กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการป้องกันและควบคุมโรคไข้เลือดออก
รหัสโครงการ ปี2564-L5275-02-02
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 2 สนับสนุนกิจกรรมสร้างเสริมสุขภาพ การป้องกันโรคของกลุ่มหรือองค์กรประชาชน/หน่วยงานอื่น
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ หน่วยงานอื่นๆ ที่ไม่ใช่หน่วยงานสาธารณสุข เช่น โรงเรียน
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ โรงเรียนพัฒนาการศึกษา
วันที่อนุมัติ 22 กุมภาพันธ์ 2564
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 1 พฤษภาคม 2564 - 30 กันยายน 2564
กำหนดวันส่งรายงาน 31 ตุลาคม 2564
งบประมาณ 16,762.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นายแสละ หมัดอะดั้ม ผู้อำนวยการโรงเรียนพัฒนาการศึกษา
พี่เลี้ยงโครงการ
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลทุ่งตำเสา อำเภอหาดใหญ่ จังหวัดสงขลา
ละติจูด-ลองจิจูด 6.9,100.244place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานกลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีความเสี่ยง
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน 120 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน :

กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

โรคไข้เลือดออกนับเป็นปัญหาสาธารณสุขไทยตลอดมาเนื่องจากความรุนแรงของโรคไข้เลือดออกส่งผลต่อสุขภาพของผู้ป่วยเอง ชุมชน สังคม ตามลำดับ เพราะโรคไข้เลือดออกเป็นโรคติดต่อที่สร้างความสูญเสียชีวิตและค่าใช้จ่ายในการรักษาพยาบาลและความสูญเสียทางด้านเศรษฐกิจของประเทศ ทั้งที่ทุกฝ่ายได้ช่วยกันรณรงค์ป้องกันและควบคุมมาโดยตลอดและได้รับความร่วมมือจากหน่วยงานต่าง ๆ ทั้งภาครัฐและภาคเอกชน พบว่าปัญหาโรคไข้เลือดออกไม่ได้ลดลงมากนัก ยังคงเป็นปัญหาสำคัญในระดับประเทศเรื่อยมา โรงเรียนพัฒนาการศึกษา อำเภอหาดใหญ่ มีนักเรียนที่อยู่ประจำและนักเรียนไปกลับ จำนวนนักเรียนทั้งหมด 106 คน นักเรียนที่อยู่ประจำ จำนวน 45 คน จากสถิติปีที่แล้วพบนักเรียนอยู่ประจำที่ป่วยเป็นไข้เลือดออก ตั้งแต่เดือนมกราคม ถึงเดือนตุลาคม 2562 จำนวน 2 ราย คิดเป็นอัตราป่วยต่อแสนประชากร 1,886.79 ต่อจำนวนนักเรียน 106 คน จากปัญหาการแพร่ระบาดของโรคไข้เลือดออกที่มีมาอย่างต่อเนื่อง ทำให้เกิดการปรับเปลี่ยนแนวคิดในการแก้ไขปัญหา จากการตั้งรับไปสู่นโยบายเชิงรุกโดยใช้ยุทธศาสตร์การมีส่วนร่วมให้นักเรียนได้ตระหนักถึงสภาพปัญหาของโรคไข้เลือดออก เกิดความรับผิดชอบต่อปัญหาที่เกิดขึ้นในโรงเรียนและชุมชนของตนเอง พร้อมทั้งหาวิธีการแก้ไข ซึ่งปัญหาของโรคไข้เลือดออกเป็นเรื่องที่เกี่ยวข้องกับพฤติกรรมและสิ่งแวดล้อม ดังนั้น การดำเนินงานป้องกันและควบคุมโรคไข้เลือดออก จึงต้องปรับเปลี่ยนให้สอดคล้องกับสถานการณ์ของโรคที่เปลี่ยนแปลงไป โดยเน้นให้นักเรียนเห็นความสำคัญและถือเป็นภารกิจที่ต้องช่วยกันกระตุ้นและชักนำให้ประชากร องค์กรชุมชน ตลอดจนเครือข่ายสุขภาพให้มีส่วนร่วมอย่างจริงจังและต่อเนื่อง จึงเป็นกิจกรรมสำคัญที่ต้องเร่งดำเนินการ

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 1.เพื่อให้นักเรียนมีความรู้ในการป้องกันโรคไข้เลือดออก

ร้อยละ 95 นักเรียนมีความรู้ในการป้องกันโรคไข้เลือดออก

0.00
2 2. ไม่พบอัตราป่วยของนักเรียนทั้งหมดในโรงเรียน
  • ร้อยละ 100 ของนักเรียนทั้งหมดของปี 2564
  • ไม่พบแหล่งลูกน้ำยุงลาย
0.00
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
  1. การเตรียมงาน     1.1 แต่งตั้งคณะทำงานป้องกันและควบคุมโรคไข้เลือดออก เพื่อกำหนดมาตรการ และแนวทางของสถานศึกษา
        1.2 จัดประชุมวางแผนการดำเนินงาน ติดตาม และประเมินผลการดำเนินงาน   2. กิจกรรมประชาสัมพันธ์ให้ความรู้     2.1 อบรมให้ความรู้นักเรียน ครูและบุคลากร เรื่อง โรคไข้เลือดออก     2.2 จัดบอดร์ดนิทรรศการให้ความรู้ โรคไข้เลือดออก   3. กิจกรรมรณรงค์และทำลายแหล่งเพาะพันธุ์ลูกน้ำยุงลายในโรงเรียน โดยวิธี     3.1 ทางกายภาพ รณรงค์ให้นักเรียนเดินสำรวจ พร้อมร่วมกันดำเนินการทำลายแหล่งเพาะพันธุ์ยุงลาย ในโรงเรียนและบริเวณหอพัก ทำความสะอาดในทุก ๆ วันศุกร์ของสัปดาห์     3.2 ทางชีวภาพ ส่งเสริมความรู้ให้นักเรียนศึกษาค้นคว้าโครงงานเกี่ยวกับสมุนไพรไล่ยุง เช่น โครงงานเกี่ยวกับผลิตภัณฑ์ไล่ยุง เช่น เทียนหอมไล่ยุง สเปย์ไล่ยุง เป็นต้น     3.3 ใช้สารเคมี ใส่สารเคมีทรายอะเบทพื้นที่ที่มีน้ำขังในโรงเรียนและบริเวณหอพัก โดยนักเรียนร่วมกับอสม. และพ่นสารเคมีกำจัดยุงลายในพื้นที่เสี่ยงและพื้นที่เกิดโรคทันทีเมื่อมีการระบาด
      4. การติดตามและประเมินผล แบบประเมินความรู้ก่อน-หลัง, เครื่องมือวัด(ดัชนีลูกน้ำยุงลาย, ดัชนีผู้ป่วย)   5. สรุปผลการดำเนินงานและรายงานให้คณะกรรมการกองทุนฯ ทราบเมื่อสิ้นสุดโครงการ
stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ

1.นักเรียน มีความรู้ ความเข้าใจ เกี่ยวกับโรคไข้เลือดออกและมีพฤติกรรมที่ถูกต้องเหมาะสม การป้องกันไม่ให้เกิดโรคไข้เลือดออก 2. นักเรียนทำกิจกรรมในการทำลายแหล่งเพาะพันธุ์ยุงลายอย่างต่อเนื่องสม่ำเสมอ 3. นักเรียนให้ความร่วมมือในการดำเนินการควบคุมและป้องกันโรคไข้เลือดออก 4.สามารถลดอัตราการป่วยของนักเรียนอยู่ประจำ

stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 16 เม.ย. 2564 15:36 น.