กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการหนูน้อยสมาร์ทคิทส์
รหัสโครงการ 60-L3052-01-4
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 1 สนับสนุนการจัดบริการสาธารณสุขของ หน่วยบริการ/สถานบริการ/หน่วยงานสาธารณสุข
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ หน่วยบริการหรือสถานบริการสาธารณสุข เช่น รพ.สต.
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลกะดุนง
วันที่อนุมัติ 31 กรกฎาคม 2560
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 3 กรกฎาคม 2560 - 29 กันยายน 2560
กำหนดวันส่งรายงาน
งบประมาณ 31,500.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นางซารีพะ เจ๊ะอาลี
พี่เลี้ยงโครงการ นางอาสีละห์อาแซ
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลกะดุนง อำเภอสายบุรี จังหวัดปัตตานี
ละติจูด-ลองจิจูด 6.646,101.554place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

การพัฒนาคุณภาพชีวิตของประชาชนเป็นเป้าหมายสำคัญของการพัฒนาประเทศ โดยเฉพาะอย่างยิ่งกระทรวงสาธารณสุขได้กำหนดแนวทางการดำเนินงานเพื่อให้ประชาชนมีสุขภาวะ (Well-being) ทั้งมิติทางกาย ใจ สังคม และปัญญา (จิตวิญญาณ) และมิติของคน ครอบครัว และสังคมมากขึ้น โดยเริ่มจากวัยต้นของชีวิต คือ เด็ก 0–5 ปี ซึ่งเป็นวัยที่มีความสำคัญ เนื่องจากเป็นวัยที่มีการพัฒนาอย่างรวดเร็วทั้งทางด้านร่างกาย สติปัญญา อารมณ์ สังคม และเป็นวัยที่เริ่มต้นการรับรู้และรับรู้เพื่อเป็นพื้นฐานของช่วงวัยต่อไป ดังนั้นเพื่อให้เด็ก 0–5 ปี มีสุขภาพดีเด็กวัยนี้ควรได้รับการดูแลสุขภาพอย่างเป็นองค์รวมและครอบคลุมทั้ง 4 ด้านได้แก่ การเจริญเติบโตสมส่วนตามวัย พัฒนาการด้ามสมองตามวัย การดูแลสุขภาพช่องปากและฟันไม่ให้มีฟันผุ และรับวัคซีนครบตามกำหนด ผลการดำเนินงานดูแลสุขภาพกลุ่มเด็กอายุ 0-5 ปี ปีงบประมาณ 2560 ไตรมาส 2 (ข้อมูล ณ วันที่ 30 เมษายน 2560 พบว่า1) งานสร้างเสริมภูมิคุ้มกันโรค ต่ำกว่าเกณฑ์ร้อยละ 70.252) งานเฝ้าระวังภาวะโภชนาการเด็ก 0-5 ปี สูงดีสมส่วน และส่วนสูงเฉลี่ยที่อายุ 5 ปีร้อยละ 14.29 3)งานส่งเสริมพัฒนาการเด็ก 0-5 ปีพบว่ามีเด็ก 0-5 ปี ทุกคนมีพัฒนาการสมวัย ร้อยละ 100 และ4)การดูแลสุขภาพช่องปากและฟันเด็ก 0-5 ปีพบว่ามีเด็กอายุ 3-5 ปี ฟันผุร้อยละ 66.38อย่างไรก็ตามแม้จากรายงานขนาดของปัญหาจะลดลง แต่ก็ยังสูงกว่าค่าเฉลี่ยระดับประเทศ ระดับภาคและเป้าหมายแผนสาธารณสุขฉบับที่ 10 ที่กำหนดไว้ว่า ภาวะทุพโภชนาการในเด็กอายุ 0-5 ปี ไม่เกินร้อยละ 7 ซึ่งพัฒนาการทางด้านร่างกายนี้อาจส่งผลต่อพัฒนาการทางด้านสติปัญญา อารมณ์ จิตใจ และสังคมของเด็กตามมา จำเป็นต้องมีการส่งเสริมและพัฒนาเด็กให้มีพัฒนาการที่สมวัยในทุกด้านของชีวิต ดังนั้น โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลปะกาฮะรังเห็นความสำคัญการดูแลสุขภาพของ เด็กแบบองค์รวมให้ครอบคลุมทั้ง ๔ ด้าน จึงได้จัดทำโครงการนี้เพื่อให้ความรู้เรื่องดังกล่าวแก่แม่ต่อไป

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อให้ผู้ปกครองทราบและสามารถดูแลสุขภาพเด็ก 0-5 ปี ได้รับการดูแลสุขภาพอย่างเป็นองค์รวมและครอบคลุมทั้ง 4 ด้าน

ผู้ปกครองสามารถดูแลสุขภาพเด็ก 0-5 ปี ได้รับการดูแลสุขภาพอย่างเป็นองค์รวมและครอบคลุมทั้ง 4 ด้าน

2 เพื่อส่งเสริมให้เด็ก 0-5 ปี ได้รับการดูแลสุขภาพอย่างเป็นองค์รวมและครอบคลุมทั้ง 4 ด้านโดยการมีส่วนร่วมของเครือข่ายในชุมชนที่เกี่ยวข้อง

เด็ก 0-5 ปี ได้รับการดูแลสุขภาพอย่างเป็นองค์รวมและครอบคลุมทั้ง 4 ด้านโดยการมีส่วนร่วมของเครือข่ายในชุมชนที่เกี่ยวข้อง

stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม

1รวบรวมและวิเคราะห์สถานการณ์เพื่อคืนข้อมูลการดำเนินงานดูแลสุขภาพเด็ก 0-5 ปี ทั้ง 4 ด้าน (ด้านการสร้างเสริมภูมิคุ้มกันโรค ด้านโภชนาการ ด้านการส่งเสริมพัฒนาการและ ด้านดูแลสุขภาพช่องปากและฟัน)ปัญหา/อุปสรรค ถอดบทเรียนในปีที่ผ่านมา เพื่อวางแผน และกำหนดทิศทางแก้ไขปัญหา 2ประชุมชี้แจงโครงการแก่เจ้าหน้าที่ รพ.สต. และเครือข่ายในชุมชน 3จัดทำโครงการเพื่อขออนุมัติ และขอสนับสนุนงบประมาณ 4 แต่งตั้งคณะกรรมการดำเนินงานหนูน้อยสมาร์ทคิดส์ ตำบลกะดุนง
5ประสานเครือข่ายในชุมชนที่เกี่ยวข้อง ประชาสัมพันธ์เชิญชวนให้กลุ่มเป้าหมายเข้าร่วมโครงการ ผ่านเวทีการประชุมสภาสันติสุข และ อสม.
6จัดเตรียมเอกสาร วัสดุ ครุภัณฑ์ต่างๆในการจัดกิจกรรมให้พร้อมดำเนินงาน 7ดำเนินการอบรมเชิงปฏิบัติการผู้ปกครองสู่หนูน้อยสมาร์ทคิดส์ จำนวน ๑ วัน 8การสาธิตการดูแลสุขภาพช่องปากและฟันในเด็ก 0-5 ปี
9การประกวดหนูน้อยสมาร์ทคิดส์ 10ประเมินผลการอบรม 2.๑๒สรุป วิเคราะห์ ประเมินผลและจัดทำรายงานผลการดำเนินโครงการ ๑๗รายงานผลการดำเนินงานต่อผู้บังคับบัญชาตามลำดับขั้น และหน่วยงานอื่นที่เกี่ยวข้อง

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ

๑ผู้ปกครองทราบและสามารถดูแลสุขภาพเด็ก 0-5 ปี ได้รับการดูแลสุขภาพอย่างเป็นองค์รวม และครอบคลุมทั้ง 4 ด้าน
๒เครือข่ายในชุมชนที่เกี่ยวข้องมีส่วนร่วมในการดูแลสุขภาพเด็ก 0-5 ปี อย่างเป็นองค์รวม และครอบคลุมทั้ง 4 ด้าน

stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 2 ส.ค. 2560 10:16 น.