กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ เตรียมความพร้อมจัดบริการเชิงรุกโดยทีมหมอครอบครัว โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล ตำบลฉลุง ปี ๒๕๖๐
รหัสโครงการ 60-50097-2-03
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 1 สนับสนุนการจัดบริการสาธารณสุขของ หน่วยบริการ/สถานบริการ/หน่วยงานสาธารณสุข
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ หน่วยงานอื่นๆ ที่ไม่ใช่หน่วยงานสาธารณสุข เช่น โรงเรียน
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล ตำบลฉลุง.
วันที่อนุมัติ 3 เมษายน 2560
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 1 สิงหาคม 2560 - 30 กันยายน 2560
กำหนดวันส่งรายงาน
งบประมาณ 60,240.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ 1…นางรำจวนระฆังทอง 2…นางสาววัลลภาทุ่งปรือ 3…นายธีรยุทธ์ บินสอาด
พี่เลี้ยงโครงการ องค์การบริหารส่วนตำบลฉลุง
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลฉลุง อำเภอเมืองสตูล จังหวัดสตูล
ละติจูด-ลองจิจูด 6.725,100.035place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานสุรา , แผนงานสิ่งเสพติด
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

สืบเนื่องในรัฐธรรมนูญ ปีพ.ศ.2559 ในหมวดเรื่องการปฏิรูประบบ สาธารณสุข ระบุให้มีแพทย์เวชศาสตร์ครอบครัวดูแลประชาชนในสัดส่วนที่เหมาะสมประชาชนทุกคนทุกครอบครัว จะมีหมอครอบครัวเป็นญาติให้การดูแล แบบใกล้บ้านใกล้ใจ เหมือนพี่น้องประชาชนสามารถซื้อของเบ็ดเตล็ดที่ใช้ ในชีวิตประจำวันได้ที่ร้านสะดวกซื้อหน้าปากซอยไม่จำเป็นต้องไปที่ห้างสรรพสินค้าในการเลือกซื้อสินค้าที่ใช้ใน ชีวิตประจำวัน ให้ความสะดวกสบายและเป็นกันเองตลอดจนดูแลได้ใกล้ชิดเหมือนคลินิกหมอส่วนตัวที่ยังได้รับ ความนิยมจากประชาชนส่วนใหญ่ บทบาทคลินิกหมอครอบครัว ระบบการให้บริการ บริการทุกคน บริการทุกอย่าง บริการทุกที่ บริการทุกเวลาด้วยเทคโนโลยี บริการทุกคน คือ ดูแลตั้งแต่ตั้งครรภ์ วัยทารก วัยเด็กนักเรียน วัยทำงานจนถึงวัยสูงอายุ บริการทุกอย่าง คือ งานส่งเสริมสุขภาพ งานปูองกันโรค งานรักษาพยาบาล งานฟื้นฟูสภาพและงานคุ้มครอง ผู้บริโภค บริการทุกที่คือ ท างานในที่ตั้งคลินิกหมอครอบครัว ท างานเชิงรุกให้บริการที่บ้าน และในชุมชน บริการทุกเวลาด้วยเทคโนโลยีคือ ให้คำปรึกษา ประชาชนสามารถสอบถามปัญหาเรื่องปูองกันรักษาและยามเจ็บ ไข้ได้ป่วย ด้วยการทิ้งคำถามไว้ในกลุ่ม LINE หรือ face book แล้วมีทีมหมอครอบครัวเข้ามาช่วยกันตอบแต่ต้อง ระวังเรื่องความลับของผู้ป่วย สามารถถ่ายภาพเพื่อให้หมอครอบครัวช่วยแนะนำดูแลหรือโทรศัพท์ ในเวลา เจ็บป่วยฉุกเฉินจำเป็นตามแต่จะตกลงกัน โดยทีมหมอครอบครัวหนึ่งทีมดูแลพี่น้องประชาชน 10,000 คน ในพื้นที่ที่รับผิดชอบชัดเจน ทีมหมอ ครอบครัวประกอบด้วย แพทย์ผู้เชี่ยวชาญสาขาเวชศาสตร์ครอบครัว ทันตแพทย์ เภสัชกร พยาบาล นักวิชาการ สาธารณสุขและสหสาขาวิชาชีพ หัวใจสำคัญของการดำเนินงาน Primary Care Cluster “คลินิกหมอครอบครัว” คือ การดูแลคนใช้ ประชาชนเป็นศูนย์กลาง (Person & Patient-Centered Primary Care) อาศัยทีมสหวิชาชีพ เพื่อนำเอาความ เชี่ยวชาญของแต่ละสาขาวิชาชีพมาใช้ให้เกิดการดูแลที่มีประสิทธิผลและเต็มประสิทธิภาพ โดยมีเป้าหมายให้ ประชาชนสามารถดูแลตนเอง (Self-Care) ครอบครัวแข็งแรง (Healthy Family) และชุมชนเข้มแข็ง (Community Care) เพื่อให้เกิดลักษณะบริการ “สร้างนำซ่อม” หรือมีการส่งเสริมสุขภาพและปูองกันโรคเป็น สำคัญ เพื่อให้บรรลุเป้าหมายจำเป็นต้องอาศัยการออกแบบบริการที่เอื้อต่อการเข้าถึงของประชาชน ซึ่งไม่เพียง เป็นการเข้าถึงคลินิกบริการ แต่ต้องเป็นการเข้าถึงชีวิตและจิตใจ ระบบต้องมีพื้นที่ให้ประชาชนสามารถเรียนรู้ วิธีการที่จะมีสุขภาพดีเรียนรู้วิธีการดูแลตนเองยามเจ็บป่วยตั้งแต่ขั้นต้นไปจนสิ้นสุดศักยภาพที่ตนเองมีอยู่ ดังนั้น บริการปฐมภูมิซึ่งมีความใกล้ชิดกับประชาชนมากที่สุดจำเป็นต้องมีช่องทางสร้างความสัมพันธ์กับประชาชนทุก กลุ่มทั้งกลุ่มป่วย หรือกลุ่มปกติทุกเพศหรือทุกวัย บุคลากรสาธารณสุขที่อยู่ในระบบปฐมภูมิจำเป็นต้องเรียนรู้ ที่จะนำเอาความ เป็นมืออาชีพด้านสุขภาพสอดแทรกเข้าไปในรูปแบบการดำเนินชีวิตของผู้ที่ตนดูแล จึงต้องมี ความเข้าใจใน ความเป็นอยู่ ความเชื่อ วัฒนธรรม สิ่งแวดล้อมต่างๆ ซึ่งล้วนแต่มีอิทธิพลต่อการมีสุขภาพดี กล่าวได้ว่าระบบบริการที่ดีควรมีความเป็นเนื้อเดียวกับบริบทของชุมชนนั้นๆ เครื่องมือที่สำคัญที่จะทำให้เกิดการ ดูแลในรูปแบบที่ใฝ่ฝันนั้น คือ หลักคิดของการแพทย์ในสาขาเวชศาสตร์ครอบครัว ซึ่งเป็นการแพทย์สาขาที่ มีอัตลักษณ์ในการดูแลคน มากกว่าดูแลโรค เน้นองค์รวมมากกว่าดูแลด้านใดด้านหนึ่งเพียงอย่างเดียว, เน้นการ ดูแลต่อเนื่องทุกช่วงของการเจ็บป่วยและดูแลคนทุกคนในครอบครัวไม่จำกัดการดูแลเพียงบางเพศหรือบางกลุ่มวัย
โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล ตำบลฉลุง เป็นหนึ่งในเป้าหมายการดำเนินงานดำเนินงาน Primary Care Cluster “คลินิกหมอครอบครัว”ปีงบประมาณ ๒๕๖๐ ของกระทรวงสาธารณสุข เริ่มเปิดดำเนินการตั้งแต่ วันที่ ๑มกราคม๒๕๖๐มาแล้วนั้น พบว่าจุดอ่อนที่ทางโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล ตำบลฉลุง พบมาตลอดคือการจัดบริการเชิงรุกโดยเฉพาะการเยี่ยมบ้านผู้สูงอายุติดเตียง,ติดบ้าน รวมทั้งผู้ด้อยโอกาสดังนั้นในโอกาสปีงบประมาณ ๒๕๖๐ นี้เพื่อตอบสนองนโยบายกระทรวงสาธารณสุข โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล ตำบลฉลุงจึงได้จัดทำโครงการดูแลสุขภาพเชิงรุกขึ้นเพื่อได้เข้าถึงประชาชนผู้สูงอายุติดเตียง ติดบ้านและผู้ด้อยโอกาสมากขึ้นโดยทีมหมอครอบครัวประจำโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล ตำบลฉลุงโดยการบูรณาการกับเครือข่ายผู้แลสุขภาพประชาชนในพื้นที่ด้วย เพื่อเกิดการดูแลสุขภาพประชาชนแบบองค์รวมผสมผสานอย่างแท้จริงต่อไป

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 ๓.๑.เพื่อสำรวจข้อมูลประชาชนในเขตอบต.หมู่ที่ ๑ – ๔ และหมู่ที่ ๑๐-๑๓ ตำบลฉลุง ทุกหลังคาเรือนเพื่อปรับปรุงข้อมูลประชาชนในเขตรับผิดชอบให้เป็นปัจจุบัน

1.ทุกหลังคาเรือนจำนวน๒,๐๒๗หลัง ในเขตอบต.หมู่ที่ ๑ – ๔ และหมู่ที่ ๑๐-๑๓ ตำบลฉลุง ได้รับสำรวจข้อมูลประชาชน และมีการปรับปรุงข้อมูลเป็นปัจจุบัน

2 ๓.๒.เพื่อวางแผนส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคในชุมชนอย่างมีมาตรฐานและต่อเนื่องโดยการมีส่วนร่วม

๒.แผนส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคในชุมชหมู่ที่ ๑ – ๔ และหมู่ที่ ๑๐-๑๓ ตำบลฉลุง ปี ๒๕๖๑ – ๒๕๖๓

3 ๓.๓.เพื่อวางแผนจัดบริการเชิงรุกโดยการเยี่ยมบ้านผู้สูงอายุติดเตียง,ติดบ้าน รวมทั้งผู้ด้อยโอกาสในปีงบประมาณ ๒๕๖๑
  1. มีแผนวางแผนจัดบริการเชิงรุกโดยการเยี่ยมบ้านผู้สูงอายุติดเตียง,ติดบ้าน รวมทั้งผู้ด้อยโอกาสในปีงบประมาณ ๒๕๖๑ ในหมู่ที่ ๑ – ๔ และหมู่ที่ ๑๐-๑๓ ตำบลฉลุง โดย โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล ตำบลฉลุงและเครือข่าย
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม

-ขั้นเตรียม ๑. เขียนโครงการขออนุมัติคณะกรรมการกองทุนฯ - ขั้นดำเนินการ ๒.ประชุมวางแผนทีมหมอครอบครัวของโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล ตำบลฉลุง ๓.ประชุมทีมผู้สำรวจ(อาสาสมัครสาธารณสุขทุกคนในเขตรับผิดชอบโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล ตำบลฉลุง) ชี้แจงแนวทางการสำรวจกลุ่มเป้าหมาย
๔.อาสาสมัครสาธารณสุขสำรวจข้อมูลประชาชนทุกหลังคาเรือนในเขตรับผิดชอบที่อาศัยอยู่ในพื้นที่จริงเกิน ๖ เดือน
๕. โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล ตำบลฉลุง นำข้อมูลดิบที่ได้จากสำรวจของอาสาสมัครสาสุขบันทึกข้อมูลในโปรแกรมจัดบริการเพื่อประมวลผลและแยกประชากรตามหลังคาเรือนและกลุ่มเป้าหมาย ๖.นำเสนอข้อมูลกับผู้มีส่วนเกี่ยวข้องเพื่อวางแผนร่วมสนับสนุนกิจกรรมการปฏิบัติงานเยี่ยมบ้านเชิงรุกในกลุ่มเป้าหมายในปีงบประมาณ ๒๕๖๑ ต่อไป -ขั้นประเมินผลสรุปโครงการ ๗.สรุปแผนส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคและแผนจัดบริการเชิงรุก พร้อมสรุปโครงการส่งสำนักงานเลขาฯกองทุนหลักประกันสุขภาพ อบต.ฉลุง

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ

๑ มีข้อมูลประชาชนในเขตเขตอบต.หมู่ที่ ๑ – ๔ และหมู่ที่ ๑๐-๑๓ ตำบลฉลุง ได้รับสำรวจข้อมูลประชาชนและมีการปรับปรุงข้อมูลเป็นปัจจุบัน ๒ มีการวางแผนส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคในชุมชนอย่างมีมาตรฐานและต่อเนื่องโดยการ ๓ มีการจัดบริการเชิงรุกโดยการเยี่ยมบ้านผู้สูงอายุติดเตียง,ติดบ้าน, ผู้ด้อยโอกาสและกลุ่มอื่นๆ ได้อย่างครอบคลุมต่อเนื่องอย่างน้อย ๓ ปี

stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 4 ส.ค. 2560 09:27 น.