กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการ 1 ตำบล 1 หมู่บ้าน NCD ตำบลยาบี อำเภอหนองจิก จังหวัดปัตตานี ประจำปี 2564
รหัสโครงการ 64-L3070-1-7
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 1 สนับสนุนการจัดบริการสาธารณสุขของ หน่วยบริการ/สถานบริการ/หน่วยงานสาธารณสุข
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ หน่วยบริการหรือสถานบริการสาธารณสุข เช่น รพ.สต.
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลยาบี
วันที่อนุมัติ 17 ธันวาคม 2563
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 1 มกราคม 2564 - 30 กันยายน 2564
กำหนดวันส่งรายงาน 29 ตุลาคม 2564
งบประมาณ 63,250.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นางสาวเเมรี เเวฮามะ
พี่เลี้ยงโครงการ นายมะรอกี เวาะเลง
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลยาบี อำเภอหนองจิก จังหวัดปัตตานี
ละติจูด-ลองจิจูด 6.782,101.246place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานโรคเรื้อรัง
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง 100 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง :

stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

1.1 กลุ่มโรคเรื้อรัง ยังคงเป็นปัญหาสุขภาพอันดับหนึ่งของโลก ทั้งในมิติของจำนวนการเสียชีวิตและภาระโรคโดยรวม โดยประเทศไทยมีอัตราการเสียชีวิตจากกลุ่มโรคไม่ติดต่อเรื้อรังต่ำสุดเมื่อเทียบในกลุ่มประเทศภูมิภาคเอเชียใต้-ตะวันออก (SEARO) จากข้อมูลปีพ.ศ.2559 โรคไม่ติดต่อเรื้อรัง ยังคงเป็นปัญหาสุขภาพอันดับหนึ่งของประชาชนไทยทั้งในแง่ภาระโรคและอัตราการเสียชีวิตก่อนวัยอันควร (30-69 ปี) จากโรคไม่ติดต่อเรื้อรังที่สำคัญ ประกอบด้วย โรคหลอดเลือดสมอง, โรคหัวใจขาดเลือด, โรคเบาหวาน, โรคความดันโลหิตสูง และโรคทางเดินหายใจอุดกั้นเรื้อรัง มีแนวโน้มเพิ่มขึ้นตั้งแต่ปี พ.ศ. 2557 - 2559 หลังจากนั้น มีแนวโน้มลดลงเล็กน้อยและคงที่ในปี พ.ศ. 2561 โดยโรคหลอดเลือดสมองมีอัตราการเสียชีวิตก่อนวัยอันควรสูงที่สุดเท่ากับ 44.3 รายต่อประชากรแสนคน และอัตราการเสียชีวิตก่อนวัยอันควรด้วยโรคหลอดเลือดสมองในผู้ชายสูงกว่าเพศหญิง 1.2 สภาพปัญหา : อุบัติการณ์การเกิดโรคความดันโลหิตสูง และโรคเบาหวานรายใหม่มีแนวโน้มลดลง โดยมีปัจจัยเชิงบวกด้านพฤติกรรม ในประชากรที่ดีขึ้นทั้งในกลุ่มวัยผู้ใหญ่ และวัยรุ่น คือ ความชุกของการสูบบุหรี่ การดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ที่มีแนวโน้มลดลง อย่างไรก็ตามปัจจัยเสี่ยงเชิงลบที่คุกคามสุขภาพคือการบริโภคอาหารที่ไม่สมดุล และการมีกิจกรรมทางกายที่ไม่เพียงพอ อาจกล่าวได้ว่าการลดลงของอุบัติการณ์เบาหวาน และภาวะความดันโลหิตสูง เป็นผลจากมาตรการการควบคุม ป้องกันโรค และปัจจัยเสี่ยงของภาวะความดันโลหิตสูงที่ดำเนินการมาอย่างต่อเนื่อง ถึงแม้ว่าในบางช่วงเวลาความชุกของ ปัจจัยเสี่ยง มีแนวโน้มเพิ่มขึ้น แต่ทว่ายังคงเป็นการเปลี่ยนแปลงในอัตราที่ไม่มาก นอกจากนั้นอาจสะท้อนว่าควรเพิ่มมาตรการ และ ความเข้มข้นในการดำเนินมาตรการเพื่อปรับแนวโน้มให้เปลี่ยนแปลงมากขึ้น โดยเฉพาะมาตรการด้านการควบคุมการบริโภค อาหารหวาน มัน และเค็ม นอกจากนั้นควรมีการสำรวจข้อมูลสถานการณ์การบริโภคอาหารและปริมาณโซเดียมที่บริโภคต่อวันอย่างต่อเนื่อง จากการวิเคราะห์ข้อมูลสุขภาพของกลุ่มวัยทำงานตำบลยาบี ปี 2561-2563 พบว่า ประชาชนอายุ 35 ปีขึ้นไป ได้รับการคัดกรองโรคความดันโลหิตสูง ร้อยละ 98.49 ,97.01 , 96.06 ตามลำดับ แนวโน้มการคัดกรองลดลง แต่ก็ยังอยู่ในเกณฑ์ที่กระทรวงตั้งไว้ (ร้อยละ 90) จากการคัดกรองโรคความดันโลหิตสูง ปี 2561-2563 ได้แยกผลการคัดกรองประเภทกลุ่มปกติ ร้อยละ 58.99 ,60.67 ,81.06 ตามลำดับ กลุ่มปกติมีแนวโน้มเพิ่มขึ้น โดยแยกเป็นรายหมู่อยู่ในกลุ่มปกติที่มากสุดไปหาน้อยสุด ดังนี้ หมู่ 6 (86.02%) , หมู่ 3 (83.98%) ,หมู่ 4 (83.39%) ,หมู่ 2 (80.68%) , หมู่ 1 (77.12%) และหมู่ 5 (71.35%) ตามลำดับ กลุ่มเสี่ยง ร้อยละ 32.31 ,30.59 ,10.47 ตามลำดับ กลุ่มเสี่ยงมีแนวโน้มลดลง โดยแยกเป็นรายหมู่ที่อยู่ในกลุ่มเสี่ยงที่มากสุดไปหาน้อยสุด ดังนี้ หมู่ 1 (16.10%) , หมู่ 5 (15.20%) ,หมู่ 3 (10.68%) , หมู่ 4 (9.00%) , หมู่ 2 (7.95%) และหมู่ 6 (6.99%) ตามลำดับ กลุ่มสงสัยป่วย ร้อยละ 8.35 ,8.23 ,8.03 ตามลำดับ กลุ่มสงสัยป่วยมีแนวโน้มลดลง โดยแยกเป็นรายหมู่ที่อยู่ในกลุ่มสงสัยป่วยที่มากสุดไปหาน้อยสุด ดังนี้ หมู่ 5 (12.87%) , หมู่ 2 (11.36%) ,หมู่ 4 (6.92%) , หมู่ 6 (6.45%) , หมู่ 1 (5.93%) และหมู่ 3 (5.34%) ตามลำดับ ในส่วนของประชาชนอายุ 35 ปีขึ้นไป ที่ได้รับการคัดกรองโรคเบาหวานตั้งแต่ ปี 2561-2563 พบว่า ร้อยละ 98.46 ,94.53 , 93.98 ตามลำดับ แนวโน้มการคัดกรองลดลงแต่ก็ยังอยู่ในเกณฑ์ที่กระทรวงตั้งไว้ (ร้อยละ90) จากการคัดกรองโรคเบาหวาน ปี 2561-2563 ได้แยกผลการคัดกรองประเภทกลุ่มปกติ ร้อยละ 85.05 ,81.59 ,86.29 ตามลำดับ กลุ่มปกติมีแนวโน้มเพิ่มขึ้น โดยแยกเป็นรายหมู่อยู่ในกลุ่มปกติที่มากสุดไปหาน้อยสุด ดังนี้ หมู่ 3 (90.28%) , หมู่ 6 (89.76%) ,หมู่ 2 (87.23%) , หมู่ 4 (86.89%) , หมู่ 1 (83.87%) และหมู่ 5 (77.95%) ตามลำดับ กลุ่มเสี่ยง ร้อยละ 13.62 ,17.12 ,13.46 ตามลำดับ กลุ่มเสี่ยงมีแนวโน้มลดลง โดยแยกเป็นรายหมู่ที่อยู่ในกลุ่มเสี่ยงที่มากสุดไปหาน้อยสุด ดังนี้ หมู่ 5 (22.05%) , หมู่ 1 (15.32%) ,หมู่ 4 (12.79%) , หมู่ 2 (12.77%) , หมู่ 6 (9.76%) และหมู่ 3 (9.72%) ตามลำดับ กลุ่มสงสัยป่วย ร้อยละ 1.17 ,1.29 ,0.08 ตามลำดับ กลุ่มสงสัยป่วยมีแนวโน้มลดลง โดยแยกเป็นรายหมู่ที่อยู่ในกลุ่มสงสัยป่วยที่มากสุดไปหาน้อยสุด ดังนี้ หมู่ 6 (0.49%) , หมู่ 1 (0.00%) ,หมู่ 2 (0.00%) , หมู่ 3 (0.00%) , หมู่ 4 (0.00%) และหมู่ 5 (0.00%) ตามลำดับ จากการวิเคราะห์ข้อมูลพบว่า กลุ่มเสี่ยงและกลุ่มสงสัยป่วยโรคความดันโลหิตสูงและโรคเบาหวาน ยังไม่สามารถปรับเปลี่ยนพฤติกรรมได้หรือยังไม่สามารถจัดการกับปัจจัยเสี่ยงได้ 1.3 ความเร่งด่วน / ผลที่คาดหวัง : จากสถานการณ์ดังกล่าว จึงมีความจำเป็นต้องมีการดำเนินงานอย่างต่อเนื่องและมีประสิทธิภาพ เพื่อแก้ไขปัญหา เฝ้าระวัง ติดตามกลุ่มเสี่ยง เพื่อลดปัจจัยเสี่ยงต่างๆ ป้องกันไม่ให้ป่วย และกลุ่มป่วยสามารถควบคุมโรคได้ เกิดเครือข่ายในการดูแลสุขภาพที่เข้มแข็งโดยเน้นการสร้างเสริมสุขภาพ การพึ่งพาตนเอง รพ.สต.ยาบี จึงได้จัดทำโครงการ 1 ตำบลยาบี 1 หมู่บ้าน NCD โดยใช้กลไกการดำเนินงานของเครือข่ายสุขภาพในชุมชนเพื่อขับเคลื่อนงานโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง ในการเฝ้าระวังกลุ่มเสี่ยง ไม่ให้ป่วย และกลุ่มป่วยสามารถควบคุมโรคได้ โดยหวังเป็นอย่างยิ่งว่าเมื่อกลุ่มเป้าหมายเกิดความตระหนักทางสุขภาพแล้ว จะนำมาซึ่งการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมลดภาวะการเป็นโรค ชะลอการเกิดภาวะแทรกซ้อน ชุมชนเข้มแข็งด้านสุขภาพ สามารถดูแลสุขภาพกันเองในชุมชนได้ ตำบลยาบี (จากทะเบียนผู้ป่วยโรคเรื้อรังในชุมชนของโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลยาบี) ปี 2560 พบว่าผู้ป่วยโรคเบาหวานและความดันโลหิตสูงมีแนวโน้มเพิ่มขึ้น จากการคัดกรองความเสี่ยงประชากร 35 ปี ขึ้นไป ร้อยละ 92.14 (พบกลุ่มเสี่ยงเบาหวาน จำนวน 95 คน ร้อยละ 8.09 สงสัยป่วย 7 ร้อยละ 0.60 และมีอัตราป่วยด้วยเบาหวานรายใหม่ จำนวน 8 คน ร้อยละ 0.74 พบกลุ่มเสี่ยงความดันโลหิตสูง 372 คน ร้อยละ 34.48 กลุ่มสงสัยป่วย 115 คน ร้อยละ 10.66 อัตราป่วยด้วยความดันโลหิตสูงรายใหม่จำนวน 31 คน ร้อยละ 2.9ตำบลยาบี (จากทะเบียนผู้ป่วยโรคเรื้อรังในชุมชนของโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลยาบี) ปี 2561พบว่าผู้ป่วยโรคเบาหวานและความดันโลหิตสูงมีแนวโน้มเพิ่มขึ้น จากการคัดกรองความเสี่ยงประชากร 35 ปี ขึ้นไป ร้อยละ 98.40 (พบกลุ่มเสี่ยงเบาหวาน จำนวน 174 คน ร้อยละ 13.62 สงสัยป่วย 15 ร้อยละ 1.17 และมีอัตราป่วยด้วยเบาหวานรายใหม่ จำนวน 6 คน ร้อยละ 0.55 พบกลุ่มเสี่ยงความดันโลหิตสูง 379 คน ร้อยละ 32.31 กลุ่มสงสัยป่วย 98คน ร้อยละ 8.35 อัตราป่วยด้วยความดันโลหิตสูงรายใหม่จำนวน 16 คน ร้อยละ 1.36 ตำบลยาบี (จากทะเบียนผู้ป่วยโรคเรื้อรังในชุมชนของโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลยาบี) ปี 2562พบว่าผู้ป่วยโรคเบาหวานและความดันโลหิตสูงมีแนวโน้มเพิ่มขึ้น จากการคัดกรองความเสี่ยงประชากร 35 ปี ขึ้นไป ร้อยละ 97.01 (พบกลุ่มเสี่ยงเบาหวาน จำนวน 213 คน ร้อยละ 17.12 สงสัยป่วย 16 ร้อยละ 1.29 และมีอัตราป่วยด้วยเบาหวานรายใหม่ จำนวน 9 คน ร้อยละ 0.72 พบกลุ่มเสี่ยงความดันโลหิตสูง 357 คน ร้อยละ 30.59กลุ่มสงสัยป่วย 96คน ร้อยละ 8.23 อัตราป่วยด้วยความดันโลหิตสูงรายใหม่จำนวน 23 คน ร้อยละ 1.98 จากข้อมูลดังกล่าวโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลยาบี จึงได้เห็นถึงความสำคัญในการการดูแลเฝ้าระวังความเสี่ยงด้านสุขภาพการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมที่เหมาะสมและสามารถลดโรคลดเสี่ยงโรคเรื้อรังเบาหวาน ความดัน จึงได้จัดทำโครงการ 1 ตำบล 1 หมู่บ้าน NCD ตำบลยาบี อำเภอหนองจิก จังหวัดปัตตานี ปี 2564 ขึ้น โดยเน้นในกลุ่มที่เสี่ยงและเสี่ยงสูงต่อโรคเบาหวานและความดันเพื่อให้ประชาชนได้รับความรู้ และสามารถปรับเปลี่ยนพฤติกรรม ลดการเกิดโรคเรื้อรังได้ในอนาคตได้

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 1.เพื่อเฝ้าระวังและค้นหาผู้ป่วยรายใหม่

1.ผู้ป่วยรายใหม่โรคความดันโลหิตสูงและโรคเบาหวานลดลงร้อยละ 5

100.00
2 2.เพื่อให้กลุ่มเสี่ยงสูงได้รับแนวทางการปรับเปลี่ยนตามแนวทางปิงปองจราจรชีวิต 7 สี และหลักการ 3 อ 2 ส

2.จำนวนกลุ่มเสี่ยงสูงที่เข้าร่วมโครงการได้เข้าระบบการเฝ้าระวังตนเองตามแนวทางปิงปองจราจร 7 สีและปรับเปลี่ยนตามความเสี่ยงของตนเอง โดยยึดหลัก 3อ 2ส ร้อยละ 80

80.00
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
hourglass_emptyไม่มีกลุ่มกิจกรรม กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรม 210 63,250.00 5 63,250.00
1 ม.ค. 64 - 30 ก.ย. 64 กิจกรรมที่ 1 กิจกรรมอบรมและแลกเปลี่ยนเรียนรู้กลุ่มเสี่ยงและกลุ่มเสี่ยงสูงโรคความดันโลหิตและโรคเบาหวาน 100 16,400.00 16,400.00
1 ม.ค. 64 - 30 ก.ย. 64 กิจกรรมที่ 2 ตรวจสุขภาพและคัดกรองเบื้องต้น 0 0.00 0.00
1 ม.ค. 64 - 30 ก.ย. 64 กิจกรรมที่ 3 คืนข้อมูลสถานะทางสุขภาพของคนในชุมชน และให้ความรู้เรื่องโรคเบาหวานและโรคความดันโลหิตสูง 60 6,000.00 6,000.00
1 ม.ค. 64 - 30 ก.ย. 64 กิจกรรมที่ 4 อสม.ติดตามเยี่ยมบ้านเพื่อประเมินระดับน้ำตาลในเลือดและประเมินระดับค่าความดันโลหิตสูง (ติดตาม 3 เดือนครั้ง จำนวน 2 ครั้ง) 38 37,100.00 37,100.00
1 ม.ค. 64 - 30 ก.ย. 64 กิจกรรมที่ 5 คัดเลือก อสม.ต้นแบบในการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพ 12 3,750.00 3,750.00

ขั้นเตรียมการ

1.ประชุมทีมทำงานเจ้าหน้าที่และ อสม.เพื่อค้นหาปัญหาการคัดกรองที่ผ่านมาสรุปแนวทางการแก้ไข จัดทำโครงการ ขั้นดำเนินการ

2.วางแผนการคัดกรองกลุ่มเป้าหมาย ที่มีภาวะเสี่ยงสูงประชาชนอายุ 35 ปี ขึ้นไป ร่วมกับเจ้าหน้าที่ และ อสม. โดยการสร้างกระแสร่วมกันระหว่าง จนท. และ อสม

3.จัดกิจกรรมแลกเปลี่ยนเรียนรู้แก่กลุ่มเสี่ยงและเสี่ยงสูงที่มีอายุ 35 ปีขึ้นไป จำนวน 100 คน บรรยายเกี่ยวกับการดูแลตนเองในการปรับเปลี่ยนพฤติกรรม 3อ.2ส. ทำอย่างไรให้ห่างไกลจากโรค

4.กิจกรรมติดตามเยี่ยมบ้านกลุ่มเสี่ยงและกลุ่มสงสัยป่วย

5.รายงานผลการดำเนินงานต่อที่ประชุมประจำเดือน สรุปผลการดำเนินงานและวางแผนการพัฒนาต่อ

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ

1.กลุ่มเสี่ยงและกลุ่มสงสัยป่วยโรคเบาหวานหรือโรคความดันโลหิตสูง มีทักษะในการจัดการกับปัจจัยเสี่ยงได้ไม่กลายเป็นผู้ป่วยรายใหม่

2.จำนวนกลุ่มเสี่ยงสูงที่เข้าร่วมโครงการได้เข้าระบบการเฝ้าระวังตนเองตามแนวทางปิงปองจราจร 7 สี และปรับเปลี่ยนตามความเสี่ยงของตนเอง โดยยึดหลัก 3 อ 2 ส ร้อยละ 80

stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 2 เม.ย. 2564 16:25 น.