กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการรณรงค์ควบคุมป้องกันโรคไข้เลือดออก
รหัสโครงการ 2564-L1494-2-07
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 2 สนับสนุนกิจกรรมสร้างเสริมสุขภาพ การป้องกันโรคของกลุ่มหรือองค์กรประชาชน/หน่วยงานอื่น
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ กลุ่มหรือองค์กรประชาชน
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ ชมรมอาสาสมัครสาธารณสุขโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านนางอ
วันที่อนุมัติ 8 มีนาคม 2564
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 8 มีนาคม 2564 - 30 กันยายน 2564
กำหนดวันส่งรายงาน 30 กันยายน 2564
งบประมาณ 48,180.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นายประคอง ท่าจีน
พี่เลี้ยงโครงการ
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลนาท่ามเหนือ อำเภอเมืองตรัง จังหวัดตรัง
ละติจูด-ลองจิจูด 7.652,99.613place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานกลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีความเสี่ยง
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
งวดวันที่งวดโครงการวันที่งวดรายงานงบประมาณ
(บาท)
จากวันที่ถึงวันที่จากวันที่ถึงวันที่
1 16 ก.ย. 2563 16 ก.ย. 2564 48,180.00
รวมงบประมาณ 48,180.00
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง 180 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง :

stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

โรคไข้เลือดออก เป็นโรคติดเชื้อไวรัสแดงกีที่มียุงลายเป็นพาหะนำโรค โรคนี้ได้กลายเป็นปัญหาสาธารณสุขในหลายประเทศทั่วโลกเนื่องจากโรคได้แพร่กระจายอย่างกว่างขวางและจำนวนผู้ป่วยเพิ่่มขึ้นอย่างมากใน 30 ปี ที่ผ่านมา มากกว่า100 ประเทศที่โรคนี้กลายเป็นโรคประจำถิ่น และโรคนี้ยังคุกคามต่อสุขภาพของประชากรโลกมากกว่าร้อยละ 40 (2500 ล้านคน) โดยเฉพาะอย่่างยิ่งจะพบมากในประเทศเขตร้อนและเขตอบอุ่นซึ่งโรคไข้เลือดออก เป็นโรคติดต่อ มีปัจจัยองค์ประกอบของการเกิดโรค ประกอบด้วย บุคคล เชื้อโรค พาหนะนำโรค และสิ่งแวดล้อม ซึ่งในการป้องกันควบคุมโรคติดต่อ จะต้องควบคุมปัจจัยดังกล่าว ไม่ให้เอื้อต่อการเกิดโรค เขตรับผิดชอบของรพ.สต.บ้านนางอมีจำนวนครัวเรือนทั้งหมด 1169 ครัวเรือน ประชากรทั้งหมด จำนวนทั้งสิ้น 3883 คน แยกเป็นชาย 1893 คน หญิง1990 คน ในปี 2563 (เดือนมกราคม - ตุลาคม 2563 ข้อมูลจาก รพ.สต.บ้านนางอ) พบผู้ป่วยไข้เลือดออกจำนวน 1 ราย ไข้เด็งกี่ จำนวน 10 ราย โรคไข้เลือดออกส่วนมากจะพบผู้ป่วยในช่วงเดือนมีนาคม - กันยายนของทุกปี) ซึ่งเป็นช่วงระหว่างปิดภาคเรืยนพอดี แต่เดิมระบาดวิทยาของโรคไข้เลือดออก จะพบในกลุ่มเด็กอายุระหว่าง 5-14 ปี) แต่ในปัจจุบันสามารถพบได้ทุกกลุ่มอายุและกระทรวงสาธารณสุข มีการสื่อสารและรณรงค์อย่างต่อเนื่องในการส่งเสริมให้ประชาชนมีพฤติกรรมการป้องกันโรคไข้เลือดออกที่พึงประสงค์ภายใต้มาตรการ "5 ป 1 ข1ท" โดย 5 ป คือ1) ปิดภาชนะน้ำกินน้ำใช้ให้ มิดชิดหลังการตักใช้น้ำทุกครั้งเพื่อป้องกันยุงลายลงไปวางไข่ 2) เปลี่ยนน้ำในแจกันถังเก็บน้ำทุก 7 วัน เพื่อตัดวงจรลูกน้ำที่จะกลายเป็นยุง 3) ปล่อยปลากินลูกน้ำในภาชนะใส่น้ำถาวร 4) ปรับปรุงสิ่งแวดล้อมให้ปลอดโปร่ง โล่ง สะอาด ไม่เป็นที่เกาะพักของยุงลาย และ 5) ปฏิบัติเป็นประจำจนเป็นนิสัยพร้อมทั้งการเพิ่ม 1ข ขัดไข่ยุงลาย เนื่องจากยุงลายจะไข่เหนือระดับน้ำ 1-2 เซนติเมตร เมื่อมีน้ำมาเติมจนท่วมหลังไข่ก็จะฟักตัวเป็นลูกน้ำ แต่หากไม่มีน้ำมาเติมจนท่วมถึงก็จะแห้งติดผนังภาชนะอย่างนั้นได้นานเป็นปี และเมื่อมีน้ำมาท่วมเมื่อใด ไข่ก็พร้อมจะแตกตัวเป็นลูกน้ำ พร้อมทั้งเพิ่ม 1 ท1 คือ ทายากันยุง" ซึ่งออกฤทธิ์ได้ตั้งแต่ 6-8 ชั่วโมง ที่จะช่วยป้องกันโรคไข้เลือดออกได้อีกวิธีหนึ่ง   ดังนั้นชมรมอาสาสมัครสาธารณสุขโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านนางอ จึงได้จัดทำกิจกรรมโครงการรณรงค์ควบคุมป้องกันโรคไข้เลือดออกเพื่อให้การดำเนินการควบคุมและป้องกันโรคไข้เลือดออกภายในชุมชนเป็นไปอย่างต่อเนื่องสามารถหยุดการแพร่ระบาดของโรคไปยังวงกว้าง ป้องกันการสูญเสียที่อาจเกิดขึ้นในชีวิต และทรัพย์สินของประชาชนพร้อมทั้งสร้างความตระหนักให้กับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องและประชาชนในการร่วมกันป้องกันโรคไข้เลือดออกและทำลายแหล่งเพาะพันธุ์ลูกน้ำยุงลายซึ่งเป็นพาหนะนำโรคร่วมกับคนในชุมชน อีกทั้งการจัดสภาพแวดล้อมภายในชุมชนเพื่อเป็นการลดแหล่งเพาะพันธุ์ลูกน้ำยุงลาย เช่น การจัดกิจกรรมรณรงค์ (ฺBig cleaning day) โดยใช้มาตรการ 3 เก็บ+5 ส ทุกวันศุกร์ของสัปดาห์ในหมู่บ้าน โรงเรียน ศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 1. เพื่อลดจำนวนและอัตราป่วยด้วยโรคไข้เลือดออกในพืนที

จำนวนครัวเรือนได้รับการกำจัดแหล่งเพาะพันธุ์ลูกน้ำยุงลายครอบคลุมทุกครัวเรือน

80.00
2 เพื่อให้ชุมชนปลอดลูกน้ำยุงลาย

ชุมชนหรือครัวเรือนได้รับการควบคุมและป้องกันโรคไข้เลือดออกได้ทันท่วงทีในกรณีที่มีผู้ป่วยตามหลักรู้เร็ว รายงานเร็ว ควบคุมป้องกันโรคได้ทันท่วงที

80.00
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
ลำดับกิจกรรมหลักงบประมาณมี.ค. 64เม.ย. 64พ.ค. 64มิ.ย. 64ก.ค. 64ส.ค. 64ก.ย. 64
1 โครงการรณรงค์ควบคุมป้องกันโรคไข้เลือดออก(10 มิ.ย. 2564-23 ก.ค. 2564) 48,180.00              
รวม 48,180.00
1 โครงการรณรงค์ควบคุมป้องกันโรคไข้เลือดออก กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรมย่อย 180 48,180.00 6 48,180.00
16 ก.ย. 64 สำรวจบ้านและรณรงค์การป้องกันโรคไข้เลือดออกในพื้นที่ หมู่ที่ 10 30 750.00 750.00
16 ก.ย. 64 สำรวจบ้านและรณรงค์การป้องกันโรคไข้เลือดออกในพื้นที่ หมู่ที่ 7 30 750.00 750.00
16 ก.ย. 64 สำรวจบ้านและรณรงค์การป้องกันโรคไข้เลือดออกในพื้นที่ หมู่ที่ 1 30 44,430.00 44,430.00
16 ก.ย. 64 สำรวจบ้านและรณรงค์การป้องกันโรคไข้เลือดออกในพื้นที่ หมู่ที่ 11 30 750.00 750.00
16 ก.ย. 64 สำรวจบ้านและรณรงค์การป้องกันโรคไข้เลือดออกในพื้นที่ หมู่ที่ 12 30 750.00 750.00
16 ก.ย. 64 สำรวจบ้านและรณรงค์การป้องกันโรคไข้เลือดออกในพื้นที่ หมู่ที่ 13 30 750.00 750.00
  1. ประชุมชี้แจงอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้านในพื้นที่รับผิดชอบ เพื่อจัดทำโครงการฯ
  2. เขียนโครงการเพื่อเสนอคณะกรรมการกองทุนหลักประกันสุขภาพ เพื่อขออนุมัติเงินสนับสนุนโครงการ
  3. ประสานงานกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง รพ.สต.และอื่น ๆ ร่วมกันวางแผนดำเนินการ
  4. แจ้งผุ้นำชุมชน อาสาสมัคร (อสม.) และภาคีเครือข่ายผู้เกี่ยวข้องฯ
  5. จัดเตรียมวัสดุุ อุปกรณ์ในการดำเนินโครงการ
  6. ดำเนินการเประชาสัมพันธ์โรคไข้เลือดออกให้แกนนำประจำครอบครัวทุกหลังคาเรือน
  7. ให้สูขศึกษาประชาสัมพันธ์โรคไข้เลือดออก และขอความร่วมมือให้ประชาชนทำลายแหล่งเพาะพันธุ์และกำจัดลูกน้ำยุงลาย
  8. รณรงค์และทำลายแหล่งเพาะพันธุ์ลูกน้ำยุงลายในหมู่บ้าน จำนวน 6 หมู่บ้าน ได้แก่ หมู่ที่ 1 หมู่ที่ 7 หมู่ที่ 10 หมู่ที่ 11 หมู่ที่ 12 และหมุ่ที่ 13 โดยวิธีทางกายภาพ รณรงค์เคาะประตูบ้านในชุมชน พร้อมแจกแผ่นพับและร่วมกันดำเนินการทำลายแหล่งเพาะพันธุ์ยุงลาย ใช้สารเคมี ใส่สารเคมีทรายอะเบทในตุ่มน้ำใช้ในครัวเรือน โดย อสม.และพ่นสเปรย์กำจัดยุงลายในพื้นที่ที่เกิดโรคทันทีเมื่อมีการระบาดพร้อมทั้งแจกโลชั่นป้องกันยุงกัด ทางชีวิภาพ ส่งเสริมความรู้ให้แกนนำประจำครอบครัวในชุมชนเกี่ยวกับการปลูกพืชไล่ยุงเช่นตะไคร้หอมไล่ยุง การเลี้ยงปลากินลูกน้ำ เช่น ปลาหากนกยูง โ่ดยมีแผนงานดังนี้ หมู่ที่ 1 วันที่ 10 มิถุนายน 2564 หมู่ที่ 7 วันที่ 24 มิถุนายน 2564 หมู่ที่ 10 วันที่ 2 กรกฎาคม 2564 หมู่ที่ 11 วันที่ 9 กรกฏาคม 2564 หมู่ที่ 12 วันที่ 16 กรกกาคม 2564 หมู่ที่ 13 วันที่ 23 กรกฏาคม 2564
  9. แกนนำประจำครอบครัวสำรวจลูกน้ำยุงลายด้วยตัวเองทุกสัปดาห์ร้วมกับอาสาสมัครสาธารณสุขในเขตรับผิดชอบ
  10. ติดตามและประเมินความพึงพอใจการดำเนินกิจกรรม
stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ
  1. ทำให้ประชาชนเกิดพฤติกรรมในการทำลายแหล่งเพาะพันธุ์ยุงลายอย่างต่อเนื่องสม่ำเสมอ
  2. ประชาชนมีความรู้ ความเข้าใจมีความตระหนักและให้ความร่วมมือในเรื่องการควบคุมป้องกันโรคไข้เลือดออกอย่างเข้มแข็งและต่อเนื่อง ไม่มีแหล่งเพาะพันธุ์ยุงลายในพื้นที่และสามารถเฝ้าระวังและควบคุมโรคในพื้นที่ได้
stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 30 มี.ค. 2564 16:20 น.