กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการชุมชนร่วมใจต้านภัยไข้เลือดออก ปีงบประมาณ 2564
รหัสโครงการ L3342-01-64
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 1 สนับสนุนการจัดบริการสาธารณสุขของ หน่วยบริการ/สถานบริการ/หน่วยงานสาธารณสุข
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ หน่วยบริการหรือสถานบริการสาธารณสุข เช่น รพ.สต.
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ รพ.สต.บ้านควนคำทอง
วันที่อนุมัติ 2 เมษายน 2564
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 1 เมษายน 2564 - 31 สิงหาคม 2564
กำหนดวันส่งรายงาน 30 กันยายน 2564
งบประมาณ 36,540.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นางเสรี ณรงค์รัตน์
พี่เลี้ยงโครงการ
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลป่าบอน อำเภอป่าบอน จังหวัดพัทลุง
ละติจูด-ลองจิจูด 7.337,100.171place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานกลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีความเสี่ยง
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

โรคไข้เลือดออกยังคงเป็นปัญหาสาธารณสุข ต่อเนื่องตลอดทุกปี ยังคงมีผู้ป่วยเกิดขึ้นทุกเดือน ทั้งในระดับอำเภอ ตำบลและหมู่บ้าน โดยตั้งแต่ต้นวันที่1 มกราคม - 31 ธันวาคม 2563 อำเภอป่าบอน มีผู้ป่วยโรคไข้เลือดออก จำนวน 56 ราย คิดเป็นอัตราป่วย 121.88 ต่อปประชากรแสนคน ตำบลป่าบอนมีผู้ป่วย จำนวน11 คนคิดเป็นอัตราป่วย 112.20 ต่อประชากรกแสนคน ส่วนในเขตรับผิดชอบของ รพ.สต. บ้านควนคำทอง (หมู่ที่4,5,6,11) มีจำนวนผู้ป่วย 5คน คิดเป็นอัตราป่วย 182.48 ต่อประชากรแสนคน

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 1.เพื่อลดค่าดัชนีความชุกลุกลูกน้ำยุงลาย (Hi) ไม่เกินร้อยละ20

ดัชนีลูกน้ำยุงลาย ลดลง เหลือไม่เกิน ร้อยละ20 และอัตราแ่วยด้วยโรคไข้เลือดออก ในเขต รพ.สต.บ้านควนคำทอง ไม่เกิน ร้อยละ 50/แสนประชากร เมื่อสิ้นสุดโครงการ

0.00
2 2.เพื่อให้ประชาชนมีความรู้ ความเข้าใจ และมีพฤติกรรมในการป้องกันไข้เลือดออกได้อย่างถูกต้อง

ประชาชน สามารถดูแลและป้องกันตนเองได้ เมื่อเกิดโรคไข้เลือดออกในหมู่บ้าน

0.00
3 3. เพื่อให้ประชาชนมีส่วนร่วมในการป้องกันโรคไข้เลือดออก

ปีะชาชนให้ความร่วมมือในการรณรงค์กำจัดลูกน้ำยุงลายช่วยทำลายแหล่งเพาะยุงลายในบ้านของตนเอง

0.00
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม

1.จัดประชุมกับผู้นำชุมชน อบต. , อสม. และแกนนำสุขภาพประจำครอบครัว เพื่อระดมความคิดเห็นในการดำเนินงานป้องกัน โรคไข้เลือดออกในหมู่บ้านอย่างครอบคลุมและต่อเนือง 2.จัดทำแผนปฏิบัติการ และกรอบตัวชี้วัดความสำเร็จของงาน 3.จัดทำโครงการเสนอกองทุนหลักประกันสุขภาพองค์การบริหารส่วนตำบลป่าบอน เพื่อขอสนับสนุนงบประมาณ 4.สำรวจข้อมูลพฤติกรรมสุขภาพของประชาชนในการป้องกันไข้เลือดออก 5.จัดซื้อทรายอะเบท / โลชั่นกันยุง เพื่อใช้ควบคุมการระบาดของโรคไข้เลือดออกในชุมชน 6.อสม. ร่วมกับแกนนำสุขภาพประจำครอบครัว สำรวจและทำลายแหล่งเพาะพันธุ์ลูกน้ำยุงลาย เพื่อหาค่าดัชนีความชุกลูกน้ำยุงลาย (HI) ทุกเดือนและส่งหมู่บ้านเข้าประกวด หมู่บ้านปลอดลูกน้ำยุงลายระดับอำเภอ 7.รณรงค์ ป้องกันโรคไข้เลือดออกในชุมชน อย่างน้อยหมู่ละ 2 ครั้ง ช่วงก่อนระบาด และช่วงระบาดของโรค 8.ส่งเสริมให้ประชาชนใช้สมุนไพร เลี้ยงปลากินลูกน้ำยุงลาย และจัดทำเทียนหอมตะไคร้ไล่ยุง 9.ส่งเสริมให้ประชาชนป้องกันตนเองจากการโดนยุงกัด โดยการนองในมุ้ง/ใช้เทียนหอมตะไคร้ไล่ยุง หรือทาโลชั่นกันยุง 10.ดำเนินการพ่นละอองฝอยในโรงเรียนช่วงก่อนเปิดเทอม กำจัดและทำลายแหล่งเพาะพันธุ์ยุง 11. ดำเนินการพ่นละอองฝอยในรัศมี 100 เมตร จากบ้านที่พบผู้ป่วยโรคไข้เลือดออกและครอบคลุมทุกหลังคาเรือน 12. ติดตาม ประเมินผล และเฝ้าระวังพฤติกรรมในการป้องกันโรคไข้เลือดออก 13.ประเมินผลโครงการ และรายงานผลการดำเนินงาน

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ

1.ประชาชนมีการตื่นตัวและตระหนักถึงอันตรายของโรคไข้เลือดออก 2.ประชาชนร่วมมือและมีพฤติกรรมทำลายแหล่งเพาะพันธุ์ลูกน้ำยุงลายอย่างต่อเนืองและสมำเสมอ ทำให้ค่าดัชนีความชุกลูกน้ำยุงลายลดลง 3. อัตราป่วยและอัตราตายด้วยโรคไข้เลือดออกอยู่ในระดับที่ไม่เป็นปัญหาทางสาธารณสุข

stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 5 เม.ย. 2564 09:58 น.