กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการ ฟ ฟัน สวยจัง
รหัสโครงการ 64-L4140-1-4
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 1 สนับสนุนการจัดบริการสาธารณสุขของ หน่วยบริการ/สถานบริการ/หน่วยงานสาธารณสุข
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ หน่วยบริการหรือสถานบริการสาธารณสุข เช่น รพ.สต.
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ โรงพบาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลลำพะยา
วันที่อนุมัติ 24 มีนาคม 2564
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 31 มีนาคม 2564 - 30 กันยายน 2564
กำหนดวันส่งรายงาน 30 กันยายน 2564
งบประมาณ 38,400.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นางสาวทัศนียา สาเม๊าะ นักวิชาการสาธารณสุขชำนำญการ
พี่เลี้ยงโครงการ -
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลลำพะยา อำเภอเมืองยะลา จังหวัดยะลา
ละติจูด-ลองจิจูด 6.584,101.162place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานอนามัยแม่และเด็ก
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน 56 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน :

กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

งานทันตสาธารณสุขที่ได้ดำเนินงานในโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลส่วนใหญ่แล้วมักจะเป็นงานด้านรักษาทางทันตกรรมในผู้ป่วยทั่วไป ทุกกลุ่มอายุ มักจะเป็นการแก้ไขปัญหาโรคในช่องปากที่ปลายเหตุ การจะดูแลให้ประชาชนให้มีสุขภาพช่องปากที่จริงๆ นั้น ต้องเริมทั้งแต่ตั้งครรภ์ และต้องดูแลถึงที่บ้านไม่ใช่เฉพาะในสถานบริการเท่านั้น อาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้านหรือ อสม.ที่ชาวบ้านรู้จักดีนั้นนับว่าเป็นองค์กรที่มีความสำคัญในการดำเนินงานในชุมชน ดังจะเห็นได้จากปัจจุบันงานสาธารณสุขพื้นฐานต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นการดูแลควบคุมลูกน้ำยุงลายในชุมชน การชั่งน้ำหนักประเมินภาวะโภชนาการเด็ก 0 – 6 ปี การดูแลติดตามเยี่ยมหญิงตั้งครรภ์ การติดตามเยี่ยมดูแลหญิงหลังคลอด ตลอดจนผู้สูงอายุ และผู้ด้อยโอกาสในชุมชน ล้วนแล้วแต่เป็นงานที่ อสม.ต้องดำเนินการทั้งนั้น จะขาดก็แต่เพียงงานด้านทันตสาธารณสุขเท่านั้นที่ อสม.มีส่วนร่วมน้อยมาก หรือบางพื้นที่อาจจะไม่มีเลยด้วยซ้ำไป จากแนวความคิดดังกล่าวโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลลำพะยา จึงต้องการที่จะบูรณาการงานด้านทันตสาธารณสุขเข้าเป็นหนึ่งในภารกิจกรรมที่ อสม.ต้องทำ โดยการพัฒนาศักยภาพให้ อสม.มีความรู้ด้านทันตสาธารณสุข เพื่อที่จะสามมารถให้คำแนะนำ และตรวจสุขภาพช่องปากเบื้องต้นให้กับประชาชนในเขตรับผิดชอบของตนเองได้ พร้อมทั้งมีระบบรายงานให้สถานบริการทราบอย่างต่อเนื่องทุกเดือนเช่นเดียวกับรายงานอื่นๆ ของ อสม.และแม้กระทั่งการเป็นผู้ช่วยเจ้าหน้าที่ทันตสาธารณสุขในการออกปฏิบัติงานในชุมชนไม่ว่าจะเป็นการออกกตรวจสุขภาพช่องปากผู้สูงอายุ การตรวจสุขภาพช่องปากผู้ป่วยเบาหวาน การเยี่ยมบ้าน เป็นต้น ทั้งนี้เพื่อให้ประชาชนเกิดความพึงพอใจในการให้บริการด้านทันตกรรมทั้งเชิงรุกและเชิงรับ ตลอดจนเกิดเครือข่ายในการดูแลสุขภาพช่องปากประชาชน   และปัญหาด้านทันสุขภาพเป็นปัญหาสำคัญทีพบมากในเด็กนักเรียนประถมศึกษา เมื่อเทียบกับโรคอื่นๆ ที่ตรวจพบในกลุ่มเดี่ยวกันและปัญหาด้านทันสุขภาพนั้นนอกจากจะมีผลเสียโดยตรงต่อสุขภาพช่องปากของเด็กแล้วยังมีผลกระทบต่อการเรียนและพัฒนาการของเด็กนักเรียนประถมศึกษาอยู่ในช่วงอายุ 6-12 ปี ซึ่งเป็นวัยที่มีฟันแท้ขึ้นใหม่ๆ ลักษณะรูปร่างฟันมีหลุมร่องลึกทำให้เกิดโรคฟันผุได้ง่ายนอกจากอุปนิสัยของเด็กที่ขอบรับประทานอาหารของหวานตลอดจนมีข้อจำกัดในเรื่องความสามารถในการดูแลสุขภาพช่องปากด้วยตนเองล้วนเป็นสาเหตุที่ทำให้เกิดโรคในช่องปากได้ง่ายหากไม่ได้รับการดูแลเอาใจใส่ที่ดีพอ โรคในช่องปากเป็นโรคในช่องปาก เป็นโรคที่สามารถป้องกันและสามารถทำได้อย่างมีประสิทธิภาพ หากเริ่มต้นส่งเสริมตั้งแต่วัยเด็ก การฝึกฝนให้เด็กมีทันตสุขนิสัยที่ดี และการส่งเสริมและป้องกันรวมทั้งการบำบัดรักษาในระยะแรกของการเป็นโรคช่วยป้องกันและควบคุมโรคในช่องปากของเด็กได้ จากการตรวจสุขภาพช่องปากนักเรียนตามระบบเฝ้าระวังทันตสุขภาพในโรงเรียนประถมศึกษาในตำบลลำพะยาทั้ง 3 แห่ง ในปีงบประมาณ 2563 จำนวน 175 คน พบฟันผุ จำนวน 50 คน คิดเป็นร้อยละ 28.90 โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลลำพะยา เล็งเห็นความสำคัญของปัญหาดังกล่าว จึงได้จัดทำโครงการ ฟ ฟัน ส่วยจังนี้ขึ้นในนักเรียนประถมศึกษา เพื่อให้แกนนำนักเรียนมีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับสุขภาพใช่องปาก และนำความรู้ที่ได้ไปเผยแพร่ และเป็นตัวอย่างในการดูแลสุขภาพช่องปากแก่นักเรียนในสถานศึกษา

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 1. เพื่อให้ อสม.มีความรู้ในการดูแลสุขภาพช่องปากไม่น้อยกว่าร้อยละ 80

อสม.จำนวน 64 คน มีความรู้ไม่น้อยกว่าร้อยละ 80 จากการทำแบบสอบถามก่อน/หลักการอบรม

0.00
2 2. เพื่อให้แกนนำนักเรียนมีความรู้ในการดูแลสุขภาพช่องปากไม่น้อยกว่าร้อยละ 80

แกนน้ำนัำเรียน จำนวน56 คน มีความรู้ไม่น้้อยกว่าร้อยละ 80 จากการทำแบบสอบถามถ่อน/หลัการอบรม

0.00
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
hourglass_emptyไม่มีกลุ่มกิจกรรม กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรม 120 38,400.00 0 0.00
31 มี.ค. 64 - 30 ก.ย. 64 จัดอบรมเชิงปฏิบัติการในแกนนำนักเรียน จำนวน 56 คน 56 17,060.00 -
31 มี.ค. 64 - 30 ก.ย. 64 จัดอบรมเชิงปฏิบัติการใน อสม. 64 21,340.00 -

 

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ
  1. .เพื่อให้ อสม.มีความรู้ในการดูแลสุขภาพช่องปากไม่น้อยกว่าร้อยละ 80 2.เพื่อพัฒนาศักยภาพ อสม.ในการดำเนินงานทันตสาธารณสุขในชุมชน
  2. เพื่อให้ปัญหาสุขภาพช่องปากในชุมชนมีแนวโน้มดีขึ้น 4.เพื่อให้เด็กนักเรียนได้รับการส่งเสริมสุขภาพช่องปาก 5.เพื่อให้แกนนำนักเรียนมีความรู้ในการดูแลสุขภาพช่องปากไม่น้อยกว่าร้อยละ 80
stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 31 มี.ค. 2564 13:09 น.