ำบ่อ ปีงบประมาณ 2564
รหัสโครงการ 64-L2997-1-02
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 1 สนับสนุนการจัดบริการสาธารณสุขของ หน่วยบริการ/สถานบริการ/หน่วยงานสาธารณสุข
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ หน่วยบริการหรือสถานบริการสาธารณสุข เช่น รพ.สต.
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านน้ำบ่อ
วันที่อนุมัติ 1 มีนาคม 2564
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 30 มีนาคม 2564 - 31 พฤษภาคม 2564
กำหนดวันส่งรายงาน
งบประมาณ 30,475.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นางสาวอาซูรา อาแวตาเยะ
พี่เลี้ยงโครงการ
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลบ้านน้ำบ่อ อำเภอปะนาเระ จังหวัดปัตตานี
ละติจูด-ลองจิจูด 6.817,101.563place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานเด็ก เยาวชน ครอบครัว
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน 140 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน :

กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

ในปีงบประมาณ 2560 ทางสาธารณสุขจังหวัดปัตตานี ได้ริเริ่มดำเนินโครงการปัตตานี สมาร์ทคิดส์ (pattani smart kids) โดยมีวัตถุประสงค์หลักคือ การเพิ่มความฉลาดทางเชาวน์ปัญญา การคิด การใช้เหตุผล การคำนวณ การเชื่อมโยง (Intelligence Quotient, IQ) และพัฒนาความฉลาดทางอารมณ์ (Emotional Quotient, EQ) เพื่อให้เด็กปัตตานีรอบรู้ รอบคิด สามารถตัดสินใจเท่าทันเด็กสมัยใหม่ และเด็กที่อยู่ในเมืองได้ โดยได้คิดรูปแบบการดำเนินกิจกรรมครอบคลุมงาน 4 ด้าน คือ 1. ด้านการได้รับวัคซีนป้องกันโรคตามเกณฑ์ 2. ด้านการมีสุขภาพดี สูงดี สมส่วน สมวัย 3. ด้านการมีพัฒนาการสมวัย 4. ด้านสุขภาพช่องปากดี ฟันไม่ผุ ดำเนินกิจกรรมดังกล่าวตั้งแต่เด็กแรกเกิด จนกระทั่งเด็กมีอายุครบ 5 ปี ซึ่งเด็กจะสามารถใช้ความคิด วิเคราะห์ได้ และการดำเนินงานในอนาคตจะผนวกเข้ากับหน่วยงานอื่นๆที่เกี่ยวข้อง เช่น ศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก โรงเรียนอนุบาล เป็นต้น หลักการและเหตุผล (ระบุที่มาของการทำโครงการ) ในปีงบประมาณ 2560 ทางสาธารณสุขจังหวัดปัตตานี ได้ริเริ่มดำเนินโครงการปัตตานี สมาร์ทคิดส์ (pattani smart kids) โดยมีวัตถุประสงค์หลักคือ การเพิ่มความฉลาดทางเชาวน์ปัญญา การคิด การใช้เหตุผล การคำนวณ การเชื่อมโยง (Intelligence Quotient, IQ) และพัฒนาความฉลาดทางอารมณ์ (Emotional Quotient, EQ) เพื่อให้เด็กปัตตานีรอบรู้ รอบคิด สามารถตัดสินใจเท่าทันเด็กสมัยใหม่ และเด็กที่อยู่ในเมืองได้ โดยได้คิดรูปแบบการดำเนินกิจกรรมครอบคลุมงาน 4 ด้าน คือ 1. ด้านการได้รับวัคซีนป้องกันโรคตามเกณฑ์ 2. ด้านการมีสุขภาพดี สูงดี สมส่วน สมวัย 3. ด้านการมีพัฒนาการสมวัย 4. ด้านสุขภาพช่องปากดี ฟันไม่ผุ ดำเนินกิจกรรมดังกล่าวตั้งแต่เด็กแรกเกิด จนกระทั่งเด็กมีอายุครบ 5 ปี ซึ่งเด็กจะสามารถใช้ความคิด วิเคราะห์ได้ และการดำเนินงานในอนาคตจะผนวกเข้ากับหน่วยงานอื่นๆที่เกี่ยวข้อง เช่น ศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก โรงเรียนอนุบาล เป็นต้น ในส่วนของสุขภาพที่เกี่ยวข้องกับงานสาธารณสุข จำเป็นที่จะต้องพัฒนาศักยภาพผู้ปกครองเด็ก  บิดา มารดา และผู้เลี้ยงดูเด็กหลัก ให้สามารถดูแลเด็กให้มีพัฒนาการสมวัย สมบูรณ์ สูงดีสมส่วน แข็งแรง  ได้รับวัคซีนครบ ฟันไม่ผุ และพัฒนาศักยภาพอาสาสมัครประจำหมู่บ้านที่เป็นตัวกลางสื่อสารและเป็นแหล่งข้อมูลเรื่องสุขภาพหลักของชุมชน ให้สามารถสอดส่อง ดูแล เผยแพร่ข้อมูลที่ถูกต้อง เป็นพี่เลี้ยงในการดูแลสุขภาพเด็กในพื้นที่รับผิดชอบของตนได้
จากรายงานเด็กอายุครบ 5 ปีที่ได้รับวัคซีนครบตามเกณฑ์ในปีงบประมาณ 2561-2563 จังหวัดปัตตานี  มีอัตราร้อยละ ๔7.๘๗, ๔3.๔๗, ๔๔.๒1 ตามลำดับ อำเภอปะนาเระ มีอัตราร้อยละ 55.๐๑, 37.๐๖, 4๑.๑๑ ตามลำดับ และในตำบลบ้านบ้านน้ำบ่อ มีอัตราร้อยละ ๗6.๓๒, ๖๒.๐๓, ๓๘.๖๗ ตามลำดับ รายงานเด็กอายุ 0-5 ปี  มีพัฒนาการสมวัยในปีงบประมาณ 25๖๑-256๓ จังหวัดปัตตานี มีอัตราร้อยละ ๙๗.๘๑, 97.๖๗, 9๖.8๐ ตามลำดับ อำเภอปะนาเระ มีอัตราร้อยละ 9๗.๔๗, 9๖.๙๖, 9๖.๒3 ตามลำดับ และในตำบลบ้านบ้านน้ำบ่อ            มีอัตราร้อยละ 9๗.๗๕, 9๙.๑8, 9๘.๗๘ ตามลำดับ
รายงานเด็กอายุ 0-5 ปี มีสุขภาพดี สูงดี สมส่วน ในปีงบประมาณ 25๖๑-256๓ จังหวัดปัตตานี มีอัตราร้อยละ ๕๐.๖6, ๖2.๙๐, ๖5.๕๗ ตามลำดับ อำเภอปะนาเระ มีอัตราร้อยละ ๕๗.๕๑, ๕๘.0๖, ๖๘.๔๔ ตามลำดับ และในตำบลบ้านบ้านน้ำบ่อ มีอัตราร้อยละ 3๔.๗5,๕๔.๔๓, ๖๒.๒1 ตามลำดับ รายงานเด็กอายุ 3 ปี มีฟันผุในฟันน้ำนม ในปีงบประมาณ 25๖๑-256๓ จังหวัดปัตตานี มีอัตราร้อยละ 53.๓๗,4๕.๗๙, 3๔.๖7 ตามลำดับ อำเภอปะนาเระ มีอัตราร้อยละ ๔๗.๑๕, ๓๕.๓๓, ๒๖.๙๕ ตามลำดับ และในตำบลบ้านน้ำบ่อ มีอัตราร้อยละ 6๓.6๔, ๖๖.67, 5๒.๖๓ ตามลำดับ
จากข้อมูลข้างต้นที่ครอบคลุมกิจกรรมทั้ง 4 ด้าน จะเห็นได้ว่า เด็กในตำบลบ้านน้ำบ่อมีปัญหา เรื่องพัฒนาการล่าช้า เรื่องน้ำหนักต่ำกว่าเกณฑ์ ไม่สมส่วน มีฟันผุ และเรื่องการไม่รับวัคซีน ซึ่งจำเป็นต้องได้รับการดูแล ส่งเสริม ป้องกันในเรื่องดังกล่าว ทั้งนี้ทางโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านน้ำบ่อ จึงได้จัดทำโครงการหนูน้อยสมาร์ทคิดส์บ้านน้ำบ่อ ปีงบประมาณ ๒๕๖๔ และดำเนินกิจกรรมสอดคล้องกับนโยบายสาธารณสุขจังหวัดปัตตานี เพิ่มการมีส่วนร่วมของชุมชน และเพิ่มศักยภาพของทีมอาสาสมัครประจำหมู่บ้าน และผู้ปกครอง เพื่อให้เด็กในตำบลบ้านน้ำบ่อ มีสุขภาพดี แข็งแรง ไม่เป็นโรคหรือเสียชีวิตด้วยโรคที่ป้องกันได้ด้วยวัคซีน มีพัฒนาการที่ดี สมวัย และมีสุขภาพช่องปากที่ดี ฟันไม่ผุ ตามสโลแกนของจังหวัดปัตตานีที่ว่า “เด็กปัตตานีสูงดี สมส่วน สมวัย พัฒนาการดี วัคซีนครบ ฟันไม่ผุ”

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 1 เพื่อพัฒนาศักยภาพของทีมอาสาสมัครประจำหมู่บ้านให้สามารถดูแล ติดตามกลุ่มเป้าหมาย และเป็นพี่เลี้ยงในเรื่องของสุขภาพได้ 2.2.เพื่อพัฒนาศักยภาพผู้ปกครอง ผู้เลี้ยงดูเด็กหลักให้สามารถดูแลเด็กในมีน้ำหนักตามเกณฑ์ สูงดีสมส่วน มีพัฒนาการสมวัย ได้รับวัคซีนตามเกณฑ์และมีทักษะการแปรงฟันที่มีคุณภาพ 3.

1.ร้อยละ ๙๐ทีมอาสาสมัครประจำหมู่บ้านให้สามารถดูแล ติดตามกลุ่มเป้าหมาย  และเป็นพี่เลี้ยงในเรื่องของสุขภาพได้  2.ร้อยละ ๖๐ ของผู้ปกครอง ผู้เลี้ยงดูเด็กหลัก สามารถดูแลเด็กในมีน้ำหนักตามเกณฑ์ สูงดีสมส่วน มีพัฒนาการสมวัย ได้รับวัคซีนตามเกณฑ์และมีทักษะการแปรงฟันที่มีคุณภาพ

0.00
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
วันที่ชื่อกิจกรรมกลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)

วัตถุประสงค์ข้อที่ 1 : 1 เพื่อพัฒนาศักยภาพของทีมอาสาสมัครประจำหมู่บ้านให้สามารถดูแล ติดตามกลุ่มเป้าหมาย และเป็นพี่เลี้ยงในเรื่องของสุขภาพได้ 2.2.เพื่อพัฒนาศักยภาพผู้ปกครอง ผู้เลี้ยงดูเด็กหลักให้สามารถดูแลเด็กในมีน้ำหนักตามเกณฑ์ สูงดีสมส่วน มีพัฒนาการสมวัย ได้รับวัคซีนตามเกณฑ์และมีทักษะการแปรงฟันที่มีคุณภาพ 3.

รวม 0 0.00 0 0.00

หมายเหตุ : งบประมาณ และ ค่าใช้จ่าย รวมทุกวัตถุประสงค์อาจจะไม่เท่ากับงบประมาณรวมได้

วิธีดำเนินการ (ออกแบบให้ละเอียด) 1. ประชุมคณะกรรมการหลักประกันสุขภาพฯเพื่อเสนอโครงการให้ความเห็นชอบ 2. ประสานคณะกรรมการหมู่บ้าน ในการจัดทำแผนกิจกรรมการดำเนินโครงการ
3. เสนอโครงการเพื่อให้ประธานอนุมัติ 4. จัดประชุม จนท. เพื่อเตรียมความพร้อมในการจัดทำโครงการ
5. จัดกิจกรรม   5.1 กิจกรรมหลักที่ ๑ จัดอบรมให้ความรู้ และพัฒนาศักยภาพอาสาสมัครประจำหมู่บ้านทุกคน ครอบคลุมกิจกรรม ทั้ง 4 ด้าน โดยใช้แบบประเมินความถนัด เพื่อพัฒนาให้ครอบคลุมสิ่งที่ไม่ถนัด และสามารถติดตามกลุ่มเป้าหมายให้มารับบริการในกิจกรรมต่างๆ เช่น ติดตามเด็กมารับบริการฉีดวัคซีนตามเกณฑ์ มารับบริการตรวจพัฒนาการตามกลุ่มอายุ มารับบริการตรวจสุขภาพช่องปากและเคลือบฟลูออไรด์วานิชทุก 3 เดือน - กลุ่มเป้าหมาย / จำนวน : อาสาสมัครประจำหมู่บ้านทุกคน จำนวน ๒5 คน
กิจกรรมหลักที่ ๒ จัดอบรมให้ความรู้ และพัฒนาศักยภาพผู้ปกครองเด็ก ผู้เลี้ยงดูเด็กหลัก
    กลุ่มเป้าหมาย / จำนวน : ผู้ปกครองเด็ก ผู้เลี้ยงดูเด็กหลัก จำนวน 140 คน
๕.๒. ระยะติดตาม         - ติดตามการมาฉีดวัคซีนตามนัด การมารับบริการตรวจพัฒนาการเมื่อครบอายุ ชั่งน้ำหนักเด็กเพื่อให้รู้ภาวะโภชนาการและ สภาวะช่องปากของ กลุ่มเป้าหมาย
๕.๓. ประเมินผล       6. สรุปผลและรายงานผลการดำเนินงาน

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ

๑. อาสาสมัครประจำหมู่บ้านมีศักยภาพสามารถดูแลติดตามเป็นพี่เลี้ยงเรื่องสุขภาพแก่กลุ่มเป้าหมายได้อย่างชำนาญ ๒. เด็กกลุ่มเป้าหมายสมาร์ทคิดส์มีสุขภาพร่างกายแข็งแรง สูงดี สมส่วน มีพัฒนาการสมวัย ได้รับวัคซีนครบตามเกณฑ์ และฟันไม่ผุ

stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 29 มี.ค. 2564 15:08 น.