กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการปรับได้..เปลี่ยนได้..ห่างไกลโรคเรื้อรัง เบาหวานและความดันโลหิตสูงควบคุมได้ โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านน้ำบ่อ
รหัสโครงการ 64-L2997-2-03
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 2 สนับสนุนกิจกรรมสร้างเสริมสุขภาพ การป้องกันโรคของกลุ่มหรือองค์กรประชาชน/หน่วยงานอื่น
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ กลุ่มหรือองค์กรประชาชน
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ กลุ่มอาสาสมัครสาธารณสุขตำบลบ้านน้ำบ่อ
วันที่อนุมัติ 1 มีนาคม 2564
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 1 เมษายน 2564 - 30 มิถุนายน 2564
กำหนดวันส่งรายงาน 15 กรกฎาคม 2564
งบประมาณ 27,425.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นางกำหย๊ะ ฮามะ
พี่เลี้ยงโครงการ
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลบ้านน้ำบ่อ อำเภอปะนาเระ จังหวัดปัตตานี
ละติจูด-ลองจิจูด 6.817,101.563place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานโรคเรื้อรัง
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง 140 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง :

stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

ปัญหาสุขภาพของประชาชนในปัจจุบัน พบว่ามีความซับซ้อนมากขึ้นตามการเปลี่ยนแปลงของเศรษฐกิจ ความเจริญก้าวหน้าทางเทคโนโลยี และแบบแผนการดำเนินชีวิต ส่งผลทำให้เกิดการเจ็บป่วย ทั้งด้วยโรคที่สามารถป้องกันได้ และป้องกันไม่ได้ รวมทั้งโรคพื้นฐานที่ประชาชนสามารถดูแลตนเองได้ โรคบางอย่างเกิดจากพฤติกรรมสุขภาพที่ไม่พึ่งประสงค์ เช่น การบริโภคอาหารที่ไม่ถูกต้อง ขาดการออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ ขาดการจัดการความเครียด จากการสำรวจชุมชนพบว่าประชาชนส่วนใหญ่ มีปัญหาการออกกำลังกาย และขาดความตระหนักในการดูแลสุขภาพของตนเอง ซึ่งส่งผลต่อภาวะสุขภาพของประชาชน จากผลการวิเคราะห์ปัญหาสาธารณสุขของอำเภอปะนาเระ จังหวัดปัตตานีปัจจุบัน พบว่าโรคความดันโลหิตสูงและโรคเบาหวานเป็นปัญหาสาธารณสุขสำคัญลำดับต้นที่ควรได้รับการแก้ไขอย่างเร่งด่วน จากการสำรวจข้อมูลด้านการรักษาพยาบาลปี 2563 ของอำเภอปะนาเระ พบว่าผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูง จำนวน 3,964 คน คิดเป็นร้อยละ 9.74 ผู้ป่วยโรคเบาหวาน จำนวน 1,580 คน คิดเป็นร้อยละ 3.88 อัตราป่วยโรคเบาหวานรายใหม่ ปี 2563 เท่ากับ 316.55 และอัตราป่วยโรคความดันโลหิตสูงรายใหม่ เท่ากับ 626.73 จากผลการคัดกรองความเสี่ยงประชาชนอายุ 35 ปีขึ้นไป มีปัจจัยเสี่ยงสูงต่อการเป็นโรคความดันโลหิตสูงจำนวน 918 คน คิดเป็นร้อยละ 7.14 มีปัจจัยเสี่ยงสูงต่อการเป็นโรคเบาหวาน จำนวน 194 คน คิดเป็นร้อยละ 1.28 ผู้ป่วยโรคเบาหวานที่ควบคุมระดับน้ำตาลได้ดี ปี 2563 เท่ากับ ร้อยละ 12.59 (เกณฑ์ ≥ร้อยละ 40) และผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูงที่ควบคุมความดันโลหิตได้ดี ปี 2563 เท่ากับ 26.66 (เกณฑ์ ≥ ร้อยละ 50) และในเขตรับผิดชอบของโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านเตราะหัก พบว่าผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูง จำนวน 151 คน จากจำนวนประชากร 2,009 คิดเป็นร้อยละ 7.52 ผู้ป่วยโรคเบาหวาน จำนวน 70 คน จากจำนวนประชากร 2,009 คิดเป็นร้อยละ 3.48 อัตราป่วยโรคเบาหวานรายใหม่ ปี 2563 จำนวน 11 คน และอัตราป่วยโรคความดันโลหิตสูงรายใหม่ จำนวน 13 คน จากผลการคัดกรองความเสี่ยงประชาชนอายุ 35 ปีขึ้นไป มีปัจจัยเสี่ยงสูงต่อการเป็นโรคความดันโลหิตสูงจำนวน 24 คน จากจำนวนประชากร 620 คน คิดเป็นร้อยละ 3.87 มีปัจจัยเสี่ยงสูงต่อการเป็นโรคเบาหวาน จำนวน 183 คน จากจำนวนประชากร 698 คน คิดเป็นร้อยละ 26.22 ผู้ป่วยโรคเบาหวานที่ควบคุมระดับน้ำตาลได้ดี ปี 2563 เท่ากับ ร้อยละ 15.71 (เกณฑ์ ≥ร้อยละ 40) และผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูงที่ควบคุมความดันโลหิตได้ดี ปี 2563 เท่ากับ 38.41 (เกณฑ์ ≥ ร้อยละ 50) สาเหตุสำคัญคือ พฤติกรรมการบริโภคอาหารที่ไม่ถูกต้องและการออกกำลังกายไม่สม่ำเสมอ จากการดำเนินงานที่ผ่านมา เจ้าหน้าที่สาธารณสุขและ อสม. ยังขาดความต่อเนื่องในการให้การบริการในเชิงรุกลงไปถึงระดับ ครอบครัว ชุมชน ทำให้การแก้ปัญหาได้แค่ระดับหนึ่ง จึงมีความจำเป็นที่จะต้องคิด และใช้วิธีการที่เหมาะสมกับบริบทของพื้นที่ จากสภาพปัญหาดังกล่าว ทางกลุ่มอาสาสมัครสาธารณสุข หมู่ 2,3 และหมู่ 5 ตำบลบ้านน้ำบ่อ โดยมีเจ้าหน้าที่รพ.สต.บ้านน้ำบ่อเป็นพี่เลี้ยง ได้เล็งเห็นความสำคัญของปัญหาจึงได้จัดทำโครงการปรับได้ เปลี่ยนได้ ห่างไกลโรคเรื้อรัง เบาหวานความดันโลหิตสูงควบคุมได้ โดยเป็นการส่งเสริมสุขภาพ ทั้งในกลุ่มเสี่ยงและกลุ่มป่วย และการมีส่วนร่วมของประชาชนในการดูแลสุขภาพขั้นพื้นฐานของตนเอง โดยการดำเนินงานกิจกรรมต้องสอดคล้องกับสภาพปัญหาของปัจเจกบุคคล ครอบครัว ศาสนา และวัฒนธรรม เพื่อให้มีการเปลี่ยนแบบแผนการดำเนินชีวิต มีความรู้ ความเข้าใจ และมีพฤติกรรมการดูแลตนเองที่ถูกต้อง สามารถลดพฤติกรรมเสี่ยง ต่อการเกิดโรคเบาหวาน และความดันโลหิตสูง มีความห่วงใยต่อสุขภาพ ครอบครัว และชุมชน อย่างถาวร ส่งผลให้ทั้งกลุ่มเสี่ยง กลุ่มป่วยและประชาชนมีสุขภาพที่ดี มุ่งให้เกิดการพึ่งตนเองทางสุขภาพเป็นสำคัญ

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 1. เพื่อให้ประชาชนกลุ่มเสี่ยงเบาหวานและความดันโลหิตสูงได้รับการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพที่ถูกต้อง 2. เพื่อลดอัตราการป่วยด้วยโรคเบาหวานรายใหม่จากกลุ่มเสี่ยง 3. เพื่อลดอัตราการป่วยด้วยโรคความดันโลหิตสูงรายใหม่จากกลุ่มเสี่ยง 4. เพื่อให้ผู้ป่วยโรคเบาหวานสามารถควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดได้ดี 5. เพื่อให้ผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูงสามารถควบคุมระดับความดันโลหิตได้ดี

1.ร้อยละ 50 ของประชาชนกลุ่มเสี่ยงด้วยโรคความดันโลหิตสูงและโรคเบาหวานได้รับการปรับเปลี่ยนพฤติกรรม  2.อัตราผู้ป่วยเบาหวานรายใหม่จากกลุ่มเสี่ยงเบาหวาน ลดลงไม่เกินร้อยละ 2.40  3.อัตราผู้ป่วยความดันโลหิตสูงรายใหม่จากกลุ่มเสี่ยงความดันโลหิตสูง ไม่เกินร้อยละ 4.10  4.ร้อยละ 40 ของผู้ป่วยเบาหวานที่ควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดได้ดี  5.ร้อยละ 60 ของผู้ป่วยความดันโลหิตสูงที่ควบคุมระดับความดันโลหิตได้ดี

0.00
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
วันที่ชื่อกิจกรรมกลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)

วัตถุประสงค์ข้อที่ 1 : 1. เพื่อให้ประชาชนกลุ่มเสี่ยงเบาหวานและความดันโลหิตสูงได้รับการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพที่ถูกต้อง 2. เพื่อลดอัตราการป่วยด้วยโรคเบาหวานรายใหม่จากกลุ่มเสี่ยง 3. เพื่อลดอัตราการป่วยด้วยโรคความดันโลหิตสูงรายใหม่จากกลุ่มเสี่ยง 4. เพื่อให้ผู้ป่วยโรคเบาหวานสามารถควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดได้ดี 5. เพื่อให้ผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูงสามารถควบคุมระดับความดันโลหิตได้ดี

รวม 0 0.00 0 0.00

หมายเหตุ : งบประมาณ และ ค่าใช้จ่าย รวมทุกวัตถุประสงค์อาจจะไม่เท่ากับงบประมาณรวมได้

  1. ประชุมคณะกรรมการหลักประกันสุขภาพฯเพื่อเสนอโครงการให้ความเห็นชอบ
  2. ประสานคณะกรรมการหมู่บ้าน ในการจัดทำแผนกิจกรรมการดำเนินโครงการ
  3. เสนอโครงการเพื่อให้ประธานอนุมัติ
  4. จัดประชุม อสม. เพื่อเตรียมความพร้อมในการจัดทำโครงการคัดกรองสุขภาพกลุ่มเสี่ยง เช่น การเจาะน้ำตาล วัดความดันโลหิต การคำนวณ BMI
  5. จัดกิจกรรม   5.1 กิจกรรมหลักที่ ๑ ลดเสี่ยง ลดโรคเบาหวาน ความดันโลหิตสูง

- กลุ่มเป้าหมาย / จำนวน : ประชาชนกลุ่มเสี่ยงต่อโรคเบาหวานและความดันโลหิตสูง จำนวน 100 คน - แนวทางการดำเนินการ : ๑. ระยะให้ความรู้ - คืนข้อมูลสถานการณ์กลุ่มเสี่ยงและกลุ่มป่วยแก่กลุ่มเป้าหมาย - วิเคราะห์ภาวะสุขภาพและพฤติกรรมสุขภาพของกลุ่มเป้าหมายรายบุคคล บันทึกลงในสมุดบันทึกประจำตัวกลุ่มเสี่ยง - ให้ความรู้เกี่ยวกับการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมตามหลัก 3อ2ส. - แลกเปลี่ยนเรียนรู้ในเรื่องการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพระหว่างสมาชิก ๒. ระยะติดตามภาวะสุขภาพ         - ติดตามระดับน้ำตาลในเลือด และระดับความดันโลหิต       - สรุปภาวะสุขภาพผู้เข้าร่วมโครงการ ๓. ประเมินผล   5.๒. กิจกรรมหลักที่ ๒ ป่วยปรับ...เปลี่ยน.ควบคุมโรค ลดภาวะแทรกซ้อน   - กลุ่มเป้าหมาย / จำนวน : ประชาชนกลุ่มป่วยโรคเบาหวานและความดันโลหิตสูง จำนวน 60 คน     - แนวทางการดำเนินการ : ๑. ระยะให้ความรู้   - ให้ความรู้และฝึกปฏิบัติการวิเคราะห์ภาวะสุขภาพและพฤติกรรมสุขภาพของตนเอง - ให้ความรู้เกี่ยวกับการปฏิบัติตัวที่เหมาะสมสำหรับผู้ป่วยโรคเบาหวาน ได้แก่อาหาร การออกกำลังกาย การใช้ยา การจัดการความเครียด การเฝ้าระวังภาวะแทรกซ้อน เป็นต้น ๒. ระยะติดตามภาวะสุขภาพ   - ติดตามระดับน้ำตาลในเลือด และระดับความดันโลหิต   - สรุปภาวะสุขภาพผู้เข้าร่วมโครงการ ๓. ประเมินผล
6. สรุปผลและรายงานผลการดำเนินงาน

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ
  1. ประชาชนกลุ่มเสี่ยงโรคเบาหวานและโรคความดันโลหิตสูง มีความรู้และทักษะในการดูแลตนเองในการป้องกันโรค สามารถประเมินและแก้ไขปัญหาภาวะสุขภาพของตนเอง ครอบครัว ชุมชนได้
    1. เพื่อให้กลุ่มเสี่ยงเบาหวานและความดันโลหิตสูง มีพฤติกรรมสุขภาพการดูแลตัวเองที่ถูกต้อง
    2. อัตราผู้ป่วยโรคเบาหวาน และโรคความดันโลหิตสูงรายใหม่ลดลง
    3. กลุ่มป่วยโรคเบาหวานและความดันโลหิตสูงสามารถควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดและระดับความดันโลหิตได้ดีขึ้น
stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 29 มี.ค. 2564 15:25 น.