กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

directions_run

โครงการพัฒนาศักยภาพอาสาสมัครประจำครอบครัว (อสค.) เพือดูแลผู้ป่วยโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง (NCDs) และผู้สูงอายุที่อยู่ในภาวะพึ่งพิง ติดบ้าน ติดเตียง (LTC)

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการพัฒนาศักยภาพอาสาสมัครประจำครอบครัว (อสค.) เพือดูแลผู้ป่วยโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง (NCDs) และผู้สูงอายุที่อยู่ในภาวะพึ่งพิง ติดบ้าน ติดเตียง (LTC)
รหัสโครงการ
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 4 สนับสนุนการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ สำนักงานเลขาฯกองทุน
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ กองทุนหลักประกันสุขภาพองค์การบริหารส่วนตำบลตันหยงโป
วันที่อนุมัติ 26 กรกฎาคม 2560
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 1 กรกฎาคม 2560 - 30 กันยายน 2560
กำหนดวันส่งรายงาน
งบประมาณ 17,840.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นางสาวสุริยา มาลียัน
พี่เลี้ยงโครงการ
พื้นที่ดำเนินการ โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพ ตำบลตันหยงโป อำเภอเมืองสตูล จังหวัดสตูล
ละติจูด-ลองจิจูด 6.589,99.936place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

เป้าหมายของการพัฒนาระบบบริการสุขภาพ คือ สุขภาวะที่แท้จริงของประชาชนซึ่งเป็นสุขภาวะที่สมบูรณ์ทั้งทางกาย ใจ สังคมและจิตวิญญาณ ที่เชื่อมโยงสัมพันธ์กันอย่างบูรณาการ สุขภาวะ ดังกล่าวจะเกิดขึ้นเมื่อมีระบบสุขภาพที่พึงประสงค์ เป็นระบบสุขภาพเชิงรุกที่มุ่งสร้างเสริมสุขภาพของประชาชน ควบคู่กับหลักประกันที่อุ่นใจในการเข้าถึงบริการที่เอื้ออาทรและมีคุณภาพเมื่อยามที่จำเป็น โดยสังคมทุกส่วนและทุกระดับมีศักยภาพ มีส่วนร่วมในการสร้างและจัดระบบสุขภาพตามแนวคิดเศรษฐกิจพอเพียง เรียนรู้และใช้ประโยขน์อย่างรู้เท่านั้น ทั้งจากภูมิปัญญาไทยและภูมิปัญญาสากล เพื่อให้สังคมไทยดำรงอยู่อย่างพึ่งตนเองได้ ดังนั้นระบบสุขภาพจะต้องเป็นระบบที่เกี่ยวข้องกับสุขภาวะของประชาชน ในด้านพฤติกรรมสุขภาพ การเรียนรู้ เศรษกิจพอเพียง ประชาสังคม การเมือง กระบวนการทางสังคม ศาสนา รวมถึงระบบบริการสุขภาพซึ่งระบบบริการสุขภาพที่ดีมีความสำคัญอย่างยิ่งต่อการปรับสุขภาพไปสู่ความเป็นปกติหรือสุขภาพดี รัฐบาลได้ดำเนินการทุกวิถีทางในการที่จะทำให้ประชาชนทุกคนมีสุขภาพที่สมบูรณ์ทั้งร่างกายและจิตใจ จึงได้กำหนดนโยบายการสร้างหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้า เพื่อสร้างหลักประกันในการเข้าถึงบริการทางการแพทย์และสาธารณสุขที่ได้มาตรฐานแก่ประชาชนด้วยความเสมอภาคและเท่าเทียมกัน ดังนั้นภายใต้นโยบายดังกล่าวกระทรวงสาธารณสุขจึงได้กำหนดยุทธศาสตร์เพื่อสร้างความเข้มแข็งของชุมชน ภายใต้ยุทธศาสตร์ "รวมพลังสร้างสุขภาพ" เพื่อให้ประชาชนและหน่วยงานต่าง ๆ มีส่วนร่วมให้เกิด "การสร้างสุขภาพมากกว่าซ่อมสุขภาพ"
ปลัดกระทรวงสาธารณสุข (นพ.โสภณเมฆธน) มีนโยบายเน้นการส่งเสริมสุขภาพป้องกันโรคมากขึ้น จากเดิมที่กระทรวงสาธารณสุขอาจจะเน้นในเชิงรักษาอย่างเดียว โดยการสร้างความรู้ด้านสุขภาพให้คนไทยได้เรียนรู้ที่จะป้องกันดูแลตัวเอง ในเบื้องต้น และส่งต่อไปยังชุมชนรอบข้าง ด้วยการมีอาสาสมัครประจำครอบครัว (อสค.) เพื่อเพิ่มการรู้เท่าทันในด้านสุขภาพมากขึ้น โดยเฉพาะในบ้านที่มีผู้สูงอายุ บ้านที่มีผู้ป่วยโรคไม่ติดต่อเรื้อรังให้นำบุตรหลาน ญาติ สมาชิกในครอบครัวหรือผู้ดูแล มาเข้ารับการอบรมว่าควรจะดูแลอย่างไร คนวัยทำงานอย่างไรจะป้องกันโรคติดต่อเรื้อรังได้ หรือผู้สูงอายุจะทำอย่างไรให้มีสุขภาพแข็งแรง ดูแลตัวเองได้ โดยมีชุมชนเป็นตัวสนับสนุน อันเป็นการต่อยอดการดูแลสุขภาพจาก อสม. เข้าไปในครัวเรื่อน เพื่อให้ประชาชนมีความรู้และสามารถดูแลตนเองได้ พร้อมทั้งมีส่วนร่วมในการแก้ไขปัญหาของชุมชน โดยกำหนดเป้าหมายว่า ครอบครัวหนึ่งจำเป็นต้องมีอาสาสมัครประจำครอบครัว (อสค.) อย่างน้อย 1 คน ที่สามารถดูแลสุขภาพตนเองได้ ซึ่งจะทำให้ครอบครัวได้รับการถ่ายทอดความรู้สม่ำเสมอ ที่จะเชื่อมต่อและช่วยเสริมการดำเนินงานของ อสม. ได้เป็นอย่างดีกระทรวงสาธารณสุขมีความตั้งใจและความพยายามในการส่งเสริม สนับสนุน พัฒนาและสร้างการมีส่วนร่วมของคนในครอบครัวทั้งลูก หลาน ญาติทุกเพศทุกวัย ให้สามารถดูแลสุขภาพ คนในครอบครัวได้ด้วยตนเอง และมุ่งเน้นให้ทุกครอบครัวมีอย่างน้อย 1 คน เป้น อสค. ในการช่วยเหลือ คนในครอบครัวและผู้อื่นด้วยจิตเมตตา มีคุณธรรมจริยธรรม โดยไม่หวังสิ่งตอบแทนใด ๆ ไม่เรียกร้องสิ่งตอบแทนใดนอกเหนือจากทำเพื่อให้เพื่อนมนุษย์ได้มีความสุขและ อสค. ไม่ได้รับค่าตอบแทนใด ๆ ดังนั้นชมรมอาสาสมัครสาธารณสุข จึงได้ทำโครงการนี้ขึ้น เพื่อใช้แนวทางในการลดปัจจัยและพัฒนาสมาชิกในครอบครัวให้เป็นอาสาสมัครประจำครอบครัว (อสค.) เพื่อทำหน้าที่เป็นผู้ดูแลสุขภาพของคนในครอบครัวตนเอง อันเป็นการเชื่อมประสานและต่อยอดการดูแลสุขภาพจากชุมชนสู่ครัวเรือน บนหลักการสาธารณสุขมูลฐาน และความมั่นคงด้านสุขภาพที่ยั่งยืนและพึ่งตนเอง

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 1. เพื่อให้ครอบครัวได้รับการดูแลสุขภาพและถ่ายทอดความรู้สม่ำเสมอ

 

2 2. เพื่อให้คนในแต่ละครอบครัวทำหน้าที่ในการดูแลสุขภาพครอบครัวของตนเอง เนื่องจากคนในครอบครัวเป็นบุคคลที่ดีที่สุด เหมาะสมที่สุด

 

3 3. เพื่อให้แต่ละครอบครัวมี อสค. อย่างน้อย ๑ คน เป็นผู้ดูแลสุขภาพ ประสานและเชื่อมโยง ส่งต่อกับ อสม.

 

stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
  1. สำรวจกลุ่มเป้าหมายญาติและผู้ดูแลผู้สูงอายุ ผู้สูงอายุติดบ้านติดเตียง รวมทั้งกลุ่มผู้ป่วยโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง ที่สมัครเข้าร่วมโครงการ
  2. จัดทำทะเบียนกลุ่มเป้าหมาย
  3. เขียนโครงการเพื่ออนุมัติโครงการและจัดทำแผนการดำเนินงาน
  4. ติดประสานงานและติดต่อหน่วยงานเกี่ยวข้อง
  5. ประชาสัมพันธ์โครงการ
  6. เตรียมเอกสาร วัสดุและอุปกรณ์ในการดำเนินโครงการ
  7. จัดอบรมเชิงปฏิบัติการพัฒนาศักยภาพอาสาสมัครประจำครอบครัว (อสค.) ในผู้ดูแลผู้ป่วยโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง (NCDs) และผู้สูงอายุที่อยู่ในภาวะพึ่งพิง ติดบ้าน ติดเตียง (LTC)
  8. มอบประกาศนียบัตรแก่ผู้ผ่านการอบรมอาสาสมัครประจำครอบครัว (อสค.)
  9. สรุป วิเคราะห์ ประเมินผล และจัดทำรายงานผลการดำเนินงาน
stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ

อาสาสมัครประจำครอบครัว (อสค.) มีศักญภาพและเชื่อมโยงการดูแลสุขภาพของบุคคลและครอบครัวได้อย่างเหมาะสม และสามารถถ่ายทอดความรู้และให้การดูแลสุขภาพของสมาชิกในชุมชนและครอบครัวของตนเองได้อย่างยั้งยืน

stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 2 ส.ค. 2560 11:14 น.