กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการอสม.ตะโละโตะและห์ร่วมใจป้องกัยภัยโรคไข้เลือดออก
รหัสโครงการ 64-L2972-10(2)-8
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 2 สนับสนุนกิจกรรมสร้างเสริมสุขภาพ การป้องกันโรคของกลุ่มหรือองค์กรประชาชน/หน่วยงานอื่น
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ กลุ่มหรือองค์กรประชาชน
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ อาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้านตะโละโตะและห์
วันที่อนุมัติ 25 กุมภาพันธ์ 2564
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 1 เมษายน 2564 - 30 กันยายน 2564
กำหนดวันส่งรายงาน
งบประมาณ 5,000.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นางนาดียะ ยูโซะ
พี่เลี้ยงโครงการ
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลตะโละดือรามัน อำเภอกะพ้อ จังหวัดปัตตานี
ละติจูด-ลองจิจูด 6.603,101.554place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานเผชิญภัยพิบัติและโรคระบาด
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

โรคไข้เลือดออกนับเป็นปัญหาสาธารณสุขไทยตลอดมา เพราะไข้เลือดออกเป็นโรคติดต่อที่สร้างความสูญเสียชีวิตและค่าใช้จ่ายในการรักษาพยาบาลและความสูญเสียทางด้านเศรษฐกิจของประเทศ ทั้งที่ทุกฝ่ายได้ช่วยกันรณรงค์ป้องกันและควบคุมมาโดยตลอด และได้รับความร่วมมือจากหน่วยงานต่างๆ ทั้งภาครัฐและเอกชนพบว่าปัญหาโรคไข้เลือดออกไม่ได้ลดลงมากนัก และยังคงเป็นปัญหาสำคัญในระดับประเทศเรื่อยมา เขตชุมชนตำบลตะโละดือรามัน มีจำนวนหลังคาเรือน ทั้งหมด 596 หลังคาเรือน ประชากรทั้งหมด จำนวน 2427 คน ในปี 2563 (เดือนมกราคม-กันยายน 2563 ข้อมูลจากโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลตะโละดือรามัน) พบผู้ป่วยไข้เลือดออก จำนวน 7 ราย โรคไข้เลือดออกส่วนมากจะพบผู้ป่วยในช่วง เดือนมีนาคม - กันยายน ของทุกปีซึ่งเป็นช่วงระหว่างปิดภาคเรียนพอดี และชีวนิสัยของยุงชอบออกหากินเวลากลางวันจึงสันนิษฐานได้ว่าการแพร่เชื้อและการกระจายโรค จะเกิดขึ้นได้ทั้งชุมชน ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กและโรงเรียน การควบคุมโรคจะต้องอาศัยความร่วมมือทั้งจาก ชุมชน โรงเรียน เทศบาล โรงพยาบาลและหน่วยงานอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง ถือเป็นภารกิจที่ต้องช่วยกัน กระตุ้นและชักนำให้ประชาชน องค์กรชุมชน ตลอดจนเครือข่ายช่วยสุขภาพให้มีส่วนร่วมอย่างจริงจังและต่อเนื่องโรคไข้เลือดออกสามารถป้องกันได้โดยการให้ประชาชนร่วมมือกันทำความสะอาด ปรับปรุงสภาพแวดล้อมของบ้านและชุมชน โดยนำมาตรการป้องกันดรคไข้เลอดออก 5 ป 1 ข มาใช้ได้แก่ 1.ปิด ภาชนะกักเก็บน้ำ 2.เปลี่ยนแปลงถ่ายน้ำ ทุก 7 วัน เช่น แจกันดอกไม้ ถังเก็บน้ำสำหรับอาบ 3.ปล่อยปลาหางนกยูง หรือปลากินลูกน้ำในอ่างบัว หรือที่กักเก็บน้ำที่ไม่มีฝาปิด 4.ปรับปรุง สิ่งแวดล้อมไม่ให้มีน้ำจังในที่ต่างๆ 5.ปฏิบัติการดังกล่าวข้างต้นเป็นประจำทุกสัปดาห์ และในช่วงฤดูร้อนต่อช่วงฤดูฝนต้องเพิ่ม 1 ข คือ ขัดภาชนะที่เคยใช้กักเก็บน้ำก่อนมารองรับน้ำครั้งใหม่   ดังนั้น อสม.บ้านบีติง จึงได้จัดทำโครงการอสม.ร่วมใจป้องกันภัยโรคไข้เลือดออก ประจำปี 2564 เพื่อควบคุมและป้องกันการแพร่ระบาดของโรคในชุมชนมิให้มีการแพร่ระบาดของโรคไข้เลือดออกไปในวงกว้าง ป้องกันโรคไข้เลือดออกล่วงหน้าให้ทันต่อสถานการณ์ที่เกิดโรคและดำนเนินการอย่างต่อเนื่องเกิดประสิทธิภาพและประสิทธิพล เป็นการกระตุ้นให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องกับภาครัฐ เอกชนสถาบันต่างๆ โรงเรียน รวมทั้งประชาชนโดยทั่วไปได้ทราบและเล็งเห็นความสำคัญของการป้องกันของการป้องกันและควบคุมและควบคุมโรคไข้เลือดออก โดยการทำลายแหล่งเพาะพันธ์ลูกน้ำยุงลาย ซึ่งเป็นพาหะนำโรคและร่วมกับชุมชน บริหารจัดการสิ่งแสดล้อม เพื่อไม่ให้เป็นแหล่งเพาะพันธ์ลูกน้ำยุงลาย เช่น จัดกิจกรรม Big Cleaning Day ส่งผลให้ปประชาชนมีชีวิตความเป็นอยู่ที่ปลอดภัยจากโรคไข้เลือดออกดีขึ้น

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 1.เพื่อเผยแพร่ความรู้ความเข้าใจ เกี่ยวกับโรคไข้เลือดออกให้บุคคล ครอบครัว ชุมชน ให้มีศักยภาพในการช่วยกันดูแล และลดการแพร่ระบาดของโรคไข้เลือดออก

ประชาชนมีส่วนร่วมในกิจกรรมที่มีประโยชน์ต่อชุมชน

0.00
2 2.เพื่อให้ชุมชนปราศจากโรคไข้เลือดออก

โรคไข้เลือดออกลดลงร้อยละ 50 ในปี 2564

0.00
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม

ขั้นเตรียมการ 1.ประสานกับหน่วยงานสาธารณสุขในพื้นที่ เพื่อนำข้อมูลสถานการณ์โรคมาจัดทำโครงการ 2.ประชุมชี้แจงผู้เกี่ยวข้อง และกำหนดวัน เวลาและสถานที่ในการดำเนินการ 3.ทำโครงการเสนอคณะกรรมการกองทุนหลักประกันสุขภาพตำบลตะโละดือรามัน เพื่อขอสนับสนุนฯ 4.จัดเตรียมวัสดุ อุปกรณ์ในการดำเนินโครงการ 5.ดำเนินงานกิจกรรมตามโครงการ ดังนี้ -รณรงค์ภายในชุมชนให้ตระหนักถึงการควบคุม ป้องกัน โรคไข้เลือดออก -อบรมให้ความรู้แก่เด็กนักเรียน ประชาชน โดยเจ้าหน้าที่สาธารณสุขให้ความรู้เรื่องโรคไข้เลือดออก -อสม.และอสม.น้อย ออกสำรวจและทำลายแหล่งเพาะพันธ์ยุงลาย และประเมินค่า HI,CI ในชุมชน โรงเรียน มัสยิด -ประสานเจ้าหน้าที่เทศบาลพ่นหมอกควันโรงเรียนทุกแห่ง ก่อนเปิดเทอมและหลังเปิดเทอม 6.สรุปผลโครงการและรายงานผลการดำเนินงาน

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ

ประชาชนมีความรู้ ความเข้าใจ เกี่ยวกับโรคไข้เลือดออก ในการป้องกัน และควบคุมดรคไข้เลือดออก และอัตราป่วยลดลง และไม่มีผู้ป่วยด้วยดรคไข้เลือดออก ปหล่งเพาะพันธ์ยุงลาย และกำจัดลูกน้ำยุงลาย

stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 2 เม.ย. 2564 11:28 น.