กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการเฝ้าระวัง ปรับเปลี่ยนวิถีชีวิต พิชิตโรคไม่ติดต่อ
รหัสโครงการ
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 2 สนับสนุนกิจกรรมสร้างเสริมสุขภาพ การป้องกันโรคของกลุ่มหรือองค์กรประชาชน/หน่วยงานอื่น
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ กลุ่มหรือองค์กรประชาชน
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ อาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน
วันที่อนุมัติ 17 มีนาคม 2565
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 1 เมษายน 2565 - 30 กันยายน 2565
กำหนดวันส่งรายงาน
งบประมาณ 30,820.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นางศุภวรรณ์ บุญละเอียด
พี่เลี้ยงโครงการ
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลบ่อทอง อำเภอหนองจิก จังหวัดปัตตานี
ละติจูด-ลองจิจูด 6.789,101.135place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานโรคเรื้อรัง
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

ปัจจุบันประเทศไทยได้เปลี่ยนแปลงไปอย่างรวดเร็ว ซึ่งมีผลกระทบมาจากกระแสการเปลี่ยนแปลงของสังคมโลกและการเปลี่ยนแปลงของประเทศไทยทั้งทางด้านการเมือง เศรษฐกิจ การแข่งขันทางการตลาด การสื่อสารและการคมนาคม รวมถึงการใช้เทคโนโลยีมากขึ้น ซึ่งการเปลี่ยนแปลงดังกล่าวมีผลกระทบต่อวิถีชีวิตและสุขภาพของประชาชนไทยเป็นอย่างมาก จะเห็นได้จากในอดีตปัญหาสุขภาพของประชาชนส่วนใหญ่เจ็บป่วยด้วยโรคติดเชื้อ แต่ในปัจจุบัน และในอนาคต ปัญหาสุขภาพจะมีผลกระทบมาจากสังคม สิ่งแวดล้อม และพฤติกรรมมากขึ้นตามลำดับ จะเห็นได้จากพฤติกรรมที่เป็นปัญหา เช่น พฤติกรรมการบริโภค พฤติกรรมการออกกำลังกาย พฤติกรรมความปลอดภัย การใช้ยาและสารเสพติด ปัญหาสุขภาพจิต เป็นต้น ดังนั้น การดำเนินการในการแก้ไขปัญหาสาธารณสุขของประเทศ จำเป็นจะต้องพัฒนาประชาชนให้มีองค์ความรู้ และทักษะที่จำเป็น และพัฒนาพฤติกรรมสุขภาพให้เหมาะสม ทั้งระดับบุคคลครอบครัว และชุมชนครอบคลุม กลุ่มประชากรเป้าหมาย เพื่อให้ประชาชนสามารถส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคให้แก่ตนเอง ครอบครัว และชุมชนได้ ซึ่งการดำเนินงานดังกล่าวจำเป็นจะต้องส่งเสริมพัฒนาพฤติกรรมสุขภาพที่สำคัญๆ ที่ก่อให้เกิดปัญหาสาธารณสุขของประเทศ นโยบายสร้างหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้า ช่วยคนไทยห่างไกลโรค มีเป้าหมายที่สำคัญ คือ การสร้างสุขภาพที่ดีให้กับประชาชน และลดปัญหาค่าใช้จ่ายด้านสุขภาพในระยะยาว โดยใช้กระบวนการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรค ซึ่งเป็นหัวใจสำคัญของการขับเคลื่อนให้การดำเนินงานช่วยคนไทยห่างไกลโรคให้บรรลุผลสำเร็จ โดยการส่งเสริมให้มีความรู้ และทักษะในการดูแลตนเอง และการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพ โดยใช้หลัก ๓อ.๒ส. เป็นหลัก เพื่อให้มีสุขภาวะในทุกด้าน           สภาพปัญหา : อุบัติการณ์การเกิดโรคความดันโลหิตสูง และเบาหวานรายใหม่มีแนวโน้มเพื่มขึ้น โดยมีปัจจัยเชิงบวกด้านพฤติกรรมในประชากรที่ดีขึ้นทั้งในกลุ่มวัยผู้ใหญ่ และวัยรุ่น คือ ความชุกของการสูบบุหรี่ การดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ที่มีแนวโน้มเพิ่มขึ้นอย่างไรก็ตามปัจจัยเสี่ยงเชิงลบที่คุกคามสุขภาพคือการบริโภคอาหารที่ไม่สมดุล และการมีกิจกรรมทางกายที่ไม่เพียงพออาจกล่าวได้ว่าการลดลงของอุบัติการณ์เบาหวาน และภาวะความดันโลหิตสูง เป็นผลจากมาตรการการควบคุม ป้องกันโรคและปัจจัยเสี่ยงของภาวะความดันโลหิตสูงที่ดำเนินการมาอย่างต่อเนื่อง ถึงแม้ว่าในบางช่วงเวลาความชุกของปัจจัยเสี่ยงมีแนวโน้มเพิ่มขึ้น
          จากข้อมูลประชากรของชุมชนบ้านโคกกอ ปี 2561 พบว่ามีประชากรทั้งสิ้นที่อายุ 35 ขึ้นไปมี จำนวน 446 คน ส่วนใหญ่เป็นประชากรวัยทำงาน วิเคราะห์ข้อมูลสุขภาพของบ้านโคกกอ พบว่า ประชากรในบ้านโคกกอเป็นกลุ่มเสียงและเสียงสูงมาตั้งแต่ปี 2561 เป็นจำนวนกลุ่มเสียงความดันโลหิตสูงจำนวน 68 คน และกลุ่มเสียงเบาหวานจำนวน 43 คน จากสถานการณ์ดังกล่าว จึงมีความจำเป็นต้องมีแนวทางการดำเนินงานอย่างต่อเนื่องและมีประสิทธิภาพ เพื่อแก้ไขปัญหา เฝ้าระวัง ติดตามกลุ่มเสี่ยง เพื่อลดปัจจัยเสี่ยงต่างๆ ป้องกันไม่ให้ป่วยสามารถเข้าถึงที่ตั้งจุดคัดกรองประจำหมู่บ้านทุกๆสัปดาห์ของวันพฤหัสบดี ทางด้านอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน จึงได้จัดทำโครงการ เพื่อให้กลุ่มเป้าหมายได้รับความรู้และสามารถนำไปปฏิบัติ เพื่อให้มีคุณภาพชีวิตที่ดีต่อไป

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 1.เพื่อให้ประชาชนมีความฉลาดรอบรู้ในการดูแลสุขภาพและมีพฤติกรรมสุขภาพที่ดี

 

0.00
2 2.เพื่อลดอัตราการป่วยด้วยโรคความดันโลหิตสูงและเบาหวานน้อยลง

 

0.00
3 3.เพื่อกลุ่มเสียงและกลุ่มเสียงสูงสามารถควบคุมปรับเปลี่ยนวิถีชีวิต ห่างโรคไม่ติดต่อ

 

0.00
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม

1.ประชุมคณะกรรมและอสม.การดำเนินงานและผู้เกี่ยวข้อง เพื่อรับทราบสถานการณ์ ร่วมกันวิเคราะห์ปัญหา และวางแผนการดำเนินงาน ประกอบด้วย การจัดตั้งจุดเฝ้าระวังภัยโรคเรื้อรังในชุมชน การติดตามเยี่ยมผู้ป่วย การจัดตั้ง จุดการเรียนรู้โรคเรื้อรังประจำหมู่บ้านการสร้างคุณค่า/แรงจูงใจ 2. วิเคราะห์ข้อมูลแยกประเภทกลุ่มเสี่ยงและกลุ่มเสียงสูงตามแนวทางปิงปองจราจรชีวิต 7 สี 3. สรุปและประเมินผล กิจกรรมที่ 1 1. คัดกรองประเมินสุขภาพ โดยอสม. ชั่งน้ำหนัก วัดสวนสูง วัดรอบเอว วัคความดัน เจาะน้ำตาล 2.ให้คำแนะนำและความรู้ในการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมที่มีความเสียง 3. วิเคราะห์ข้อมูลแยกประเภทกลุ่มเสี่ยงและกลุ่มเสียงสูงตามแนวทางปิงปองจราจรชีวิต 7 สี ขาว เขียว เขียวเข้ม เหลือง ส้ม แดง ดำ
4.ติดตามดูแลเยี่ยมบ้านโดย อสม. เฝ้าระวังพฤติกรรมสุขภาพของผู้ป่วยกลุ่มสีเขียมเข้ม ส้ม สีแดง และติดตามเยี่ยมผู้ป่วยกลุ่ม ผู้ป่วยหลังจากนอนพักรักษาตัวในโรงพยาบาล สีดำ กิจกรรมที่ 2
1.สรุปผลโดยจัดเวทีแลกเปลี่ยนเรียนรู้
2.จัดทำสื่อเผยแพร่ประชาสัมพันธ์ความรู้เรื่องโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง 3. จัดทำป้ายไวนิลโครงการฯ , ป้ายไวนิลปิงปองจราจรชีวิต 7 สี และทำสื่อประชาสัมพันธ์พร้อมกับให้ความรู้การปรับเปลี่ยนพฤติกรรม สุขภาพ และเรื่องการป้องกันโรคไม่ติดต่อเรื้อรังในชุมชน โดยใช้ปิงปองจราจรชีวิต 7 สี ภายใต้แนวคิด “ปรับเปลี่ยนวิถีชีวิต พิชิตโรคเรื้อรัง

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ
  1. ประขาขนได้ความรู้ใหม่ในการป้องกันโรคความดันโลหิตสูงและโรคเบาหวาน
  2. ประชาชนได้ความรู้เรื่องการปรับแปลี่ยนพฤติกรรมในการบริโภคอาหารอย่างถูกหลักอนามัย และ ห่าวไกลโรคเบาหวานหรือความดันโลหิตสูงสามารถควบคุมโรคได้เอง
  3. เกิดมาตรการทางชุมชนในการดูแลสุขภาพจะมีจัดงานเลี้ยงต่างๆชุมชนจะ ไม่มีน้ำหวาน ไม่มีการแพคข้าวใส่ถุงพาสติก
stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 1 เม.ย. 2564 11:44 น.