กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการสร้างเสริมภูมิคุ้มกันโรคด้วยวัคซีนในเด็ก 0 - 5 ปี
รหัสโครงการ 64-L4140-1-6
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 1 สนับสนุนการจัดบริการสาธารณสุขของ หน่วยบริการ/สถานบริการ/หน่วยงานสาธารณสุข
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ หน่วยงานสาธารณสุขอื่นของ อปท. เช่น กองสาธารณสุขของเทศบาล
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลลำพะยา
วันที่อนุมัติ 24 มีนาคม 2564
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 31 มีนาคม 2564 - 30 กันยายน 2564
กำหนดวันส่งรายงาน 30 กันยายน 2564
งบประมาณ 24,500.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นางสาวอัสมาร์สะมะแฮ นักวิชาการสาธารณสุขชำนาญการ
พี่เลี้ยงโครงการ -
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลลำพะยา อำเภอเมืองยะลา จังหวัดยะลา
ละติจูด-ลองจิจูด 6.584,101.162place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานอนามัยแม่และเด็ก
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

กระทรวงสาธารณสุขได้กำหนดให้เด็กที่มีอายุ 0 – 5 ปี ต้องได้รับวัคซีนขั้นพื้นฐานครบตามเกณฑ์ เพื่อป้องกันโรคภัยไข้เจ็บที่สามารถป้องกันได้ด้วยวัคซีน แต่ปัจจุบันพบว่าในหลายพื้นที่ของจังหวัดยะลา โดยเฉพาะในเขตอำเภอชายแดน อัตราความครอบคลุมของการได้รับวัคซีนอยู่ในระดับต่ำเมื่อเทียบกับเกณฑ์ของกระทรวงสาธารณสุขซึ่งมีสาเหตุมาจากปัจจัยหลายประการ ทั้งทางด้านบริบทของพื้นที่ความเชื่อ ทัศนคติ ฯลฯ โดยพบว่าเด็กที่มีอายุ 0 – 5 ปี ที่ได้รับวัคซีนไม่ครบตามเกณฑ์ จะมีความเสี่ยงต่อการเกิดโรคติดต่อต่างๆ ได้มากกว่า เช่น โรคคอตีบ โรคไอกรน บาดทะยัก โปลิโอ ไข้สมองอักเสบ หัด เป็นต้น ซึ่งโรคเหล่านี้หากเกิดขึ้น ความรุนแรงและอัตราการเสียชีวิตค่อนข้างสูง โดยเฉพาะโรคหัด ซึ่งเป็นโรคที่กำลังระบาดในพื้นที่จังหวัดยะลา จากข้อมูลในช่วงวันที่ 1 กันยายน ถึง 6 ตุลาคม 2561 พบว่ามีผู้ป่วย จำนวน 341 ราย มีการระบาดกระจายทุกอำเภอ โดยอำเภอที่มีผู้ป่วยสูงสุดคืออำเภอยะหา จำนวน 93 ราย อำเภอบันนังสตา 54 ราย อำเภอธารโต 52 ราย อำเภอกรงปินัง และอำเภอกาบัง 39 ราย อำเภอเมืองยะลา 38 ราย อำเภอรามัน 21 ราย และอำเภอเบตง 5 ราย โดยพบมีผู้เสียชีวิตแล้ว 5 ราย แบ่งเป็นอำเภอกรงปินัง 3 ราย อำเภอบันนังสตา 1 ราย และอำเภอธารโต 1 ราย ตัวชี้วัดและเป้าหมายตามแผนยุทธศาสตร์สาธารณสุข จังหวัดยะลา ปี 2561 โดยกำหนดให้มีความครอบคลุมการให้บริการวัคซีนในเด็กอายุ 0 – 5 ปี ไม่น้อยกว่าร้อยละ 95 จากการดำเนินงานของโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลลำพะยา ที่ผ่านมา พบว่าการดำเนินงานในกิจกรรมงานสร้างเสริมภูมิคุ้มกันโรคมีประชากรเด็ก 0 – 5 ปี ปีงบประมาณ 2563 จำนวน 291 คน และวัคซีนตามเกณฑ์ จำนวน 286 คน ติดเป็นร้อยละ 98.28 ซึ่งยังไม่บรรลุตามเป้าหมายที่ตั้งไว้ คือ ความครอบคลุมการได้รับวัคซีนได้ร้อยละ 100 ซึ่งเป็นการดำเนินงานโดยเจ้าหน้าที่สาธารสุขแต่เพียงฝ่ายเดียว ไม่ได้รับความร่วมมือจากชุมชนเท่าที่ควรทำให้การดำเนินงานไม่บรรลุตามเป้าหมาย ดังนั้น การดำเนินงานในกิจกรรมงานสร้างเสริมภูมิคุ้มกันโรคจึงจำเป็นต้องได้รับความร่วมมือจากองค์กรชุมชน เช่น ผู้นำชุมชน ผู้นำศาสนา อสม.ในการติดตามเด็ก 0 – 5 ปี ให้ได้รับวัคซีนไม่ครบตามเกณฑ์ซึ่งเสี่ยงต่อการเกิดโรคติดต่อที่สามารถป้องกันได้ด้วยวัคซีนได้ ฉะนั้นความร่วมมือจากหลายๆ ฝ่ายทำให้ชุมชนห่างไกลจากโรคติดต่อต่างๆ ได้ โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลลำพะยา ได้จัดทำโครงการสร้างเสริมภูมิคุ้มกันโรคด้วยวัคซีนในเด็ก 0 – 5 ปี ประจำปี 2564 ขึ้น

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 1.เพื่อให้กลุ่มเป้าหมายได้รับวัคซีนครบถ้วนตามเกณฑ์อายุ

เด็กอายุ 0 - 5 ปี ได้รับวัคซีนครบถ้วนตามเกณฑ์อายุ

0.00
2 2.เพื่อลดอัตราการป่วยตายในโรคที่สามารถป้องกันด้วยวัคซีน

เด็กอายุ 0-5 ปี ลดอัตราการป่วยตายในโรคที่สามารถป้องกันด้วยวัคซีน

0.00
3 3.เพื่อให้เสริมสร้างความรู้และความเข้าใจแก่ผู้ปกครองเด็กในเรื่องการสร้างเสริมภกคร

ผู้ปกครองมี จำนวน 70 คน มีความรู้ไม่น้อยกว่าร้อยละ 80 จากการทำแบบสอบถามก่อนหลังการอบรม

0.00
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
hourglass_emptyไม่มีกลุ่มกิจกรรม กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรม 70 24,500.00 0 0.00
31 มี.ค. 64 - 30 ก.ย. 64 จัดอบรมให้ความในเรื่องวัคซีนในผู้ปกครองเด็ก อายุ 0 - 5 ปี 70 24,500.00 -

 

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ
  1. เด็กอายุ 0 – 5 ปี ได้รับการสร้างเสริมภูมิคุ้มกันโรคครบตามเกณฑ์
  2. เด็กอายุ 0 – 5 ปี ไม่เกิดโรคติดต่อสามารถป้องกันได้ด้วยวัคซีน
  3. ผู้ปกครองมีความรู้ความเข้าใจและตระหนักถึงความสำคัญของการได้รับวัคซีนเพิ่มขึ้น
stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 31 มี.ค. 2564 13:48 น.