โครงการสูงวัยคุณภาพ ปี 2564
ชื่อโครงการ | โครงการสูงวัยคุณภาพ ปี 2564 |
รหัสโครงการ | 64-L4119-1-2 |
ประเภทการสนับสนุน | ประเภท 1 สนับสนุนการจัดบริการสาธารณสุขของ หน่วยบริการ/สถานบริการ/หน่วยงานสาธารณสุข |
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ | หน่วยบริการหรือสถานบริการสาธารณสุข เช่น รพ.สต. |
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ | โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านศรีท่าน้ำ |
วันที่อนุมัติ | 5 เมษายน 2564 |
ระยะเวลาดำเนินโครงการ | 1 พฤศจิกายน 2563 - 30 กันยายน 2564 |
กำหนดวันส่งรายงาน | 30 กันยายน 2564 |
งบประมาณ | 8,650.00 บาท |
ผู้รับผิดชอบโครงการ | นางสาวฮาลีเม๊าะ ยือเลาะ |
พี่เลี้ยงโครงการ | - |
พื้นที่ดำเนินการ | ตำบลธารโต อำเภอธารโต จังหวัดยะลา |
ละติจูด-ลองจิจูด | 6.167,101.187place |
งวด | วันที่งวดโครงการ | วันที่งวดรายงาน | งบประมาณ (บาท) | |||
---|---|---|---|---|---|---|
จากวันที่ | ถึงวันที่ | จากวันที่ | ถึงวันที่ | |||
1 | 0.00 | |||||
รวมงบประมาณ | 0.00 |
คำเตือน : รวมงบประมาณของทุกงวด (0.00 บาท) ไม่เท่ากับ งบประมาณโครงการ (8,650.00 บาท)
(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)
กลุ่มเป้าหมาย | จำนวน(คน) | |
---|---|---|
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย | ||
กลุ่มผู้สูงอายุ | 35 | keyboard_arrow_down |
กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มผู้สูงอายุ : |
||
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ |
สถานการณ์ปัญหา | ขนาด |
---|
ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล
การเปลี่ยนแปลงทางโครงสร้างประชากรโลก ทำให้สัดส่วนของประชากรกลุ่มผู้สูงอายุเพิ่มมากขึ้น การพัฒนาคุณภาพชีวิตประชาชน เป็นเป้าหมายที่สำคัญในการพัฒนาประเทศ ซึ่งคุณภาพชีวิตที่ดียอมหมายถึงบุคคลนั้นมีสุขภาพและความเป็นอยู่ที่ดี มีศักยภาพในการช่วยเหลือตนเองและครอบครัว ให้ดำรงอยู่อย่างปกติสุขตามศักยภาพแห่งตน ปัจจุบันจำนวนเเละสัดส่วนผู้สูงอายุของประเทศไทยเพิ่มขึ้นในอัตราที่รวดเร็ว ส่งผลให้ประชากรไทยเข้าสู่ภาวะสังคมผู้สูงอายุหรือ"ภาวะประชากรผู้สูงอายุ"อันจะก่อให้เกิดปัญหาสุขภาพ เจ็บป่วยเรื้อรังเพิ่มมากขึ้น และมีค่าใช้จ่ายสูงในการดูแลปัญหาสุขภาพ สำหรับผู้สูงอายุนั้น ปัจจุบันมีจำนวนมากขึ้นเป็นผลจากความก้าวหน้าทางการแพทย์และสาธารณสุข โดยสิ่งเหล่านี้แสดงให้เห็นว่าประชากรผู้สูงอายุจะเป็นประชากรกลุ่มใหญ่ในอนาคตอันใก้ลนี้ประกอบกลุ่งผู้สูงอายุมักเป็น กลุ่มที่มีความเสี่ยงต่อการเกิดโรคต่างๆสูง โดยเฉพาะโรคเรื้อรัง ได้แก่เบาหวาน โรคความดันโลหิตสูง โรคกระดูกพรุน ข้อเข่าเสื่อม โรคหัวใจ โรคหลอดเลือดสมองและโรคความจำเสื่อม ฯลฯโดยส่วยใหญ่มักพบว่าผู้สูงอายุมีโรคประจำตัวเรื้อรังมากกว่า๑โรคขึ้นไป ดังนั้นผู้สูงอายุจึงจำเป็นต้องได้รับการดูแลเป็นพิเศษ ตามนโยบายของรัฐบาลด้านสาธารณสุขซึ่งเน้นการดำเนินการด้านสาธารณสุขเชิงรุกให้ทั่วถึงและครอบคลุมทั้งการส่งเสริมสุขภาพ การป้องกันโรค การรักษาพยาบาล การฟื้นฟูสภาพ และการพัฒนาการบริการสาธารณสุข โดยเน้นการดูแลเเละส่งเสริมสุขภาพผู้สูงอายุ ทางชมรมผู้สูงอายุโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านศรีท่าน้ำ ได้เล็งเห็นถึงความสำคัญของกลุ่มผู้สูงอายุ จึงได้จัดตั้งชมรมผู้สูงอายุโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลศรีท่าน้ำ ขึ้นมาจากความเห็นชอบ และสนับสนุนจากตัวของผู้สูงอายุเองและอสม.รวมทั้งประชาชนทุกคนในชุมชนซึ่งในกิจกรรมของชมรมได้สนับสนุน ให้สมาชิกในชมรมมีการรวมกลุ่มจัดเวทีสาธารณะเพื่อผู้สูงอายุได้มีการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ประสบการณ์ชีวิต มีการปรึกษาหารือเรื่องส่วนตัว และจัดกิจกรรมการดูแลสุขภาพโดยเจ้าหน้าที่สาธารณสุข ทั้งการดูแลเสริมทักษะการรับประทานอาหาร การออกกำลังกาย และวิธีผ่อนคลายความเครียด การตรวจสุขภาพขั้นพื้นฐานเช่นการตรวจวัดความดันโลหิต การเจาะน้ำตาลในเลือด เป็นต้น เพื่อชมรมจะมีการดำเนินงานที่ต่อเนื่องเป็นประจำทุกปี เพื่อความยั่งยืนของชมรมและเป็นการส่งเสริมให้สมาชิกมีโอกาส เข้ามาร่วมสนุก ผ่อนคลาย ตรวจสุขภาพดังเช่นทุกปีที่ผ่านมา
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จ | ขนาดปัญหา | เป้าหมาย 1 ปี | |
---|---|---|---|
1 | เพื่อให้ผู้สูงอายุได้รวมกลุ่มทำกิจกรรมร่วมกันกับผู้ดูแลและให้ความช่วยเหลือดูแลซึ่งกันและกันในชุมชน ร้อยละ 90 ผู้สูงอายุได้รวมกลุ่มทำกิจกรรมร่วมกันกับผู้ดูแลและให้ความช่วยเหลือดูแลซึ่งกันและกันในชุมชน |
0.00 |
1.ประชุมชี้แจ้งรายละเอียดโครงการ 2.ประชาสัมพันธ์โครงการผ่านไวนิลในจุดสำคัญของหมู่บ้าน 3.จัดกิจกรรมตรวจคัดกรอง วัดความดันโลหิตสูง ชังน้ำหนัก วัดส่วนสูง คำนวนค่า BMI วัดรอบเอว 4.ทำทะเบียนตรวจสุขภาพรายบุคคล 5.จัดการอบรมให้ความรู้ผู้สูงอายุในชุมชน 6.การจัดเวทีเเลกเปลี่ยนเรียนรู้ระหว่างสมาชิกชมรมผู้สูงอายุด้วยการเล่าประสบการณ์การปรึกษาหารือสมาชิกด้วยกัน 7.ติดตามเยี่ยมบ้านโดยทีมอาสาสมัครดูแลผู้สูงอายุเเละผู้ดูแลผู้สูงอายุในชุมชน 8.ลงบันทึกข้อมูลตามระบบโปรแกรม 9.สรุปและรายงานผลการดำเนินงานฯให้ผู้บังคับบัญชาและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องต่อไป
1.ผู้สูงอายุมีสุขภาพร่างกายเเละจิตใจที่ดีขึ้นรวมถึงสามารถเข้าสังคมได้อย่างมีความสุข 2.ผู้สูงอายุมีกลุ่มเพื่อทำกิจกรรมร่วมกันอย่างมีความสุข 3.สมาชิกชมรมเข้าร่วมชมรมอย่างสมำเสมอ เป็นประจำ มีการจัดกิจกรรมต่อเนื่อง อย่างยั่งยืน
โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 9 เม.ย. 2564 10:16 น.