กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการเกษตรกรปลอดโรคโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านหูแร่ ปีงบประมาณ 2564
รหัสโครงการ ปี2564-L5275-1-1
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 1 สนับสนุนการจัดบริการสาธารณสุขของ หน่วยบริการ/สถานบริการ/หน่วยงานสาธารณสุข
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ หน่วยบริการหรือสถานบริการสาธารณสุข เช่น รพ.สต.
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านหูแร่
วันที่อนุมัติ 22 กุมภาพันธ์ 2564
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 1 มีนาคม 2564 - 30 กันยายน 2564
กำหนดวันส่งรายงาน 31 ตุลาคม 2564
งบประมาณ 29,430.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นายสุกิจ เถาถวิล รักษาการในตำแหน่งผู้อำนวยการโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านหูแร่
พี่เลี้ยงโครงการ
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลทุ่งตำเสา อำเภอหาดใหญ่ จังหวัดสงขลา
ละติจูด-ลองจิจูด 6.9,100.244place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานกลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีความเสี่ยง
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง 300 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง :

stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

ประเทศไทยเป็นประเทศที่มีประชาชนส่วนใหญ่ประกอบอาชีพ ในภาคเกษตรกรรมซึ่งส่วนใหญ่เป็นแรงงานนอกระบบผู้มีรายได้น้อย แต่ทำงานหนักและลักษณะการทำงานมีความเสี่ยงอันตรายต่อสุขภาพจากผลการสำรวจสำนักงานสถิติแห่งชาติ ในปี2557 มีผู้ทำงานทั้งสิ้น38.4ล้านคน เป็นกลุ่มแรงงานนอกระบบ22.1ล้านคน คิดเป็นร้อยละ57.6 และที่เหลือเป็นแรงงานในระบบ16.3ล้านคน คิดเป็นร้อยละ 42.4 ซึางแรงานนอกระบบจำนวนมากกว่าครึ่งหนึ่งทำงานอยู่ในภาคเกษตรกรกรรมโดยมีจำนวนถึง 12.5 ล้านคน คิดเป็นร้อยละ 56.9 ของแรงงานนอกระบบทั้งหมด ซึ่งในปัจจุบันเกษตรมีการใช้สารเคมีทางการเกษตรกรอย่างแพร่หลาย เพื่อให้ได้ผลผลิตทางการเกษตรกรที่มีความสวยงาม ตรงตามความต้องการการของผู้บริโภค ซึ่งสารเคมีกำจัดศัตรูพืช หากมีการใช้ในปริมาณมาก ใช้ไม่ถูกวิธี ผู้ใช้ขาดการป้องกันตนเองขณะใช้งาน อาจก่อให้เกิดผลกระทบต่อสุขภาพทั้งแบบเฉียบพลันและแบบเรื้อรังตั้งแต่ระดับ เล็กน้อยจนรุนแรงถึงแก่ชีวิตขึ้นอยู่กับระดับความเข้มข้น ความเป็นพิษ และปริมาณที่ได้รับ ดังนั้น สารเคมีกำจัดศัตรูพืชจึงเป็นความเสี่ยงสำคัญในกลุ่มผู้ประกอบอาชีพเกษตรกร ซึ่งสารเคมีกำจัดศัตรูพืชสามารถเข้าสู่ร่างกายได้หลายทาง โดยการสัมผัสทางผิวหนังที่ไม่สวมถุงมือและรองเท้าบู๊ทป้องกันขณะทำงาน กับการสูดหายใจละอองที่ฟุ้งกระจายในอากาศ และการรับประทานอาหารและดื่มน้ำที่มีสารเคมีปนเปื้อน พฤติกรรมที่ไม่ปลอดภัย ทำให้เกษตรกรมีความเสี่ยงจากการได้รับอันตรายจากการได้รับอันตรายจากสารเคมีเพิ่มขึ้น ยกตัวอย่างเช่น ใช้ถังภาชนะบรรจุสารเคมีรั่วซึม ฉีดพ่นสาวนทิศทางลม ทำให้เสื้อผ้าเปียกชุ่มสารเคมีโดยไม่อาบน้ำและเปลี่ยนเสื้อผ้าที่ซึมเปื้อน ทันทีเป็นต้น โรงพยบาลส่งเสรืมสุขภาพตำบลบ้านหูแร่ รับผิดชอบ 3 หมู่บ้าน คือ หมู่ที่3 บ้านหูแร่ หมู่ที่ 4 บ้านนายสี และหมู่ที่6บ้านนาแสน มีประชากรรวมทั้งสิ้น 4,968 คน เป็นวันทำงานจำนวน 3,329 คน ประกอบอาชีพเกษตรกรรม จำนวน 2,164 คน คิดเป็นร้อยละ 65.71ของวัยแรงงานทั้งหมดจากการสำรวจการใช้สารเคมีทางการเกษตรกรในครัวเรือน มีครัวเรือนในเขตรับผิดชอบทั้งหมด1,304 ครัว โดยมีการสำรวจจำนวน 726 ครัวเรือน พบว่าเกี่ยวข้องกับการใช้สารเคมีทางการเกษตร 520 ครัวเรือน โดยเป็นเกษตรเอง 168 ครัวเรือน การตรวจคัดกรองความเสี่ยงจากการสัมผัสสารเคมีกำจัดศัตรูพืชโดยใช้กระดาษทดสอบโคลีนเอสเตอเรส เป็นเครื่องมือในการคัดกรองความเสี่ยงในเกษตรกรที่ใช้สารเคมี กำจัดศัตรูพืช กลุ่มออร์กาโนฟอสเฟตและคาร์บาเมต เพื่อคัดกรองว่าในการทำงานที่เกี่ยวข้องกับสารเคมีของเกษตรกรนั้น เกษตรกรมีความเสี่ยงจากการสัมผัสสารเคมีกำจัดศัตรูพืชอยู่ในระดับใด แต่อาจยังไม่ส่งผลให้เกิดอาการแพ้พิษสารเคมีก็ได้ ซึ่งจากผลการคัดกรองความเสี่ยงจะทำให้เกษตรกร เกิดความตระหนัก และนำไปสู่การแนะนำให้เกษรกรปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการใช้สารเคมีกำจัดศัตรูพืช การทำเกษตรอินทรีย์ หรือมีการใช้สารเคมี กำจัดศัตรูพืชอย่างถูกต้อง และสามารถป้องกันเองขณะใช้สารเคมีกำจัดศัตรูพืช รพ.สต.บ้านหูแร่ได้มีการตรวจคัดกรองความเสี่ยงจากการสัมผัสสารเคมีกำจัดศัตรูพืชโดยใช้กระดาษทดสอบโคลีนเอสเตอเรส โดยมีผลการทดสอบดังนี้ ในปี2561 จำนวน 156 คน พบว่าอยู่ในระดับปกติ 1คน ระดับปลอดภัย 17 คน ระดับความเสี่ยง 57 คน และระดับไม่ปลอดภัย 81 คน ในปี 2562 จำนวน 200 คนพบว่าออยู่ในระดับปกติ 9 คน ระดับปลอดภัย 80คน จะเห็นได้ว่ามีอยู่ในระดับความเสี่ยงสูงที่สูงมาก จำเป็นต้องมีการดำเนินงานเพื่อแก้ไขป้องกันปัญหาดังกล่าว โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านหูแร่ ซึ่งเป็น หน่วยบริการปฐมภูมิ ตระหนักถึงความจำเป็นในการจัดกิจกรรมเพื่อ ดูแลสุขภาพเกษตรกรในชุมชน ประกอบด้วยการสำรวจข้อมูลเบื้องต้น การสัมภาษณ์ด้วยแบบประเมินความเสี่ยง การเจาะเลือดตรวจคัดกรองเพื่อสืบค้นความผิดปกติในระยะเริ่มแรก เพื่อป้องกันและลดความสูญเสียจากผลกระทบที่อาจเกิดขึ้น และการจัดเวทีคืนข้อมูลให้แก่ชุมชน ถ่ายทอดความรู้แกเกษตรกรเกี่ยวกับอันตรายจากการใช้ สารเคมีกำจัดศัตรูพืช วิธีการป้องกันโรคและการดูแลสุขภาพเบื้องต้น ด้วยตนเอง การวินิจฉัยและการรักษาเบื้องต้น การส่งต่อเพื่อพบแพทย์เฉพาะทาง และการนำการใช้สมุนไพรลดลางพิษ การให้คำปรึกษาฯลฯ ดังนั้นเพื่อผลสำเร็จในการดำเนินงานดังกล่าว โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านหูแร่จังจัดทำโครงการเกษตรกรปลอดโรค โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านหูแร่ ปีงบประมาณ2564

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 1.เพื่อให้กลุ่มเป้าหมายทุกคนมีทักษะประเมินและเฝ้าระวังสุขภาพตนเอง อันเนื่องมาจากการใช้สารเคมีในเกษตรกร

1.กลุ่มเป้าหมายทุกคนมีความรู้และทักษะประเมินและเฝ้าระวังสุขภาพตนเองอันเนื่องมาจากการใช้สารเคมีในเกษตรกร ร้อยละ 90

0.00
2 2.กลุ่มเป้าหมายได้รับการตรวจหาระดับปริมาณสารเคมีตกค้างโดยกระดาษทดสอบเอนไซน์โคลีนเอสเตอเรสร้อยละ 80

2.กลุ่มเป้าหมายได้รับการตรวจหาระดับปริมาณสารเคมีตกค้าง โดยกระดาษทดสอบเอมไซด์โคอีนเอสเตอเรสร้อยละ 80

0.00
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
hourglass_emptyไม่มีกลุ่มกิจกรรม กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรม 300 29,430.00 0 0.00
1 มี.ค. 64 - 30 ก.ย. 64 กิจกรรมอบรมเชิงปฎิบัติการ 300 21,000.00 -
1 มี.ค. 64 - 30 ก.ย. 64 กิจกรรมตรวจหาระดับปริมาณสารเคมีตกค้างในเลือดของเกษตรกรและผู้บริโภคที่สนใจ 0 8,430.00 -

ขั้นเตรียมการ 1. จัดทำแผนงานโครงการและขออนุมัติ
2. จัดประชุมผู้เกี่ยวข้องในการมีส่วนร่วมสนับสนุนการดำเนินการ
กิจกรรมตรวจคัดกรองความเสี่ยงจากการสัมผัสสารเคมีกำจัดศัตรูพืชโดยใช้กระดาษทดสอบโคลีนเอสเตอเรส 1. จัดกิจกรรมดูแลสุขภาพเชิงรุก ในหมู่บ้าน ที่ศาลาประชาคมในหมู่บ้านทุกหมู่บ้าน หมู่ละ 1 วัน ประกอบด้วย - สัมภาษณ์เพื่อประเมินความเสี่ยงจากการใช้สารเคมีกำจัด ศัตรูพืช – เจาะเลือดตรวจคัดกรองผู้เสี่ยงต่อพิษสารกำจัดศัตรูพืช โดยใช้กระทดสอบเอมไซน์โคลีนเอสเตอเรส - แนะนำสมุนไพรลดล้างพิษ สำหรับผู้มีความเสี่ยง
2. ให้คำแนะนำเรื่องการป้องกันอันตรายจากการใช้สารกำจัดศัตรูพืช และให้คำแนะนำเรื่องวิธีการล้างผักให้ปลอดภัย
3. สื่อสารความเสี่ยงที่พบรายบุคคล/รายกลุ่ม แนะนำวิธี การดูแลสุขภาพและพฤติกรรมที่เหมาะสมในการใช้สารเคมีกำจัดศัตรูพืช อย่างปลอดภัย
กิจกรรมอบรมเกษตรกรที่ใช้สารเคมีทางการเกษตร 1. ถ่ายทอดความรู้วิธีการใช้สารเคมีทางการเกษตรอย่างปลอดภัยและอุปกรณ์ป้องกันที่จำเป็นสำหรับป้องกันอันตรายจากสารเคมีกำจัดศัตรูพืชแก่เกษตรกร รวมถึงกลุ่มที่รับจ้างฉีดพ่นสารเคมีทางการเกษตร โดยเลือกกลุ่มเป้าหมายจากเกษตรกรที่มาตรวจคัดกรองความเสี่ยงจากการสัมผัสสารเคมีกำจัดศัตรูพืชโดยใช้กระดาษทดสอบโคลีนเอสเตอเรส และมีผลการทดสอบ พบว่าอยู่ในระดับมีความเสี่ยงและระดับไม่ปลอดภัย จำนวน 80 คน กิจกรรมเฝ้าระวังและติดตามผลเลือดซ้ำ 1. ตรวจเลือดซ้ำโดยใช้กระดาษทดสอบโคลีนเอสเตอเรส ในเคสที่มีเลือดในระดับมีความเสี่งและไม่ปลอดภัย (หลังจากรอบแรก 3 เดือน) 2. ส่งต่อเพื่อการรักษาในกรณีที่มีอาการรุนแรง
3. รวบรวมข้อมูลผลการดำเนินการและจัดทำรายงาน

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ

๑. เกษตรกรและผู้บริโภคที่เข้าร่วมกิจกรรมมีความปลอดภัยจากสารเคมีกำจัดศัตรูพืช

stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 7 เม.ย. 2564 08:37 น.