กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการรวมพลังชุมชนป้องกันโรคไข้เลือดออก ปี 2564
รหัสโครงการ 64-L4140-1-7
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 1 สนับสนุนการจัดบริการสาธารณสุขของ หน่วยบริการ/สถานบริการ/หน่วยงานสาธารณสุข
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ หน่วยบริการหรือสถานบริการสาธารณสุข เช่น รพ.สต.
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลลำพะยา
วันที่อนุมัติ 24 มีนาคม 2564
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 31 มีนาคม 2564 - 30 กันยายน 2564
กำหนดวันส่งรายงาน 30 กันยายน 2564
งบประมาณ 17,800.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นายฟัดลี วาริษสกุล เจ้าพนักงานสาธารณสุขชำนาญงาน
พี่เลี้ยงโครงการ รพ.สต.บ้านทำเนียบ
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลลำพะยา อำเภอเมืองยะลา จังหวัดยะลา
ละติจูด-ลองจิจูด 6.584,101.162place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานเผชิญภัยพิบัติและโรคระบาด
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มวัยทำงาน 80 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มวัยทำงาน :

กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

โรคไข้เลือดออกเป็นปัญหาสาธารณสุขของไทยตลอดมา เพราะโรคไข้เลือดออกเป็นโรคระบาดที่สร้างความสูญเสียทางด้านเศรษฐกิจของประเทศ พบว่าปัญหาโรคไข้เลือดออกส่วนมากจะพบผู้ป่วยในช่วงเดือนมกราคม – กันยายนทุกปี ปัญหาการแพร่ระบาดของโรคไข้เลือดออกที่มีอย่างต่อเนื่อง ทวีความรุนแรงและมีผู้ป่วยมากขึ้น จึงควรมีการดำเนินการป้องกัน และควบคุม ปรับเปลี่ยนให้สอดคล้องกับสถานการณ์ของโรคที่เปลี่ยนแปลงไป โดยเน้นให้ประชาชนเห็นความสำคัญ และถือเป็นภารกิจที่ต้องช่วยกันกระตุ้น และซักนำประชาชน องค์กร ชุมชน ตลอดจนเครือข่ายสุขภาพให้มีส่วนร่วมอย่างจริงจัง และต่อเนื่อง ดังนั้น ทางโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลลำพะยา จึงไดจัดทำกิจกรรมโครงการรวมพลังชุมชนป้องกันโรคไข้เลือดออก ปี 2564 เพื่อควบคุมและป้องกันการแพร่ระบาดของโรคในชุมขน ป้องกันโรคไข้เลือดออกล่วงหน้าให้ทันต่อสถานการณ์ที่เกิดโรค และดำเนินการต่อเนื่องเกิดประสิทธิภาพและประสิทธิผล เป็นการกระตุ้นให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องทั้งภาครัฐ เอกชนสถาบัน ต่างๆ โรงเรียน รวมทั้งประชาชนโดยทั่วไปได้ทราบ และเล็งเห็นความสำคัญของการป้องกันและควบคุมโรคไข้เลือดออก

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 1.เพื่อส่งเสริมให้ประชาชนมีความรู้ความเขาใจในการป้องกันตนเองจากโรคไข้เลือดออก

ประชาชน จำนวน 80 คน มีความรู้ไม่น้อยกว่าร้อยละ 80 จากการทำแบบสอบถามก่อน/หลัดอบรม

0.00
2 2.เพื่อส่งเสริมให้เกิดพฤติกรรมสุขภาพในการช่วยกันดูแลและลดการแพร่ระบาดของโรคไข้เลือดออกของประชาชน

ประชาชนสามารถป้องกนและควบคุมโรคด้วยตนเอง

0.00
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
hourglass_emptyไม่มีกลุ่มกิจกรรม กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรม 160 17,800.00 0 0.00
31 มี.ค. 64 - 30 ก.ย. 64 จัดอบรมให้ความรู้ในการป้องกันควบคุุมโรคไข้เลือดออก 80 9,500.00 -
31 มี.ค. 64 - 30 ก.ย. 64 เดินรณรงค์ปรับปรุงสิ่งแวดล้อมและสำรวจลูกน้ำยุงลายในชุมชนเพื่อป้องกันการเกิดโรคไข้เลือดออก 80 8,300.00 -

 

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ

1.ประชาชนมีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับโรคไข้เลือดออก และมีพฤติกรรมที่ถูกต้องเหมาะสมในการป้องกันไม่ให้เกิดโรคไข้เลือดออก 2. ประชาชน และองค์กรต่างๆ ในชุมชนมีความร่วมมือร่วมใจในการรณรงค์ปรับปรุงสิ่งแวดล้อมที่ออยู่อาศัย และสาถนที่ทำงานให้ปลอดลูกน้ำยุงลายอย่างสม่ำเสมอ 3.สามารถกำจัดแหล่งเพาะพันธุ์ลูกน้ำยุงลายในชุมชนโดยมีค่า HL,CL ไม่เกินร้อยละ 10 4.อัตราป่วยต่อโรคไข้เลือดออก ไม่เกิน 80 ต่อแสนประชากร

stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 31 มี.ค. 2564 14:36 น.