กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการรณรงค์ ควบคุม ป้องกัน แก้ไขปัญหายาเสพติดในชุมชนและสถานศึกษา
รหัสโครงการ 64L5261-1-4
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 1 สนับสนุนการจัดบริการสาธารณสุขของ หน่วยบริการ/สถานบริการ/หน่วยงานสาธารณสุข
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ หน่วยงานสาธารณสุขอื่นของ อปท. เช่น กองสาธารณสุขของเทศบาล
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ เทศบาลตำบลท่าพระยา
วันที่อนุมัติ 18 มีนาคม 2564
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 1 พฤษภาคม 2564 - 31 กรกฎาคม 2564
กำหนดวันส่งรายงาน 31 สิงหาคม 2564
งบประมาณ 45,157.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นางสาวสุรพร โต๊ะสมัน
พี่เลี้ยงโครงการ
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลสะบ้าย้อย อำเภอสะบ้าย้อย จังหวัดสงขลา
ละติจูด-ลองจิจูด place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานสิ่งเสพติด , แผนงานกลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีความเสี่ยง
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

ปัญหายาเสพติดของประเทศไทยในปัจจุบันจัดได้ว่าอยู่ในขั้นวิกฤต ซึ่งสถานการณ์การแพร่ระบาด ของยาเสพติดได้ทวีความรุนแรงขึ้นอย่างรวดเร็ว เพราะมีการผลิตยาเสพติดทั้งภายในประเทศ และมีการลักลอบนำเข้ามาจากต่างประเทศมากมายหลายชนิด ซึ่งยาเสพติดที่มีการแพร่ระบาดมากที่สุดในประเทศไทยยังคงเป็นยาบ้า รองลงมา คือ ไอซ์และกัญชา ตามลำดับ ถึงแม้เจ้าหน้าที่ได้ปราบปรามจับกุมการค้ายาเสพติดอย่างเข้มงวดและจริงจัง แต่ก็ไม่ทำให้การแพร่ระบาดของยาเสพติดลดลง แต่กลับทำให้ผู้ผลิตได้พัฒนายาเสพติดให้ออกฤทธิ์ได้แรงขึ้นและการตรวจพบสารเสพติดในตัวผู้เสพได้ยากขึ้น ทำให้เจ้าหน้าที่จับกุมได้ยากยิ่งขึ้นจากสภาพปัญหาดังกล่าว ได้ส่งผลกระทบอย่างรุนแรงต่อความเจริญก้าวหน้าของประเทศเป็นอย่างยิ่ง โดยเฉพาะปัญหาทางด้านเศรษฐกิจและสังคมที่ทวีความรุนแรงยิ่งขึ้น หากละเลยไว้จะก่อให้เกิดวิกฤตการณ์ทางสังคมอย่างรุนแรงจนไม่สามารถแก้ไขได้ สถานการณ์ยาเสพติดจังหวัดสงขลา ปีงบประมาณ พ.ศ. 2562 จากข้อมูลสำนักงานคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามยาเสพติดจังหวัดสงขลา พบว่า ยาบ้ามีการแพร่ระบาดมากที่สุด ร้อยละ 57.34 รองลงมาเป็นพืชกระท่อม ร้อยละ 37.41 ,ไอซ์ ร้อยละ 2.15 และกัญชา ร้อยละ 2.05 และพบการแพร่ระบาดของยาเสพติดมากที่สุด ในเขตพื้นที่อำเภอสะบ้าย้อย คิดเป็นร้อยละ 29.79 ซึ่งในเขตพื้นที่อำเภอสะบ้าย้อย พบการแพร่ระบาดมากที่สุดคือ ยาบ้า ร้อยละ 64.40 รองลงมาเป็นพืชกระท่อม ร้อยละ 32.47 และไอซ์ ร้อยละ 1.07 ทั้งนี้ข้อมูลจากโรงพยาบาลสะบ้าย้อย พบว่าผู้ได้รับการบำบัดจากการใช้สารเสพติดในเขตพื้นที่ตำบลสะบ้าย้อย ปี 2560 - 2562 พบว่า มีจำนวน 198 ราย , 221 ราย และ 256 ราย ตามลำดับ สำหรับในเขตพื้นที่ตำบลสะบ้าย้อย พบว่า ผู้ที่ได้รับการบำบัด ปี 2560 - 2562 พบว่า มีจำนวน 38 ราย , 46 ราย และ 60 ราย ตามลำดับ และช่วงอายุผู้เข้ารับการบำบัด ส่วนใหญ่อายุระหว่าง 20-24 ปี ร้อยละ 25.30 รองลงมา อายุระหว่าง 25-29 ปี ร้อยละ 17.60 ทั้งนี้กลุ่มที่มีความเสี่ยงในการใช้ยาเสพติดและสารเสพติดมากที่สุด คือ กลุ่มนักเรียน/นักศึกษา ร้อยละ 52.79 รองลงมา คือ กลุ่มผู้ว่างงาน ร้อยละ 21.56 กลุ่มรับจ้างทั่วไป ร้อยละ 19.07 และกลุ่มเกษตรกร ร้อยละ 6.58 ตามลำดับ และจำนวนผู้เสพรายใหม่วัยเด็กและเยาวชนอายุไม่เกิน 25 ปี ในเขตพื้นที่เทศบาลตำบลท่าพระยา ปี 2560 - 2562 พบว่า มีจำนวน 14 ราย , 22 ราย และ 24 ราย ตามลำดับ ซึ่งจะเห็นได้ว่าแนวโน้มของผู้เสพรายใหม่ในกลุ่มเด็กและเยาวชนเพิ่มขึ้นทุกปี ดังนั้น จึงเห็นสมควรที่ทุกฝ่ายควรให้ความสำคัญกับปัญหาดังกล่าว พร้อมทั้งหามาตรการในการป้องกันและปราบปรามยาเสพติดให้บรรลุผลอย่างจริงจัง ทั้งในชุมชนตลอดจนสถานศึกษา เพื่อป้องกันการแพร่ระบาดของยาเสพติด ตลอดจนการเพิ่มมาตรการทางสังคม และหาแนวทางปฏิบัติในเชิงนโยบายของชุมชนหรือการสร้างข้อตกลงร่วมกันในการเฝ้าระวังยาเสพติดของคนในชุมชน งานสาธารณสุขและสิ่งแวดล้อม กองช่าง เทศบาลตำบลท่าพระยา ได้เล็งเห็นถึงปัญหายาเสพติดในเขตพื้นที่เทศบาลตำบลท่าพระยา ที่นับวันยิ่งมีความรุนแรงมากยิ่งขึ้น ทั้งนี้กลุ่มผู้ใช้สารเสพติดส่วนใหญ่เป็นกลุ่มประชากรที่เป็นกำลังสำคัญในการพัฒนาประเทศ เพื่อดำเนินงานการสร้างความเข้มแข็งในการป้องกันยาเสพติดในเขตพื้นที่เทศบาลตำบลท่าพระยา จึงได้จัดทำโครงการรณรงค์ ควบคุม ป้องกัน แก้ไขปัญหายาเสพติดในชุมชนและสถานศึกษา เพื่อสกัดกั้นผู้เสพรายใหม่ในวัยเด็กและเยาวชน และเพื่อลดอัตราการกลับมาเสพซ้ำของผู้ผ่านการบำบัดเมื่อกลับคืนสู่ชุมชน

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อสกัดกั้นผู้เสพรายใหม่ในชุมชนและสถานศึกษา

 

0.00
2 เพื่อลดอัตราการกลับมาเสพซ้ำของผู้ผ่านการบำบัดเมื่อคืนกลับสู่ชุมชน

 

0.00
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
hourglass_emptyไม่มีกลุ่มกิจกรรม กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรม 0 45,157.00 0 0.00
1 พ.ค. 64 - 31 ก.ค. 64 อบรมแกนนำอาสาสมัครและเครือข่ายที่ทำงานเฝ้าระวังยาเสพติดในชุมชนและสถานศึกษา 0 19,327.00 -
1 พ.ค. 64 - 31 ก.ค. 64 ประชุมชี้แจงผู้บริหารและครูผู้รับผิดชอบงานยาเสพติดของสถานศึกษาในเขตพื้นที่เทศบาลตำบลท่าพระยา 0 375.00 -
1 พ.ค. 64 - 31 ก.ค. 64 ประชุมแกนนำอาสาสมัครและเครือข่ายที่ทำงานเฝ้าระวังยาเสพติดในชุมชน พร้อมสร้างมาตรการและติดตามผลการดำเนินการตามมาตรการที่กำหนด 0 13,023.00 -
1 พ.ค. 64 - 31 ก.ค. 64 ประชุมแกนนำอาสาสมัครและเครือข่ายที่ทำงานเฝ้าระวังยาเสพติดในสถานศึกษา พร้อมสร้างมาตรการและติดตามผลการดำเนินการตามมาตรการที่กำหนด 0 8,382.00 -
1 พ.ค. 64 - 31 ก.ค. 64 รณรงค์ประชาสัมพันธ์เชิงรุกเกี่ยวกับการป้องกันและแก้ไขปัญหายาเสพติด 0 1,050.00 -
1 พ.ค. 64 - 31 ก.ค. 64 ติดตามดูแล ผู้เสพ/ผู้ติดสารเสพติดที่ผ่านการบำบัดรักษา 0 2,000.00 -
1 พ.ค. 64 - 31 ก.ค. 64 รายงานผลโครงการและแลกเปลี่ยนเรียนรู้ จำนวน 2 ครั้ง 0 1,000.00 -

กิจกรรมที่ 1 อบรมแกนนำอาสาสมัครและเครือข่ายที่ทำงานเฝ้าระวังยาเสพติดในชุมชนและสถานศึกษา 1.1 สร้างแกนนำอาสาสมัครและเครือข่ายที่ทำงานเฝ้าระวังในชุมชนและสถานศึกษา 2.1 อบรมแกนนำอาสาสมัครและเครือข่ายที่ทำงานเฝ้าระวังยาเสพติดในชุมชนและสถานศึกษา หลักสูตร 1 วัน กิจกรรมที่ 2 ประชุมแกนนำอาสาสมัครและเครือข่ายที่ทำงานเฝ้าระวังยาเสพติดในชุมชนและสถานศึกษา 2.1 ประชุมชี้แจงผู้บริหารและครูผู้รับผิดชอบงานยาเสพติดของโรงเรียนในเขตพื้นที่เทศบาลตำบล ท่าพระยา 2.2 ประชุมแกนนำอาสาสมัครและเครือข่ายที่ทำงานเฝ้าระวังยาเสพติด พร้อมสร้างมาตรการและติดตามผลการดำเนินการตามมาตรการที่กำหนด 2.2.1 ประชุมสร้างมาตรการเฝ้าระวังยาเสพติดในชุมชน จำนวน 9 หมู่บ้าน 2.2.2 ประชุมสร้างมาตรการเฝ้าระวังยาเสพติดในสถานศึกษา จำนวน 6 แห่ง 2.2.3 เผยแพร่มาตรการของแต่ละชุมชนและสถานศึกษา 2.2.4 ประชุมติดตามผลการดำเนินการตามมาตรการที่กำหนดในชุมชน จำนวน 9 หมู่บ้าน 2.2.5 ประชุมติดตามผลการดำเนินการตามมาตรการที่กำหนดในสถานศึกษา จำนวน 6 แห่ง 2.2.6 แกนนำรายงานผลการดำเนินงานเฝ้าระวังยาเสพติดในชุมชนและสถานศึกษา เดือนละ 1 ครั้ง จำนวน 2 เดือน กิจกรรมที่ 3 รณรงค์ประชาสัมพันธ์เชิงรุกเกี่ยวกับการป้องกันและแก้ไขปัญหายาเสพติด 3.1 จัดทำสื่อประชาสัมพันธ์ เกี่ยวกับการป้องกันและแก้ไขปัญหายาเสพติด


กิจกรรมที่ 4 ติดตามดูแล ผู้เสพ/ผู้ติดสารเสพติด ที่ผ่านการบำบัดรักษา 4.1 ขอรายชื่อผู้เสพ/ผู้ติดสารเสพติด ที่ผ่านการบำบัดรักษา จากศูนย์อำนวยการป้องกันและปราบปรามยาเสพติดอำเภอสะบ้าย้อย 4.2 ติดตามดูแลผู้เสพ/ผู้ติดสารเสพติดร่วมกับแกนนำในชุมชน พร้อมทั้งแลกเปลี่ยนประสบการณ์ ตลอดจนให้ความรู้และทักษะชีวิต ระหว่างผู้ติดตามและผู้เสพ/ผู้ติดสารเสพติด จำนวน 2 ครั้ง 4.3 ตรวจปัสสาวะหาสารเสพติดในร่างกายของผู้ที่ผ่านการบำบัด หากพบสารเสพติดส่งต่อเข้ารับการบำบัดรักษาแบบสมัครใจ กิจกรรมที่ 5 รายงานผลโครงการและแลกเปลี่ยนเรียนรู้ จำนวน 2 ครั้ง 5.1 จัดทำเอกสารนำเสนอโครงการ จำนวน 2 ครั้ง 5.2 จัดทำรูปเล่มรายงานผลโครงการเมื่อเสร็จโครงการ

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ
  1. จำนวนผู้ผ่านการบำบัดรายใหม่ลดลง
  2. ชุมชนและสถานศึกษาทุกแห่งมีแกนนำอาสาสมัครและเครือข่ายที่ทำงานเฝ้าระวังยาเสพติด
  3. แกนนำอาสาสมัครและเครือข่ายที่ทำงานเฝ้าระวังยาเสพติดในชุมชนและสถานศึกษามีความรู้เกี่ยวกับยาเสพติดเพิ่มขึ้น
  4. ชุมชนและสถานศึกษาทุกแห่ง มีมาตรการที่เกี่ยวข้องกับการเฝ้าระวังยาเสพติด
  5. ผู้เสพ/ผู้ติดสารเสพติดได้รับการติดตามดูแลอย่างต่อเนื่อง
  6. ผู้เสพ/ผู้ติดสารเสพติดไม่กลับไปเสพสารเสพติดซ้ำ
stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 30 มี.ค. 2564 14:09 น.