กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการส่งเสริมป้องกันโรคหัวใจและหลอดเลือดในกลุ่มเสี่ยง
รหัสโครงการ 64-L1488-2-11
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 2 สนับสนุนกิจกรรมสร้างเสริมสุขภาพ การป้องกันโรคของกลุ่มหรือองค์กรประชาชน/หน่วยงานอื่น
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ กลุ่มหรือองค์กรประชาชน
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ
วันที่อนุมัติ 16 มีนาคม 2564
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 1 เมษายน 2564 - 30 กันยายน 2564
กำหนดวันส่งรายงาน
งบประมาณ 18,250.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ ชมรมอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้านโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านหนองเจ็ดบาท
พี่เลี้ยงโครงการ
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลแหลมสอม อำเภอปะเหลียน จังหวัดตรัง
ละติจูด-ลองจิจูด 7.287,99.763place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานกลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีความเสี่ยง
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง 127 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง :

stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

อัมพาต หรือ โรคหลอดเลือดสมอง โรคหัวใจขาดเลือดและ โรคเบาหวาน เป็นปัญหาสาธารณสุขที่สำคัญระดับโลก องค์การอัมพาตโลก รายงานว่า โรคหลอดเลือดสมองเป็นสาเหตุการเสียชีวิตอันดับ 2 ของโลก มีจำนวนผู้ป่วยด้วยโรคหลอดเลือดสมองทั่วโลก 17 ล้านคน และเสียชีวิตจากโรคหลอดเลือดสมอง จำนวน 6.5 ล้านคน สำหรับในประเทศไทย โรคหลอดเลือดสมองเป็นสาเหตุของโรคที่ก่อให้เกิดความสูญเสียอันเนื่องมาจากการตายก่อนวัยอันควรสูงเป็นอันดับต้นๆ รองลงมาจะเป็นโรคหัวใจขาดเลือดและ โรคเบาหวาน จะเห็นได้ว่าอัตราตายด้วยโรคหลอดเลือดสมอง โรคหัวใจขาดเลือดและ โรคเบาหวาน นั้นเพิ่มขึ้นทุกปี และเป็นภัยที่กำลังคุกคามประชากรทั่วโลกรวมถึงประเทศไทย ทั้งนี้เพราะโรคหลอดเลือดสมอง โรคหัวใจขาดเลือดและ โรคเบาหวาน เป็นสาเหตุการเสียชีวิตอันดับต้นๆ และยังเป็นโรคที่สามารถเกิดได้กับประชากรทุกคนและทุกวัย ผู้ที่รอดชีวิตจากโรคนี้จะได้รับผลกระทบทั้งทางด้านร่างกาย จิตใจ และสังคม ผู้ป่วยบางรายเกิดความพิการกลายเป็นภาระให้กับคนในครอบครัว ทำให้เกิดความสูญเสียทางเศรษฐกิจ
      ซึ่งจากการคัดกรองโรคความดันโลหิตสูงและโรคเบาหวานประชาชนกลุ่มเสี่ยงอายุ 35 ปีขึ้นไป ในพื้นที่ของโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านหนองเจ็ดบาท จำนวน 5 หมู่บ้าน ปีงบประมาณ 2563  ประชาชนอายุ 35 ปีขึ้นไป จำนวน 799 คน พบว่ามีกลุ่มเสี่ยงสูงต่อโรคความดันโลหิตสูง จำนวน 76 คน คิดเป็นร้อยละ 9.57  ผู้สงสัยป่วยใหม่โรคความดันโลหิต จำนวน 27 คน คิดเป็นร้อยละ 3.40 ปีงบประมาณ 2564 ประชาชนอายุ 35 ปีขึ้นไปจำนวน 808 คน พบว่ามีกลุ่มเสี่ยงสูงต่อโรคความดันโลหิตสูง จำนวน 67 คน คิดเป็นร้อยละ8.45 ผู้สงสัยป่วยใหม่โรคความดันโลหิตสูง จำนวน 60 คน คิดเป็นร้อยละ 7.57 นโยบายกระทรวงสาธารณสุขได้กำหนดบทบาทให้เจ้าหน้าที่ได้ให้ข้อมูลความรู้เกี่ยวกับปัจจัยเสี่ยงสำคัญของโรคหลอดเลือดสมองและ โรคหัวใจขาดเลือด การสังเกตสัญญาณเตือนของโรค แนวทางการดูแลกลุ่มเสี่ยงสูงโรคความดันโลหิตสูง การมารับบริการเมื่อพบอาการของโรค และการปรับเปลี่ยนพฤติกรรม และในชุมชนนั้นได้เน้นให้อาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน(อสม.) ได้มีการติดตามวัดความดันโลหิตด้วยตนเอง วันละ 2 ครั้ง ในช่วงเช้าหลังตื่นนอนและก่อนนอน เป็นระยะติดต่อกัน 7 วัน ซึ่งจำเป็นต้องใช้วัสดุอุปกรณ์ ได้แก่ เครื่องวัดความดันโลหิตแต่จากการสำรวจวัสดุอุปกรณ์เครื่องวัดความดันโลหิต ปรากฏว่าเครื่องวัดความดันโลหิตของโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านหนองเจ็ดบาทมีจำนวน 2 เครื่องซึ่งใช้ประจำที่ รพ.สต. ทำให้ชมรมอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้านโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านหนองเจ็ดบาท จึงมีความจำเป็นต้องมีการซื้อเครื่องวัดความดันโลหิตให้พร้อมใช้ในทุกหมู่บ้าน  เพื่อให้เกิดการหมุนเวียนที่เพียงพอและได้ค่าการตรวจวัดที่เที่ยงตรง จากความสำคัญดังกล่าวทางชมรมอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้านโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านหนองเจ็ดบาท จึงได้จัดโครงการส่งเสริมป้องกันโรคหัวใจและหลอดเลือดในกลุ่มเสี่ยง เพื่อเฝ้าระวังป้องกันการเกิดโรคความดันโลหิตสูงในกลุ่มเสี่ยง กลุ่มสงสัยจะเป็นผู้ป่วยรายใหม่ กลุ่มผู้ป่วยเดิมและกลุ่มป่วยใหม่ เพื่อป้องกันภาวะแทรกซ้อนและโรคดังกล่าวข้างต้น โดยการสอนและวัดความดันโลหิตที่บ้านด้วยตนเองและ อาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน (อสม.)

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 1. เพื่อให้กลุ่มเสี่ยงและผู้สงสัยป่วยโรคความดันโลหิตสูง ได้รับการติดตามวัดความดันโลหิตซ้ำภายหลัง ได้รับคำแนะนำ/ปรับเปลี่ยนพฤติกรรม 2. เพื่อเป็นการยืนยันผลการคัดกรอง และได้รับการส่งต่อเพื่อวินิจฉัยผู้ป่วยความดันโลหิตสูงรายใหม่จากกลุ่มสงสัยป่วย และได้รับการดูแลรักษาตั้งแต่ระยะเริ่มต้น 3. เพื่อประเมินโอกาสเสี่ยงต่อโรคหัวใจและหลอดเลือดอดในกลุ่มผู้สงสัยป่วยใหม่ความดันโลหิตสูง 4. เพื่อให้บริการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมลดความเสี่ยงต่อการเกิดโรคหัวใจและหลอดเลือด

1.  กลุ่มเสี่ยงและผู้สงสัยป่วยโรคความดันโลหิตสูง ได้รับการติดตามวัดความดันโลหิตซ้ำภายหลัง ได้รับคำแนะนำ/ปรับเปลี่ยนพฤติกรรมลดความเสี่ยงต่อการเกิดโรคหัวใจและหลอดเลือด     2. ส่งต่อเพื่อวินิจฉัยผู้ป่วยความดันโลหิตสูงรายใหม่จากกลุ่มสงสัยป่วย และได้รับการดูแลรักษาตั้งแต่ระยะเริ่มต้น
    3. กลุ่มผู้สงสัยป่วยใหม่ความดันโลหิตสูงได้รับการประเมินโอกาสเสี่ยงต่อโรคหัวใจและหลอดเลือด

127.00
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
hourglass_emptyไม่มีกลุ่มกิจกรรม กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรม 127 18,250.00 1 18,250.00
1 เม.ย. 64 - 30 ก.ย. 64 1. ประชุมชี้แจงเตรียมความพร้อมแนวทางการดำเนินงาน - รายชื่อประชาชนกลุ่มเสี่ยงที่สงสัยจะเป็นผู้ป่วยรายใหม่ กลุ่มผู้ป่วยเดิมและกลุ่มป่วยใหม่ - สำรวจวัสดุและอุปกรณ์พร้อมสำหรับที่จะใช้ดำเนินงาน ได้แก่ เครื่องวัดความดันโลหิต เครื่องชั่งน้ำหนัก สายวัด 127 18,250.00 18,250.00
  1. ประชุมชี้แจงแนวทางการดำเนินงาน
  2. เตรียมรายชื่อประชาชนกลุ่มเสี่ยงที่สงสัยจะเป็นผู้ป่วยรายใหม่ กลุ่มผู้ป่วยเดิมและกลุ่มป่วยใหม่
  3. เตรียมรายชื่อประชาชนกลุ่มเสี่ยงโรคเบาหวานและความดันโลหิตสูงจากการคัดกรองในปี 2564
  4. สำรวจวัสดุและอุปกรณ์สำหรับที่จะใช้ดำเนินงาน ได้แก่ เครื่องวัดความดันโลหิต เครื่องชั่งน้ำหนัก สายวัดรอบเอว
  5. จัดเตรียมวัสดุและอุปกรณ์สำหรับที่จะใช้ดำเนินงาน ได้แก่ เครื่องวัดความดันโลหิต
  6. ให้บริการวัดความดันโลหิตด้วยตนเอง/โดย อสม.ที่บ้าน ในกลุ่มเสี่ยงและผู้สงสัยป่วยใหม่ความดันโลหิตสูง
  7. ส่งต่อข้อมูลเพื่อประเมินความเสี่ยงต่อการเกิดโรคหัวใจและหลอดเลือด กลุ่มผู้สงสัยป่วยใหม่ความดันโลหิตสูง (ความดันโลหิต ≥140/90 mmHg) แก่ รพ.สต.บ้านหนองเจ็ดบาท
  8. ให้คำแนะการส่งเสริมสุขภาพ และปรับเปลี่ยนพฤติกรรมในการลดความเสี่ยงต่อการเกิดโรคหัวใจและหลอดเลือด
stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ
  1. เพื่อให้ประชาชนกลุ่มเสี่ยงโรคเบาหวานและความดันโลหิตสูง สามารถวัดความดันโลหิตได้ด้วยตนเองถูกต้อง และสามารถทราบถึงอาการและระดับความดันโลหิตที่ต้องมาก่อนนัด     2. ประชาชนที่มีความเสี่ยงสูงต่อการเป็นความดันโลหิตสูงได้รับการปรับเปลี่ยนพฤติกรรม และลดจำนวนผู้ป่วยรายใหม่โรคความดันโลหิตสูง     3. ผู้มีความเสี่ยงสูงต่อโรคความดันโลหิตสูงได้รับประเมินส่งต่อเพื่อการวินิจฉัยโรค และได้รับบริการการรักษาเร็ว ลดการเกิดภาวะแทรกซ้อน     4. ผู้มีความเสี่ยงต่อการเกิดโรคหัวใจและหลอดเลือดได้รับการปรับพฤติกรรมลดความเสี่ยงต่อการเกิดโรค ส่งผลให้อัตราตายด้วยโรคหัวใจและหลอดเลือดลดลง
stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 1 เม.ย. 2564 16:10 น.