กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการป้องกันโรคด้วยวัคซีน ต.ปากล่อ อ.โคกโพธิ์ จ.ปัตตานี
รหัสโครงการ 64-PKL-01-07
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 2 สนับสนุนกิจกรรมสร้างเสริมสุขภาพ การป้องกันโรคของกลุ่มหรือองค์กรประชาชน/หน่วยงานอื่น
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ กลุ่มหรือองค์กรประชาชน
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ ชมรม อสม.ตำบลปากล่อ
วันที่อนุมัติ 15 มีนาคม 2564
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 7 มิถุนายน 2564 - 6 สิงหาคม 2564
กำหนดวันส่งรายงาน 20 กันยายน 2564
งบประมาณ 33,800.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นางยารีย๊ะ หะยีสะอะ
พี่เลี้ยงโครงการ -
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลปากล่อ อำเภอโคกโพธิ์ จังหวัดปัตตานี
ละติจูด-ลองจิจูด 6.62,101.187place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานอนามัยแม่และเด็ก
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
งวดวันที่งวดโครงการวันที่งวดรายงานงบประมาณ
(บาท)
จากวันที่ถึงวันที่จากวันที่ถึงวันที่
1 1 เม.ย. 2564 17 ก.ย. 2564 33,800.00
รวมงบประมาณ 33,800.00
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน 140 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน :

กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

หลักการและเหตุผล (ระบุที่มาของการทำโครงการ) การสร้างเสริมภูมิคุ้มกันโรคโดยการให้วัคซีนในเด็กแรกเกิดถึง 5 ปี เป็นสิ่งจำเป็นและสำคัญ เพราะเด็กเป็นทรัพยากรที่มีคุณค่าในอนาคต เด็กที่มีคุณภาพ คือ เด็กที่มีการเจริญเติบโตสมบูรณ์ทั้งทางด้านร่างกาย สติปัญญา จิตใจ อารมณ์ และสังคม มีพัฒนาการสมวัย หากเด็กไม่ได้รับวัคซีนหรือได้รับแต่ไม่ครบตามเกณฑ์ จะส่งผลทำให้เด็กมีโอกาสเจ็บป่วยด้วยโรคที่สามารถป้องกันได้ด้วยวัคซีน ซึ่งอาจเป็นโรคที่มีความรุนแรงถึงชีวิตได้ บิดา มารดาและครอบครัว คือ บุคคลที่มีบทบาทสำคัญของการเลี้ยงดูเด็ก หากบุคคลดังกล่าวยังขาดความรู้ความเข้าใจ ไม่เห็นความสำคัญในการแจ้งเกิดก่อนเข้าสู่ระบบนัดวัคซีน ก็จะส่งผลต่ออนาคตเด็ก ภาวะสุขภาพของเด็ก กรมควบคุมโรคติดต่อกระทรวงสาธารณสุข ได้กำหนดให้เด็กในแต่ละช่วงอายุควรได้รับวัคซีนครบตามเกณฑ์ โดยความครอบคลุมของการได้รับวัคซีนในแต่ละช่วงอายุ ต้องได้รับวัคซีนตามเกณฑ์มาตรฐานร้อยละ 90 จากผลการปฏิบัติงานสร้างเสริมภูมิคุ้มกันโรคในเขตตำบลปากล่อ ยังมีความครอบคลุมของการได้รับวัคซีนต่ำกว่าเกณฑ์ที่กำหนด จากโครงการที่ผ่านมาสามารถวิเคราะห์สาเหตุที่เด็กได้รับวัคซีนไม่ครบตามเกณฑ์ เนื่องจากผู้ปกครองขาดความตระหนัก มีความเชื่อที่ผิด เกิดความเบื่อหน่ายในการนำเด็กมาฉีดวัคซีน จึงทำให้เข็มต่อไปช้าไปด้วย ผู้ปกครองกลัวว่าเด็กจะเป็นไข้มีลดน้อยลง ผู้ปกครองไม่มีเวลาเนื่องจากต้องทำงาน เด็กไม่อยู่ในพื้นที่และไม่สามารถติดตามให้เด็กมารับบริการฉีดวัคซีนได้ ย้ายที่อยู่ตามผู้ปกครอง เป็นต้น โดยเฉพาะหมู่ที่ 2,7,8 มีพื้นที่กว้างและประชากรมีจำนวนมาก มากกว่าหมู่บ้านอื่น ๆ จึงมีผลกระทบทำให้เด็กไม่มารับบริการฉีดวัคซีนตามเกณฑ์จากปัญหาดังกล่าว ดังนั้น จึงจำเป็นอย่างยิ่ง ที่อาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้านต้องต้องร่วมกับเจ้าหน้าที่สาสุขฯจักต้องให้ความรู้ คำแนะนำ แก่บิดา มารดา และครอบครัว ก่อนคลอด ให้เห็นถึงความสำคัญของการแจ้งเกิด ขั้นตอนการเข้าระบบนัดวัคซีนกับคุณแม่มือใหม่ การได้รับวัคซีนตามวัย จากเหตุการณ์ดังกล่าวข้างต้น อสม.ตำบลปากล่อ ได้เล็งเห็นปัญหา จึงมีความจำเป็นยิ่งที่ต้องให้ความรู้ปรับทัศนะคติความเข้าใจของผู้ปกครองเด็กแรกเกิดถึง 5 ปี ในพื้นที่เพื่อให้นำบุตรหลานมา เพื่อให้ได้รับวัคซีนให้ครบตามเกณฑ์ เพื่อลดอัตราการไม่ได้แจ้งเกิด การป่วยเป็นโรคติดต่อที่ป้องกันได้ด้วยวัคซีนต่อไป

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ
  1. เด็ก 0- 5 ปี ได้รับวัคซีนขั้นพื้นฐานตามเกณฑ์อายุ
  2. อัตราป่วยด้วยโรคที่สามารถป้องกันได้ด้วยวัคซีนลดลง
  3. ชุมชนมีความตระหนักในการแจ้งเกิดตามเกณฑ์และทราบถึงบทบาทในการทำงานด้านการสร้างเสริมภูมิคุ้มกันโรค
stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 1 เม.ย. 2564 15:28 น.