กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการรณรงค์สำรวจบ้านสะอาด ปลอดลูกน้ำยุงลาย ตำบลยาบี ปีงบประมาณ 2564
รหัสโครงการ 64-L3070-1-8
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 1 สนับสนุนการจัดบริการสาธารณสุขของ หน่วยบริการ/สถานบริการ/หน่วยงานสาธารณสุข
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ หน่วยบริการหรือสถานบริการสาธารณสุข เช่น รพ.สต.
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลยาบี
วันที่อนุมัติ 17 ธันวาคม 2563
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 1 มกราคม 2564 - 30 กันยายน 2564
กำหนดวันส่งรายงาน 29 ตุลาคม 2564
งบประมาณ 67,800.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นางสาวปราณี สาเเล๊ะมะ
พี่เลี้ยงโครงการ นายมะรอกี เวาะเลง
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลยาบี อำเภอหนองจิก จังหวัดปัตตานี
ละติจูด-ลองจิจูด 6.782,101.246place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานเผชิญภัยพิบัติและโรคระบาด
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง 4180 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง :

stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

โรคไข้เลือดออกเป็นปัญหาสำคัญทางด้านสาธารณสุขและเป็นปัญหาซึ่งปัจจุบันมีแนวโน้มของการเกิดโรคสูงขึ้น ในอดีตที่ผ่านมากลุ่มผู้ป่วยส่วนใหญ่ประมาณร้อยละ 70-75 เป็นผู้ป่วยในกลุ่มอายุ 5- 14 ปี ซึ่งเป็นกลุ่มเด็กวัยเรียนและการเกิดโรคมักจะระบาดในช่วงฤดูฝน สำหรับสถานการณ์โรคระบาดของไข้เลือดออกในจังหวัดปัตตานี ปี พ.ศ.2563 มีจำนวนผู้ป่วย ทั้งสิ้นจำนวน 537 ราย คิดเป็นอัตราป่วย 86.39 ต่อประชากรแสนคน มีผู้เสียชีวิต 1 ราย อัตราตายต่อประชากรแสนคน เท่ากับ 0.16 อัตราป่วยตายเท่ากับร้อยละ 0.19 พบผู้ป่วยเพศหญิงมากกว่าเพศชาย โดยพบเพศหญิง 270 ราย เพศชาย 267 ราย กลุ่มอายุที่พบสูงสุดคือ กลุ่มอายุ 5-9 ปี คิดเป็นอัตราป่วย 189.73 ต่อประชากรแสนคน รองลงมาคือ กลุ่มอายุ 10-14 ปี คิดเป็นอัตราป่วย 159.78 ต่อประชากรแสนคน ตามลำดับ อาชีพที่มีจำนวนผู้ป่วยสูงสุด คือ นักเรียน จำนวนผู้ป่วย 333 ราย รองลงมา นปค. 73 ราย ,อาชีพรับจ้าง 69 ราย ,อาชีพเกษตร 16 ราย , อาชีพงานบ้าน 15 ราย , อาชีพทหาร/ตำรวจ 13 ราย, อาชีพค้าขาย 7 ราย ,อาชีพอื่นๆ 4 ราย ,อาชีพบุคลากรสาธารณสุข 2 ราย ,อาชีพครู 2 ราย , อาชีพราชการ 2 ราย และอาชีพนักบวช 1 ราย ตามลำดับในปี 2563 อำเภอหนองจิก มีจำนวนผู้ป่วย จำนวน 57 ราย พบว่ามีอัตราการป่วย 55.43 ต่อประชากรแสนคน มีผู้เสียชีวิต 1 ราย คิดเป็นอัตราตาย 43.65 ต่อประชากรแสนคน (รพ.สต.โคกโตนด มีเสียชีวิต 1 ราย)
สถานการณ์ข้อมูลโรคไข้เลือดออกในพื้นที่ตำบลยาบี ตั้งแต่ปี พ.ศ.2559 – พ.ศ.2563 พบว่า ปี 2559 มีผู้ป่วยไข้เลือดออกทั้งหมด 3 ราย คิดเป็นอัตราป่วย ร้อยละ 73.42 ต่อแสนประชากร ,ปี 2560 จำนวนผู้ป่วย 3 ราย คิดเป็นอัตราป่วย ร้อยละ 73.21 ต่อแสนประชากร ,ปี 2561 จำนวน 0 ราย คิดเป็นอัตราป่วย ร้อยละ 0.00 ต่อแสนประชากร , ปี 2562 ผู้ป่วย 3 ราย คิดเป็นอัตราป่วย ร้อยละ 81.57 ต่อแสนประชากร และปี 2563 จำนวน 3 ราย คิดเป็นอัตราป่วย ร้อยละ 11.77 ต่อแสนประชากร ตามลำดับ ถ้าเทียบกับค่ามัธยฐาน 5 ปี ย้อนหลัง เป้าหมายผู้ป่วยโรคไข้เลือดออกต้องไม่เกิน 2 ราย/ปี คิดเป็นอัตราป่วย ร้อยละ 73.31 ต่อแสนประชากร ทำให้มีแนวโน้มผู้ป่วยเพิ่มขึ้น
    จากปีที่ผ่านมาที่ได้ดำเนินงานโครงการโรคไข้เลือดออก ปี 2563 ในตำบลยาบี จากการลงไปประเมินบ้านสะอาดปราศจากลูกน้ำยุงลาย พบว่า ประชาชนยังมีพฤติกรรมและยังขาดความตระหนักในเรื่องวิธีการป้องกันตนเอง เช่น นอนไม่กางมุ้ง ไม่ทายากันยุง ไม่ใช้ยาจุดกันยุง ฯลฯ การกำจัดแหล่งเพาะพันธุ์ลูกน้ำยุงลายตามครัวเรือน เช่น ไม่มีการจัดการเรื่องขยะตามครัวเรือน บางบ้านมีการคัดแยกขยะตามครัวเรือนแต่ยังไม่ถูกต้อง บางบ้านทิ้งขยะตามริมถนนและริมคลอง เนื่องจากไม่มีที่ทิ้งขยะ ฯลฯ ซึ่งปัญหาเหล่านี้ส่งผลทำให้เกิดโรคไข้เลือดออกในชุมชนตำบลยาบีได้ ในช่วงฤดูฝนบางพื้นที่ก็อาจจะมีน้ำขัง ซึ่งทำให้เป็นแหล่งเพาะพันธุ์ลูกน้ำยุงลายได้ แต่อย่างไรก็ตามในภาคใต้มักจะมีฝนตกมากในช่วงปลายปี (พฤศจิกายน - ธันวาคม) จึงมีโอกาสที่จะเกิดการระบาดในช่วงปลายปีแล้วต่อเนื่องไปยังต้นปีของปีถัดไป ดังนั้นโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลยาบี อำเภอหนองจิก จังหวัดปัตตานี ได้เล็งเห็นถึงความสำคัญของปัญหาโรคไข้เลือดออกที่ส่งผลกระทบต่อสุขภาพและฐานะทางเศรษฐกิจของประชาชนในพื้นที่ จึงได้จัดทำโครงการรณรงค์สำรวจบ้านสะอาด ปลอดลูกน้ำยุงลาย ตำบลยาบี ปีงบประมาณ ๒๕๖๔ ขึ้น โดยมีการดำเนินงาน 2 กิจกรรม คือ กิจกรรมที่ 1 ประชุมชี้แจงรายละเอียดการดำเนินงานโครงการ แก่ทีมงานที่จะลงประเมินบ้านสะอาดปลอดลูกน้ำยุงลายในชุมชนและในโรงเรียน (นำร่องหมู่ 1) และกิจกรรมที่ 2 กิจกรรมสำรวจควบคุมและทำลายแหล่งเพาะพันธุ์ลูกน้ำยุงลาย พร้อมแจกทรายอะเบท เพื่อลดอัตราการป่วยด้วยโรคไข้เลือดออกของประชาชน ,เพื่อลดดัชนีลูกน้ำยุงลายค่า HI และค่า CI ในชุมชน โดยได้รับงบประมาณสนับสนุนจากกองทุนหลักประกันสุขภาพตำบลยาบี

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 1.เพื่อลดอัตราป่วยด้วยโรคไข้เลือดออกในชุมชน

1.เพื่อลดอัตราป่วยด้วยโรคไข้เลือดออกในชุมชน

100.00
2 2.เพื่อลดดัชนีลูกน้ำยุงลายค่า HI และค่า CI ในชุมชนไม่เกินร้อยละ 15

2.เพื่อลดดัชนีลูกน้ำยุงลายค่า HI และค่า CI ในชุมชนไม่เกินร้อยละ 15

100.00
3 3.เพื่อให้ประชาชนเกิดพฤติกรรมในการกำจัดขยะและทำลายแหล่งเพาะพันธุ์ยุงลายตามครัวเรือนของตนเองอย่างต่อเนื่องและสม่ำเสมอ

3.จำนวนครัวเรือนที่มีการจัดการเรื่องขยะ ร้อยละ 80 4.จำนวนครัวเรือนที่มีการคัดแยกขยะถูกต้อง ร้อยละ 70

100.00
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
hourglass_emptyไม่มีกลุ่มกิจกรรม กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรม 102 67,800.00 3 67,800.00
1 ม.ค. 64 - 30 ก.ย. 64 1. ชี้แจงรายการดำเนินงานโครงการและให้ความรู้เรื่องไข้เลือดออก 60 6,900.00 6,900.00
1 ม.ค. 64 - 30 ก.ย. 64 2.การประเมินบ้านสะอาด ปลอดลูกน้ำยุงลายในชุมชนและโรงเรียน 12 5,400.00 5,400.00
1 ม.ค. 64 - 30 ก.ย. 64 3.กิจกรรมควบคุม และทำลายแหล่งเพาะพันธุ์ลูกน้ำยุงลาย 30 55,500.00 55,500.00

1.ประชุมชี้แจงให้ความรู้ในการจัดสภาพแวดล้อมในอาคารบ้านเรือน เพื่อลดภาวะเสี่ยงต่อการเกิดการแพร่ระบาดของยุงลายและไข้เลือดออก

2.ประชุมชี้แจงคณะทีมงานเครือข่ายในชุมชน ได้แก่ แกนนำในชุมชน ทีมพ่นหมอกควัน อสม. และทีมลงไปประเมินบ้านสะอาดปราศจากลูกน้ำยุงลาย

3.สำรวจ และทำลายแหล่งเพาะพันธุ์ลูกน้ำยุงลายในโรงเรียนและในชุมชน พร้อมแจกทรายอะเบท

4.ควบคุมการระบาดและทำลายแหล่งเพาะพันธ์ลูกน้ำยุงลาย โดยการใช้เครื่องพ่นหมอกควันในการกำจัดยุงในบ้านผู้ป่วยและรัศมี 200 เมตร ถ้ามีรายป่วยจำนวนมากแล้วให้พ่นทั้งหมู่บ้าน เพื่อลดอัตราการเกิดโรคไข้เลือดออกในชุมชน

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ

1.อัตราป่วยด้วยโรคไข้เลือดออกลดลง

2.ดัชนีลูกน้ำยุงลายค่า HI และค่า CI ในโรงเรียนและในชุมชนลดลง

3.เพื่อให้ประชาชนเกิดพฤติกรรมในการป้องกันตนเอง กำจัดและทำลายแหล่งเพาะพันธ์ลูกน้ำยุงลายตามครัวเรือนของตนเองอย่างต่อเนื่องและสม่ำเสมอ

4.ชุมชนมีมาตรการในการกำจัดขยะตามครัวเรือน เพื่อป้องกันไม่ให้เกิดโรคไข้เลือดออกในชุมชน

stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 2 เม.ย. 2564 14:34 น.