กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการเด็กตะโละฟันสวยด้วยมือแม่
รหัสโครงการ 64-L2972-10(1)-5
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 1 สนับสนุนการจัดบริการสาธารณสุขของ หน่วยบริการ/สถานบริการ/หน่วยงานสาธารณสุข
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ หน่วยบริการหรือสถานบริการสาธารณสุข เช่น รพ.สต.
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลตะโละดือรามัน
วันที่อนุมัติ 25 กุมภาพันธ์ 2564
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 1 เมษายน 2564 - 30 กันยายน 2564
กำหนดวันส่งรายงาน
งบประมาณ 20,386.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นายซัมซี เจ๊ะแต
พี่เลี้ยงโครงการ
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลตะโละดือรามัน อำเภอกะพ้อ จังหวัดปัตตานี
ละติจูด-ลองจิจูด 6.603,101.554place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานอนามัยแม่และเด็ก
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

เด็กแรกเกิดถึงอายุ 5 ปี เป็นช่วงวัยที่สำคัญที่สุดของชีวิตทั้งด้านร่างกาย อารมณ์ สังคม บุคลิกภาพ ผู้ปกครองนับว่ามีบทบาทสำคัญอย่างยิ่งในการส่งเสริมสุขภาพ อีกทั้งมีอิทธิพลต่อการปลูกฝังทะศนคติและพฤติกรรมสุขภาพ ทั้งด้านการดูแลสุขภาพช่องปากตนเอง และการส่งเสริมพฤติกรรมเลือกรับประทานอาหารอีกด้วย อันจะส่งผลให้มีพฤติกรรมสุขภาพที่ดีในอนาคต     โรคฟันผุในเด็กเป็นปัญหาทันตสาธารณสุขในเด็กไทย ปัญหาฟันน้ำนมผุส่งผลเสียต่อการพัฒนาการและสุขภาพ ของเด็กทั้งในช่วงวัยเด็กและระยะยาว อาจมีผลกระทบ ไปขัดขวางการเจริญเติบโต พัฒนาการ และ สติปัญญา มีผลต่อการขึ้นของฟันแท้ทำให้ไม่สามารถขึ้นได้ตามปกติ จากคลังข้อมูลสุขภาพสำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุขในปี 2561 พบว่าอำเภอกะพ้อ จังหวัดปัตตานีมีเด็กอายุ 3 ปี ที่มีฟันน้ำนมผุ คิดเป็นร้อยละ 48.04 ส่วนตำบลตะโละดือรามันคิดเป็นร้อยละ 26.3 และร้อยละของเด็ก 3 ปี ที่ได้รับการคัดเคลือบฟลูออไรด์เฉพาะที่ของอำเภอกะพ้อเป็นร้อยละ 66.08 ส่วนในตำบลตะโละดือรามันเป็นร้อยละ 66.39 ถึงแม้อัตราฟันผุในฟันน้ำนมของเด็กอายุ 3 ปีในตำบลตะโละดือรามันจะต่ำกว่าอำเภอกะพ้อ และร้อยละการเคลือบฟลูออไรด์เฉพาะที่สูงกว่า แต่สถานการณ์ฟันผุในเด็กปฐมวัยถือว่าเป็นปัญหาที่ควรได้รับการดูแลป้องกันแก้ไขอยู่ อีกทั้งเป็นการสนับสนุนการแก้ปัญหาตามนโยบาย Pattani Smart Kitd เพื่อให้เด็กปัตตานีมีสุขภาพฟันที่ดี รูปร่างสมส่วน พัฒนาการสมวัย       จากการศึกษาของกรมอนามัยเรื่องความสัมพันธ์ของฟันผุกับภาวะโภชนาการในเด็กอายุ 3 ปี พบว่า เด็กที่มีฟันผุมากกว่า 4 ซึ่งมีโอกาสเป็นเด็กน้ำหนักน้อยกว่าเกณฑ์ 1.4 เท่าของเด็กที่ไม่มีฟันผุ และมีโอกาสเตี้ยกว่าเกณฑ์ 1.5 เท่าของเด็กที่ไม่มีฟันผุ เพราะฉะนั้นอาหารและโภชนาการในช่วงต้นของชีวิตมีบทบาทสำคัญต่อสุขภาพในระยะยาว โดยเฉพาะผลต่อการพัฒนาการและสติปัญหาของเด็ก การป้องกันและแก้ไขปัญหาฟันผุในเด็กปฐมวัยจึงเป็นช่องทางหนึ่งในการลดปัจจัยเสี่ยงด้านโภชนาการของเด็กอย่างบูรณาการ       ดังนั้นเพื่อสร้างเสริมสุขภาพของเด็กในตำบลตะโละดือรามัน จึงได้บูรณาการด้านการส่งเสริมสุขภาพช่องปาก และงานด้านโภชนาการโดยกระตุ้นให้มีการจัดกิจกรรมสร้างรอยยิ้มด้วยมือแม่ ซึ่งมีรูปแบบกิจกรรมมุ่งเน้นให้ผู้ปกครองและผู้ดูแลเด็กมีความรู้และทักษะในการดูแลสุขภาพช่องปากของเด็ก รวมถึงภาวะโภชนาการที่เหมาะสม และมีการติดตามอย่างใกล้ชิดด้วยความร่วมมือของอสม. กลุ่มงานทันตกรรมเล็งเห็นโอกาสในการบูรณาการ และส่งเสริมพฤติกรรม

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ

 

stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 2 เม.ย. 2564 10:46 น.