กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการขยะชนะ (ขยะชนะแน่ ถ้าวันนี้ไม่แยกขยะ)
รหัสโครงการ
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 2 สนับสนุนกิจกรรมสร้างเสริมสุขภาพ การป้องกันโรคของกลุ่มหรือองค์กรประชาชน/หน่วยงานอื่น
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ กลุ่มหรือองค์กรประชาชน
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ คณะกรรมการหมู่บ้าน หมู่ที่ 7
วันที่อนุมัติ 29 มีนาคม 2564
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 30 มีนาคม 2564 - 30 เมษายน 2564
กำหนดวันส่งรายงาน 30 เมษายน 2564
งบประมาณ 11,925.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นางฉลอง แก้วสิริ
พี่เลี้ยงโครงการ
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลโคกม่วง อำเภอคลองหอยโข่ง จังหวัดสงขลา
ละติจูด-ลองจิจูด 6.875,100.406place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานขยะ
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
งวดวันที่งวดโครงการวันที่งวดรายงานงบประมาณ
(บาท)
จากวันที่ถึงวันที่จากวันที่ถึงวันที่
1 30 มี.ค. 2564 30 มี.ค. 2564 11,925.00
รวมงบประมาณ 11,925.00
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

ปัญหาขยะมูลฝอยในชุมชนของประเทศไทย นับว่าเป็นปัญหาสำคัญที่อยู่คู่กับสังคมไทยมายาวนาน สาเหตุเนื่องมาจากการเพิ่มขึ้นของปริมาณการผลิตขยะ อัตราการเพิ่มขึ้นของจำนวนประชากร การขยายตัวทางเศรษฐกิจ และการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมในการอุปโภคบริโภคของประชาชน ซึ่งจากสถานการณ์ขยะมูลฝอยในปี พ.ศ. ๒๕๖๒ มีปริมาณขยะมูลฝอย ถึง ๒๘.๗๑ ล้านตัน เพิ่มขึ้นร้อยละ ๓ จากปี พ.ศ. ๒๕๖๑ ที่มีปริมาณขยะมูลฝอย ๒๗.๙๓ ล้านตัน ซึ่งได้รับการจัดการอย่างถูกต้องเพียง ๙.๘๑ ล้านตัน และมีปริมาณขยะมูลฝอยที่กำจัดไม่ถูกต้องอยู่ ๖.๓๘ ล้านตัน อ้างอิงข้อมูลจากกรมควบคุมมลพิษ
จากสถานการณ์ของขยะมูลฝอยในชุมชนที่มากมายนั้นทำให้เกิดปัญหาเกี่ยวกับขยะตามมาอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้        ซึ่งขยะสามารถส่งผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมของชุมชนได้ทั้งทางตรงและทางอ้อม อีกทั้งยังส่งผลกระทบต่อสุขภาพของคนในชุมชนและสภาพความเป็นอยู่ในชุมชนอีกด้วย ทำลายทัศนียภาพ ขยะมูลฝอยที่ตกค้างในชุมชนทำให้เกิดความสกปรก  ความไม่สวยงามและเกิดเป็นภาพที่ไม่น่ามอง เป็นแหล่งเพาะพันธุ์สัตว์และพาหะนำโรคต่าง ๆ เช่น หนู ยุง แมลงวัน และแมลงสาป เกิดกลิ่นเหม็นรบกวนก่อให้เกิดความรำคาญใจและอาจจะบั่นทอนสุขภาพของคนในชุมชนได้ จากผลสำรวจจากแบบสอบถามพบว่ายังไม่มีการคัดแยกขยะที่เหมาะสมทั้งขยะเปียก ขยะแห้ง ขยะอันตราย หรือแม้แต่ขยะติดเชื้อ ทุกขยะรวมอยู่ในถุงเดียวกัน ส่วนมากจะถูกเก็บโดยรถขยะจากเทศบาล ขยะที่สามารถนำกลับมารีไซเคิลจำนวนมาก ถูกทำลายอย่างไม่มีคุณค่า แม้จะมีบางครัวเรือนที่มีการคัดแยกขยะอยู่บ้างแต่ก็ยังไม่มีมาตรการหรือรูปแบบที่ชัดเจน เมื่อเทียบกับขยะที่แต่ละครัวเรือนสร้างขึ้น จากข้อมูลดังกล่าว ทำให้เราทราบว่าขยะที่สามารถนำกลับมารีไซเคิลได้นั้นถูกทำลายไปโดยสูญเปล่า ทั้งที่ขยะเหล่านั้นสามารถนำกลับมาสร้างคุณค่าได้มากมายมหาศาล รวมถึงการนำขยะประเภทอะลูมิเนียมและแก้วพลาสติกแข็ง หรือถุงน่องที่ไม่ใช้งานแล้ว สามารถนำไปบริจาคเพื่อการทำอุปกรณ์ขาเทียมให้แก่ผู้พิการ ได้ช่วยให้ผู้พิการมีอุปกรณ์ขาเทียมที่เหมาะสมสำหรับใช้ในการดำรงชีวิตประจำวัน ทั้งยังเกิดสาธารณกุศลอีกด้วย อย่างไรก็ตาม ความสำเร็จของการคัดแยกขยะ เพื่อหมุนเวียนกลับมาใช้ใหม่นั้น ขึ้นอยู่กับความตระหนักและการรับรู้ข้อมูลข่าวสารที่เหมาะสมของคนในชุมชน การได้รับความรู้ความเข้าใจในการคัดแยกขยะอย่างถูกวิธี การเข้าใจถึงผลกระทบสิ่งที่เกิดขึ้นและสิ่งที่จะตามมา การสื่อสารจึงเป็นกิจกรรมที่จะก่อให้เกิดความร่วมมือและพร้อมใจกัน หันมาตระหนักและช่วยกันคัดแยกขยะเพิ่มมากขึ้น     ซึ่งจากการจัดเวทีประชาคม เมื่อวันที่ ๔ มีนาคม ๒๕๖๔ ในชุมชนบ้านทุ่งโชน หมู่ที่ 7 ตำบลโคกม่วง จังหวัดสงขลา ประชาชนในชุมชนได้ให้ความสำคัญมากที่สุดในเรื่องของการจัดการขยะ จึงได้จัดทำโครงการ ขยะชนะ (ขยะชนะแน่ ถ้าวันนี้ไม่แยกขยะ) เพื่อนำเสนอข้อมูลและส่งเสริมให้คนในชุมชนได้เรียนรู้และเข้าใจในเรื่องการจัดการขยะที่ถูกต้องและถูกสุขลักษณะ ตลอดจนการคัดแยกขยะอย่างถูกวิธี เห็นคุณค่าของการคัดแยกขยะ หากคัดแยกขยะได้อย่างเหมาะสมแล้ว ก็จะสามารถนำมาใช้ประโยชน์ได้และเป็นการรักษาสิ่งแวดล้อมในขณะเดียวกัน ทั้งยังเป็นการปลูกจิตสำนึกให้ประชาชนได้ตระหนักถึงความสำคัญของการเข้ามามีส่วนร่วมในการแก้ไขปัญหาขยะ

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อส่งเสริมให้ประชาชนรู้จักและเข้าใจการคัดแยกขยะมูลฝอยในครัวเรือน

ร้อยละ ๙๐ ของกลุ่มเป้าหมายรู้จักและเข้าใจการคัดแยกขยะมูลฝอยในครัวเรือน

0.00
2 เพื่อให้ประชาชนร่วมกันคัดแยกขยะที่สามารถก่อให้เกิดประโยชน์ต่อตนเอง สังคมและเพื่อเป็นสาธารณกุศล

ร้อยละ ๘๐ ของกลุ่มเป้าหมายคัดแยกขยะและนำขยะไปรีไซเคิลเพื่อให้เกิดประโยชน์และสามารถนำไปบริจาคเพื่อเป็นสาธารณกุศล

0.00
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม

๑. สาธิตจัดตั้งถังขยะเปียกให้กับกลุ่มตัวอย่าง ๓ ครัวเรือน เพื่อเป็นต้นแบบในการขยายผลให้ครอบคลุมทุกครัวเรือน ๒. จัดอบรมให้ความรู้เกี่ยวกับการคัดแยกขยะ ประโยชน์จากขยะและผลกระทบที่เกิดขึ้นจากปัญหาขยะมูลฝอย รวมทั้งสาธิตการกำจัดขยะอินทรีย์โดยการตั้งถังขยะเปียกภายในครัวเรือน ๓. เปิดรับบริจาคขยะจำพวกฝาอะลูมิเนียม แก้วพลาสติกแข็งและถุงน่อง เพื่อการทำอุปกรณ์ขาเทียมให้แก่ผู้พิการ ๔. ผู้เข้าร่วมโครงการตอบแบบสอบถามเพื่อประเมินโครงการ ๕. สรุปผลการดำเนินโครงการ

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ

๑. ประชาชนในชุมชนบ้านทุ่งโชนมีการคัดแยกขยะและนำขยะไปใช้ให้เกิดประโยชน์ ๒. ประชาชนในชุมชนบ้านทุ่งโชนมีความรู้ความเข้าใจในการคัดแยกขยะมูลฝอยในครัวเรือน ๓. มีปริมาณขยะที่จะนำไปบริจาคเพื่ออุปกรณ์ขาเทียมแก่ผู้พิการ
๔. ประชาชนมีรายได้จากการคัดแยกขยะ

stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 30 มี.ค. 2564 10:49 น.