กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการเครือข่ายชุมชน ร่วมพัฒนา ส่งเสริมสุขภาพแม่และเด็ก ปี 2560
รหัสโครงการ 60-L8423-1-03
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 1 สนับสนุนการจัดบริการสาธารณสุขของ หน่วยบริการ/สถานบริการ/หน่วยงานสาธารณสุข
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ หน่วยบริการหรือสถานบริการสาธารณสุข เช่น รพ.สต.
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านเจ๊ะเก
วันที่อนุมัติ 2 สิงหาคม 2560
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 1 พฤษภาคม 2560 - 31 ธันวาคม 2560
กำหนดวันส่งรายงาน
งบประมาณ 29,660.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นางวนิดาสนิ
พี่เลี้ยงโครงการ นางนิมลต์
พื้นที่ดำเนินการ โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านเจ๊ะเก อำเภอระแงะ จังหวัดนราธิวาส
ละติจูด-ลองจิจูด 6.277,101.691place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานอนามัยแม่และเด็ก
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
งวดวันที่งวดโครงการวันที่งวดรายงานงบประมาณ
(บาท)
จากวันที่ถึงวันที่จากวันที่ถึงวันที่
1 1 พ.ค. 2561 31 ธ.ค. 2561 29,660.00
รวมงบประมาณ 29,660.00
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มวัยทำงาน 118 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มวัยทำงาน :

กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด 90 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด :

stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

การตั้งครรภ์เป็นระยะพัฒนาการที่สำคัญของครอบครัว โดยเฉพาะการตั้งครรภ์ครั้งแรกการตั้งครรภ์ทำให้ร่างกายมีการเปลี่ยนแปลงอย่างมากทั้งในด้านกายวิภาค ชีวเคมี และสรีรวิทยาการเปลี่ยนแปลงนี้ดำเนินไปตลอดการตั้งครรภ์และร่างกายจะมีการปรับตัวอย่างมากมายกับ การเปลี่ยนแปลงของระบบต่างๆของร่างกายที่เจริญเติบโตอย่างรวดเร็ว ร่างกายจะมีการเปลี่ยนแปลงอย่างสลับซับซ้อนสัมพันธ์กับปัจจัยต่างๆ เช่น สภาพแวดล้อม เพื่อเตรียมสิ่งแวดล้อมให้เหมาะสมกับการเจริญเติบโตของทารกในครรภ์และเตรียมความพร้อมสำหรับการคลอด นอกจากนี้หญิงตั้งครรภ์ ยังต้องปรับตัวกับการเปลี่ยนแปลงทางจิตสังคม เช่น บทบาทหน้าที่ ภาพลักษณ์ สัมพันธภาพกับครอบครัว เป็นต้น
เป้าหมายสูงสุดของงานอนามัยแม่และเด็กที่สำคัญประการหนึ่ง คือ ลูกเกิดรอด แม่ปลอดภัย โดยมีกลวิธีที่จะบรรลุเป้าหมายดังกล่าว ได้แก่ การให้บริการตั้งแต่ก่อนการตั้งครรภ์และขณะตั้งครรภ์ การดูแลขณะเจ็บครรภ์คลอด การประเมินภาวะเสี่ยงของมารดาขณะตั้งครรภ์จะสามารถป้องกันและแก้ไขปัญหาทั้งที่จะเกิดแก่มารดาและทารกได้ ปัจจัยด้านอายุมารดาที่อายุน้อยและมารดาที่อายุมากมีผลต่อการตั้งครรภ์และการคลอดทั้งโดยทางตรงและทางอ้อม เช่น การคลอดก่อนกำหนด วิธีการคลอด น้ำหนักทารกแรกเกิด และการตายของมารดาและทารกปริกำเนิด ปัญหาการตั้งครรภ์เหล่านี้เป็นผลมาจากการตั้งครรภ์ในช่วงอายุที่ไม่เหมาะสม ภาวะเสี่ยงต่างๆขณะตั้งครรภ์ของหญิงตั้งครรภ์ การดูแลสุขภาพตนเองขณะตั้งครรภ์ ทั้งในเรื่องการรับบริการฝากครรภ์ที่ครบตามเกณฑ์ ด้านโภชนาการ การสร้างเสริมภูมิคุ้มกันโรค การออกกำลังกาย และ การพักผ่อนเพื่อผ่อนคลาย รวมไปถึงการดูแลสุขภาพจิตใจและการปรับตัวเพื่อรับการเปลี่ยนแปลงทั้งด้านด้านร่างกาย ด้านจิตใจ และด้านสังคมเพื่อรองรับบทบาทหน้าที่ และภาพลักษณ์ใหม่ที่จะเกิดขึ้น
โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านเจ๊ะเก เป็นพื้นที่หนึ่งที่มีการตั้งครรภ์และการเพิ่มตามธรรมชาติที่เพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง ซึ่งสถานการณ์ของงานอนามัยแม่และเด็กในปี 2559 ที่ผ่านมามีผลงานที่สำคัญและเร่งด่วนในการแก้ปัญหา ดังนี้คือ 1.ภาวะซีดของหญิงตั้งครรภ์ซึ่งยังอยู่ในอัตราที่สูงห้ามเกินร้อยละ 10 ผลงานอยู่ที่ร้อยละ 17.74 อัตราของทารกแรกเกิดน้ำหนักน้อยกว่าเกณฑ์ห้ามเกินร้อยละ 7 ผลงานอยู่ที่ร้อยละ 18.53 และผลงานอีกหลายประการที่ถึงแม้จะถึงเกณฑ์แต่ก็ต้องพัฒนาอย่างต่อเนื่อง เช่น การฝากครรภ์ก่อนอายุครรภ์ 12 สัปดาห์ การฝากครรภ์ครบ 4 ครั้งตามเกณฑ์และการคลอดในสถานบริการจากสถานการณ์ดังกล่าว จึงได้หาวิธีการเพื่อปรับปรุงการให้บริการในงานอนามัยแม่และเด็กของโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านเจ๊ะเกขึ้น เพื่อพัฒนาการให้บริการในงานอนามัยแม่และเด็กต้องมีการปรับรูปแบบและกลวิธีการให้บริการที่สอดคล้องกับความต้องการตามความเหมาะสมของมาตรฐานการบริการสาธารณสุขและด้านวัฒนธรรม ซึ่งจะก่อให้เกิดคุณภาพการบริการที่มุ่งเน้นการมีส่วนร่วมของชุมชน สามารถช่วยให้หญิงตั้งครรภ์ดำเนินชีวิตได้เหมาะสมกับภาวะสุขภาพ ปรับวิถีชีวิตและดูแลตนเองให้ดำเนินไปได้ภายใต้ความผันแปรของช่วงพัฒนาการ เพื่อคุณภาพชีวิตของมารดาและทารกโดยมุ่งมั่นที่จะน้อมนำหลักการและรูปแบบของอิสลามมาประยุกต์ใช้ในงานบริการเพื่อส่งเสริมสุขภาพแม่และเด็กอย่างเต็มที่ ทั้งรูปแบบของการให้บริการ วิธีการให้การดูแลมารดาและทารกในครรภ์ที่จะต้องใช้หลักการอิสลาม การตั้งครรภ์แบบอิสลาม การส่งเสริมสุขภาพในขณะตั้งครรภ์แบบอิสลาม ซึ่งเป็นวิธีที่สมบูรณ์แบบที่สุดแล้วในการดำเนินชีวิตของผู้คน ดังนั้น โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านเจ๊ะเกตำบลบาโงสะโต อำเภอระแงะ จังหวัดนราธิวาส เล็งเห็นถึงความสำคัญที่จะจัดให้มีโครงการเครือข่ายชุมชน ร่วมพัฒนา ส่งเสริมสุขภาพแม่และเด็ก ปี 2560 เพื่อแก้ไขปัญหาดังกล่าว นำไปสู่การยกระดับคุณภาพชีวิตหญิงตั้งครรภ์ให้ได้รับบริการและให้การดูแลครบมาตรฐาน มีสุขภาพที่ดีและคลอดบุตรแล้วยังเป็นการส่งเสริมให้กลุ่มเป้าหมายสามารถดูแลสุขภาพได้อย่างสอดคล้องกับบริบทวิถีมุสลิม เป็นไปตามครรลองของศาสนาได้ทั้งสุขภาพดีและได้ทั้งบุญ

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 1. เพื่อให้หญิงตั้งครรภ์เข้ารับการฝากครรภ์ก่อนอายุครรภ์12สัปดาห์

 

2 2. เพื่อให้หญิงตั้งครรภ์ฝากครรภ์ครบ 4ครั้งตามเกณฑ์

 

3 3. เพื่อลดอัตราการเกิดภาวะซีดในหญิงตั้งครรภ์

 

4 4. เพื่อให้หญิงตั้งครรภ์คลอดในสถานบริการสาธารณสุข

 

5 5. เพื่อให้คู่สามีภารยาที่ภารยาอยู่ในระหว่างตั้งครรภ์ มีความรู้ ความเข้าใจ และมีทักษะเกี่ยวกับการดูแลสุขภาพของตนเองในระยะตั้งครรภ์ระยะคลอด และการดูแลหลังคลอดอย่างถูกต้อง

 

stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
วันที่ชื่อกิจกรรมกลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
15 ก.ย. 60 จัดประชุมคณะกรรมการพัฒนา รพ.สต.และภาคีฯ 90 2,250.00 2,250.00
18 ก.ย. 60 จัดกิจกรรมโรงเรียนพ่อแม่ 90 9,300.00 9,300.00
20 ก.ย. 60 จัดอบรมภาคีเครือข่ายขับเคลื่อนงานอนามัยแม่และเด็ก 50 5,700.00 5,700.00
21 ก.ย. 60 การจัดกิจกรรมพัฒนาศักยภาพ อสม. 49 4,410.00 4,410.00
10 ต.ค. 60 การจัดให้มีคลินิกพิเศษสำหรับกลุ่มเป้าหมายเสี่ยง 40 8,000.00 8,000.00
16 พ.ค. 61 จัดอบรมภาคีเครือข่ายขับเคลื่อนงานอนามัยแม่และเด็ก 0 0.00 -
รวม 319 29,660.00 5 29,660.00

ขั้นเตรียมการ 1. ประชุมเจ้าหน้าที่ รพ.สต. พร้อมกับแกนนำสุขภาพในพื้นที่
2. ร่วมกำหนดวิสัยทัศน์และแนวทางในการแก้ไขปัญหา 3. กำหนดแนวทางปฏิบัติเตรียมความพร้อม

ขั้นดำเนินการ 1. จัดประชุมคณะกรรมการพัฒนารพ.สต.บ้านเจ๊ะเก เพื่อหาแนวทางในการพัฒนางานอนามัยแม่และเด็กทุกหมู่บ้าน เพื่อร่วมระดมความเห็นแนวทางในการแก้ปัญหา และการกำหนดทิศทางการแก้ปัญหา 2. พัฒนากิจกรรมโรงเรียนพ่อแม่ตามนโยบายโรงพยาบาลสายใยรัก (เน้นการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ร่มกัน) เพื่อสร้างความรู้ ความเข้าใจ ทักษะในการดูแลตนเองของหญิงตั้งครรภ์ ตลอดจนเข้ารับบริการสาธารณสุขตามมาตรฐานงานอนามัยแม่และเด็กอย่างครบถ้วนสมบูรณ์ อีกทั้งกระตุ้นให้เกิดความรัก และเยื่อใยสัมพันธ์แห่งครอบครัว ภายใต้นโยบายสายใยรักให้ครอบครัว โดยเน้นให้สามีมีบทบาทสำคัญในการดูแลภารยาในขณะตั้งครรภ์ด้วย
3. พัฒนานวัตกรรมโรงเรียนพ่อแม่วิถีมุสลิม โรงเรียนพ่อแม่ที่สอดคล้องกับวิถีความเชื่อของมุสลิม เพื่อให้หญิงตั้งครรภ์และสามีได้มีโอกาสในการพัฒนาเรื่องศาสนา องค์ความรู้เรื่องศาสนา บทบาททางศาสนาที่สามีและภารยาพึงมีและพึงปฏิบัติ
4. จัดให้มีการอบรมเครือข่ายกลุ่มพัฒนางานอนามัยแม่และเด็กในชุมชน เพื่อรับทราบปัญหา ร่วมกันกำหนดแนวทางในการขับเคลื่อนงานอนามัยแม่และเด็กโดยการจัดการของชุมชนและกำหนดบทบาทชัดเจนในภารกิจต่างๆที่ชุมชนสามารถขับเคลื่อนได้ด้วยตัวเอง 5. จัดให้มีคลินิกพิเศษสำหรับหญิงตั้งครรภ์ที่มีภาวะเสี่ยงต่างๆ โดยเฉพาะภาวะเสี่ยงเรื่องซีด เป็นคลินิกสำหรับการพัฒนาองค์ความรู้ในกลุ่มเป้าหมาย การส่งเสริมสุขภาพ และการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพ จัดให้มีเวทีสำหรับการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ร่วมกันเพื่อการแก้ปัญหา และมาตรการการติดตามอย่างต่อเนื่อง 6. พัฒนาระบบงานอนามัยแม่และเด็กที่มีมาตรฐาน มีแนวทางการปฏิบัติที่สอดคล้องกับบริบทของพื้นที่ เน้นการพัฒนาระบบบริการที่สร้างความพึงพอใจสูงสุดของผู้รับบริการ 7. อบรมพัฒนาศักยภาพอาสาสมัครสาธารณสุข ในประเด็นการดูแลหญิงตั้งครรภ์ในเขตรับผิดชอบ เพื่อให้อาสาสมัครสาธารณสุขมีศักยภาพอย่างเต็มเปี่ยมในการให้การดูแลตามบทบาทหน้าที่ อีกทั้งจัดให้มีการประกวดอาสาสมัครสาธารณสุขที่ปฏิบัติงานดีเด่นในงานอนามัยแม่และเด็กด้วย เพื่อสร้างแรงจูงใจและมีกำลังใจในการพัฒนางานต่อไป 8. จัดให้มีบริการเยี่ยมบ้านในหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอดอย่างต่อเนื่องโดยทีมเจ้าหน้าที่และอาสาสมัครสาธารณสุข และเครือข่ายชุมชน

ขั้นประเมินผล 1. ประเมินผลตามวัตถุประสงค์โครงการ 2. ประเมินความก้าวหน้าโครงการ 3. สรุปผลการดำเนินงาน

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ
  1. หญิงตั้งครรภ์มีสุขภาพกาย สุขภาพใจที่สมบูรณ์แข็งแรง มีความพร้อมในการตั้งครรภ์ตลอดจนมีความพร้อมในการต้อนรับการมีลูกน้อยทั้งในเรื่องของทักษะการเลี้ยงดูและการมีสุขภาพที่สมบูรณ์แข็งแรงทุกประการทั้งมารดาและบุตร 2.เกิดสายใยรักแห่งครอบครัว ที่จะนำไปสู่การเป็นครอบครัวที่สมบูรณ์แบบในเรื่องความรัก ความเข้าใจ และความอบอุ่นในสายสัมพันธ์อย่างมั่นคงและยั่งยืน นำมาซึ่งความสุขของทุกๆคนในครอบครัว
  2. สานต่อหลักธรรมนำสุขภาพให้ประจักษ์แก่มวลมนุษย์ ว่าหลักการอิสลามเป็นความสมบูรณ์แบบในทุกวิถีแห่งชีวิต ไม่เว้นแม่กระทั่งวิถีแห่งสุขภาพ อิสลามยังมีการกล่าวถึง ใช้ประโยชน์ได้จริง ได้ผล แก้ปัญหาประชาชาติได้ทั้งปวง
stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 7 ส.ค. 2560 08:36 น.