กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการหมู่บ้านปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพ ลดเสี่ยง ลดโรค
รหัสโครงการ 64-L2488-2-02
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 2 สนับสนุนกิจกรรมสร้างเสริมสุขภาพ การป้องกันโรคของกลุ่มหรือองค์กรประชาชน/หน่วยงานอื่น
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ กลุ่มหรือองค์กรประชาชน
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ ชมรม อสม.ตำบลบาเจาะ
วันที่อนุมัติ 19 มีนาคม 2564
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 1 เมษายน 2564 - 30 กันยายน 2565
กำหนดวันส่งรายงาน 30 ตุลาคม 2565
งบประมาณ 61,000.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นายอาลีย๊ะ วาและ
พี่เลี้ยงโครงการ
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลบาเจาะ อำเภอบาเจาะ จังหวัดนราธิวาส
ละติจูด-ลองจิจูด 6.514,101.636place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานโรคเรื้อรัง
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มวัยทำงาน 30 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มวัยทำงาน :

กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

โรคไม่ติดต่อเรื้อรังเป็นปัญหาสาธารณสุขที่สำคัญของประเทศ และมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง โดยเฉพาะโรคเบาหวาน ความดันโลหิตสูง หัวใจ หลอดเลือดสมอง มะเร็ง ฯลฯเป็นภัยเงียบที่ส่งผลกระทบทำให้เกิดภาวะโรคแทรกซ้อน พิการและตายก่อนวัยอันควร องค์การอนามัยโลก(WHO) เล็งเห็นว่ากลุ่มโรค NCDs นั้นถือเป็นปัญหาใหญ่ที่กำลังทวีความรุนแรงขึ้นเรื่อยๆ จากสถิติผู้เสียชีวิตในปี พ.ศ. 2552 พบว่าสาเหตุการเสียชีวิตของประชากรโลกทั้งหมด มีถึง 63% ที่เกิดจากกลุ่มโรค NCDs สำหรับประเทศไทยเอง สถิติล่าสุดพบว่ามีถึง 14 ล้านคนที่เป็นโรคในกลุ่มโรค NCDs และที่สำคัญยังถือเป็นสาเหตุหลักการเสียชีวิตของ ประชากรทั้งประเทศ โดยจากสถิติปี พ.ศ. 2552 พบว่า มีประชากรเสียชีวิตจากกลุ่มโรค NCDs มากกว่า 300,000 คน หรือคิดเป็น ร้อยละ73 ของการเสียชีวิตของประชากรไทยทั้งหมดในปี 2552 คิดเป็นมูลค่าความเสียหายทางเศรษฐกิจถึง 200,000 ล้านบาทต่อปี ทั้งสถิติการเสียชีวิตดังกล่าวยังแสดงว่าประเทศไทยมีผู้เสียชีวิตมากกว่าค่าเฉลี่ยของทั้งโลกและมีแนวโน้มจะสูงขึ้นเรื่อยๆ ในอนาคต
โรคเบาหวานเป็นปัญหา 1 ใน 5 ของปัญหาสาธารณสุขในอำเภอบาเจาะ จังหวัดนราธิวาส ในปี พ.ศ. 2561 – 2563 ข้อมูลจากการคัดกรองความเสี่ยงโรคเบาหวานในกลุ่มวัยทำงาน (ระบบคลังข้อมูลโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง จ.นราธิวาส ) อำเภอบาเจาะมีประชากรเสี่ยงต่อโรคเบาหวาน ร้อยละ 8.78 , 19.78 ,18.40 ผู้ป่วยรายใหม่จากกลุ่มเสี่ยงโรคเบาหวาน ร้อยละ1.59 , 0.84 และ 0.90 ผู้ป่วยที่ควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดได้ ร้อยละ11.68 , 12.78 และ 14.78 และผลจากการประเมินความรอบรู้ด้านสุขภาพและพฤติกรรมตามหลัก 3อ2ส ของกลุ่มวัยทำงาน อายุ 15 – 59 ปี จำนวน 100 คน ในปี 2562 พบว่า ความรู้ความเข้าใจทางสุขภาพอยู่ในระดับถูกต้องบ้าง คือรู้และเข้าใจใน 3อ2ส ถูกต้องเป็นส่วนน้อย ไม่เพียงพอต่อการปฏิบัติตนเพื่อสุขภาพที่ดี การเข้าถึงข้อมูลอยู่ในระดับพอใช้ คือสามารถแสวงหาข้อมูลและบริการสุขภาพได้บ้างแต่ยังไม่สามารถนำมาใช้ตัดสินใจให้ถูกต้องแม่นยำได้ การสื่อสารสุขภาพอยู่ในระดับที่ไม่ดี ยังมีปัญหาในการฟัง การอ่าน และโน้มน้าวให้ผู้อื่นเข้าใจได้ การจัดการตนเองอยู่ในระดับพอใช้ คือมีความสามารถในการจัดการเงื่อนไขด้านอารมณ์ได้บ้าง การตัดสินใจและเลือกปฏิบัติอยู่ในระดับดีมาก คือสามารถตัดสินใจที่ถูกต้องภายใต้ความสำคัญต่อการปฏิบัติตาม 3อ2ส ที่เกิดผลดีต่อสุขภาพตนเองและผู้อื่นอย่างเคร่งครัด โดยสรุประดับความรอบรู้ด้านสุขภาพโดยรวมอยู่ในระดับ พอใช้ และระดับพฤติกรรมสุขภาพตาม 3อ2ส อยู่ในระดับดี คือมีพฤติกรรมการปฏิบัติตนในการดุแลสุขภาพตนเองตาม 3อ2ส ได้อย่างถูกต้องสม่ำเสมอ  จากผลการวิเคราะห์ปัจจัยสาเหตุแห่งพฤติกรรม พบว่าปัจจัยนำมาจากการขาดความรู้ หรือไม่เข้าใจในเรื่องของโรคเบาหวาน ความรุนแรงของโรค การเลือกบริโภคอาหารที่ไม่ถูกต้องตามหลักโภชนาการ การไม่ออกกำลังกาย หรือไม่รู้วิธีการออกกำลังกายที่เหมาะสมกับตนเอง และการไม่รู้ว่าตนเองมีภาวะหรือพฤติกรรมเสี่ยงต่อการเกิดโรคเบาหวาน ปัจจัยเอื้อ เกิดจากสภาพแวดล้อมที่เอื้อต่อการบริโภคที่มากขึ้น ร้านอาหาร ร้านขายข้าวแกง ร้านสะดวกซื้อ ร้านขายเครื่องดื่ม น้ำชากาแฟที่มีเพิ่มขึ้น หาซื้อง่ายและมีราคาถูก จึงไม่ต้องเสียเวลามาประกอบอาหารรับประทานเอง และการไม่มีสถานที่ที่เอื้อต่อการออกกำลังกาย ปัจจัยเสริม งานเลี้ยง งานมาแกปูโละ งานบุญต่างๆ การโฆษณาจากสื่อต่างๆ เจ้าหน้าที่สาธารณสุขไม่สามารถเข้าถึงบริการสุขภาพของประชาชนได้ครอบคลุมทุกกลุ่มวัย
ดังนั้นจึงมีความจำเป็นที่ต้องเสริมสร้างความรอบรู้ด้านสุขภาพเพื่อให้คนในชุมชนมีพฤติกรรมสุขภาพตามหลัก 3อ2ส ที่ดีขึ้น โดยประชาชนจะต้องดูแลตนเองด้วยการมีพฤติกรรมที่ถูกต้อง รับประทานอาหาร ออกกำลังกายที่เหมาะสม และตรวจคัดกรองภาวะสุขภาพตามนโยบายกระทรวงสาธารณสุข ประชาชนในกลุ่มอายุ 35 ปีขึ้นไปควรได้รับการค้นหาความเสี่ยงทุกปี เพื่อค้นหากลุ่มเสี่ยงและผู้ที่มีปัจจัยเสี่ยง เสริมพลังความสามารถในการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพ เพื่อลดโอกาสการเกิดโรคเบาหวานและลดภาวะแทรกซ้อน ความพิการในกลุ่มป่วยโรคเบาหวาน

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 1.เพื่อให้ประชาชนเข้าถึงบริการด้านสุขภาพ

ร้อยละ 60 ของประชาชนอายุ 35 – 59 ปี ได้รับการคัดกรองโรคเบาหวาน / ความดันโลหิต
ร้อยละ 80 ของผู้ที่เป็นกลุ่มเสี่ยงเข้ารับการปรับเปลี่ยนพฤติกรรม

ร้อยละ 50 ของผู้เข้ารับการปรับเปลี่ยนมีพฤติกรรมสุขภาพ 3อ2ส ที่ดีขึ้น

0.00
2 2.เพื่อให้ภาคีเครือข่ายมีส่วนร่วมในกระบวนการปรับเปลี่ยนพฤติกรรม

มีแกนนำเข้าร่วมทุกกระบวนการ

0.00
3 3.เพื่อให้เป็นหมู่บ้านต้นแบบการปรับเปลี่ยนพฤติกรรม

หมู่บ้านผ่านเกณฑ์ประเมินหมู่บ้านแห่งการปรับเปลี่ยนพฤติกรรม ระดับดี

0.00
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
ลำดับกิจกรรมหลักงบประมาณเม.ย. 64พ.ค. 64มิ.ย. 64ก.ค. 64ส.ค. 64ก.ย. 64ต.ค. 64พ.ย. 64ธ.ค. 64ม.ค. 65ก.พ. 65มี.ค. 65เม.ย. 65พ.ค. 65มิ.ย. 65ก.ค. 65ส.ค. 65ก.ย. 65
1 จัดอบรมเชิงปฏิบัติการ ตามโปรแกรมปรับเปลี่ยนพฤติกรรม(1 เม.ย. 2565-30 ก.ย. 2565) 61,000.00                                    
รวม 61,000.00
1 จัดอบรมเชิงปฏิบัติการ ตามโปรแกรมปรับเปลี่ยนพฤติกรรม กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรมย่อย 30 61,000.00 1 60,000.00
1 เม.ย. 65 - 30 ก.ย. 65 จัดอบรมเชิงปฏิบัติการ ตามโปรแกรมปรับเปลี่ยนพฤติกรรม 30 61,000.00 60,000.00

1.คัดเลือก อสม.เพื่อเป็นแกนนำในการดำเนินงาน / กิจกรมและการบูรณาการข้อมูล/กิจกรรม

2.สำรวจข้อมูลผู้ที่มีอายุ 35 – 59 ปีในชุมชน

3.คัดกรองโรคเบาหวาน ความดันโลหิต ในกลุ่มประชาชนที่มีอายุ 35 – 59 ปี

4.คัดเลือกพื้นที่เพื่อเป็นพื้นที่นำร่องในการวางแผนการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพ

5.จัดกิจกรรมปรับเปลี่ยนตามโปรแกรมการปรับเปลี่ยน จำนวน 5 ครั้ง

6.เฝ้าระวังและประเมินภาวะสุขภาพ

7.สร้างการมีส่วนร่วมของชุมชน โดยเวทีแลกเปลี่ยนเรียนรู้ พร้อมกับการคืนข้อมูลลงสู่ชุมชน

8.ติดตาม สรุปและประเมินผลโครงการ

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ

1.ประชาชนกลุ่มเป้าหมาย ได้รับการบริการทางสุขภาพอย่างทั่วถึง และเท่าเทียม

2.ประชาชนกลุ่มเสี่ยง มีความรู้ และทัศนคติที่เหมาะสมในเรื่องการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพ

3.กลุ่มเป้าหมายปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพ มีการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพที่ดีขึ้น

stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 30 มี.ค. 2564 12:59 น.