กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการ คุมได้ใจ ใส่ใจ ลดภัยแทรกซ้อน จากโรคเบาหวาน ความดันโลหิตสูง
รหัสโครงการ
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 1 สนับสนุนการจัดบริการสาธารณสุขของ หน่วยบริการ/สถานบริการ/หน่วยงานสาธารณสุข
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ หน่วยบริการหรือสถานบริการสาธารณสุข เช่น รพ.สต.
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ
วันที่อนุมัติ 10 มีนาคม 2564
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 1 เมษายน 2564 - 30 กันยายน 2564
กำหนดวันส่งรายงาน
งบประมาณ 16,800.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นายประจวบ มากหนู
พี่เลี้ยงโครงการ
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลบ่อทอง อำเภอหนองจิก จังหวัดปัตตานี
ละติจูด-ลองจิจูด 6.789,101.135place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานโรคเรื้อรัง
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

1.1 ด้วยสถานการณ์ปัจจุบัน กลุ่มโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง ยังคงเป็นปัญหาสาธารณสุขของประเทศไทย มีอัตราการเสียชีวิตก่อนวัยอันควรอายุ30-69 ปีจากโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง ที่สำคัญ ประกอบด้วย โรคหลอดเลือดสมอง โรคหัวใจขาดเลือด โรคเบาหวาน โรคความดันโลหิตสูง และโรคทางเดินหายใจอุดกั้น มีแนวโน้มเพิ่มขึ้นตั้งแต่ปี 2557 และมีแนวโน้มคงที่ในปี 2561 และโดยเฉพาะโรคแทรกซ้อนทางหลอดเลือดสมอง มีอัตราการเสียชีวิตก่อนวัยอันควรสูงสุดเท่ากับ 44.3รายต่อประชากรแสนคน โดยเฉพาะในเพศชายสูงกว่าเพศ 1.2 สภาพปัญหา : โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านทุ่งนเรนทร์ มีโรงพยาบาลหนองจิกเป็นแม่ข่าย เป็น รพ.สต.ระดับกลาง รับผิดชอบ 4 หมู่บ้าน ประชากร 3,350 คน ลักษณะเป็นชุมชนกึ่งเมือง การคมนาคมสะดวก อาชีพหลักส่วนใหญ่ประกอบอาชีพรับจ้าง รองลงมาทำการเกษตรทำนาทำสวน และค้าขาย ประชาชนสามารถเข้าถึงความสะดวกสบายในการจับจ่าย ซื้อของ ตลาด/ร้านค้า มีสินค้าหาซื้อได้ง่าย ตลาดในพื้นที่ตำบลมีเกือบทุกวัน รวมทั้งมีร้านสะดวกซื้อ เซเว่น มินิบิ๊กซี สามารถเข้าถึงสินค้าและบริการ โดยเฉพาะอาหารได้ง่ายและรวดเร็ว ประชาชนยังไม่มีความตระหนัก หรือมีความรู้ในการเลือก ในการอุปโภค บริโภค รวมทั้งพฤติกรรมสุขภาพในการดูแลตนเอง ขาดการออกกำลังกาย การใช้ชีวิตประจำวันที่มีแต่ความเครียด การดื่มน้ำหวานมากเกินความจำเป็น จะเห็นได้ว่า ในความสะดวกของการเข้าถึงสินค้าและบริการ อุบัติการณ์การเกิดโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง โดยเฉพาะโรคเบาหวานและความดันโลหิตสูง ยังคงมีเพิ่มขึ้นในพื้นที่ เขตรับผิดชอบ รพ.สต.บ้านทุ่งนเรนทร์ มีผู้ป่วยเบาหวานรายใหม่เพิ่มขึ้นทุกปี ตั้งแต่ปี พศ.2561-2563จำนวน5/6/3 ราย ส่วนผู้ป่วยความดันโลหิตสูง ตั้งแต่ปี 2561-2563 จำนวน 13/4/8 ตามลำดับ และผลตัวชี้วัดร้อยละของผู้ป่วยเบาหวานที่ควบคุมได้(มากกว่าร้อยละ 40) (จากข้อมูลHDC)ปี 2561 ได้ 9.33% ปี 2562 ได้ 14.57 % ปี 2563 ได้ 14.76 % ผลตัวชี้วัดผู้ป่วยความดันโลหิตสูงที่ควบคุมได้ (มากกว่าร้อยละ 50) (จากข้อมูลHDC) ปี 2561 ได้ 21.05 % ปี 2562 ได้ 55.76 % ปี 2563 ได้ 46.22 % มีผู้ป่วยที่มีภาวะโรคแทรกซ้อนทางหลอดเลือดสมอง จำนวน 14 คน แทรกซ้อนทางหลอดเลือดหัวใจ จำนวน 11 คน มีภาวะแทรกซ้อนทางตา 3 คน มีภาวะแทรกซ้อนทางเท้า จำนวน 3 คน และมีภาวะแทรกซ้อนทางไตที่ต้องฟอกไต จำนวน 3 คน และล้างไตทางหน้าท้อง จำนวน 2 คน จะเห็นได้ว่าในพื้นที่สาเหตุของปัญหายังคงอยู่ ประชาชนยังไม่มีความรู้ การคุมเบาหวานและคุมความดันโลหิตได้ ยังไม่ผ่านเกณฑ์ และเพื่อป้องกันไม่ให้มีผู้ป่วยที่มีภาวะแทรกซ้อนทางหลอดเลือดสมอง หลอดเลือดหัวใจ ภาวะแทรกซ้อนทางเท้า ภาวะแทรกซ้อนทางตา และภาวะไตวาย เกิดเพิ่มขึ้นในปี 2564 ส่งผลให้เกิดความคิดพัฒนาปรับพฤติกรรมคนในชุมชนโดยการจัดทำโครงการให้ความรู้ในการควบคุมเบาหวาน และคุมความดันโลหิตสูงให้อยู่ในเกณฑ์ที่เหมาะสม ที่ควบคุมได้ ลดอาหารหวาน มัน เค็ม เพิ่มการออกกำลังกาย ได้ป้องกันการเกิดภาวะแทรกซ้อน เพื่อให้มีคุณภาพชีวิตที่ดี และเกิดการดูแลตนเองแบบยั่งยืนได้ต่อไป 1.3 ความเร่งด่วน / ผลที่คาดหวัง : จากสถานการณ์ดังกล่าว จึงมีความจำเป็นต้องมีการดำเนินงานอย่างต่อเนื่องและมีประสิทธิภาพ เพื่อแก้ไขปัญหา เฝ้าระวัง ติดตามกลุ่มป่วยเบาหวาน ความดันโลหิตสูงที่ไม่สามารถควบคุมได้ เพื่อลดปัจจัยเสี่ยงต่างๆ ป้องกันไม่ให้เกิดภาวะแทรกซ้อนได้ และเกิดเครือข่ายในการดูแลสุขภาพที่เข้มแข็งโดยเน้นการสร้างเสริมสุขภาพ  การพึ่งพาตนเอง รพ.สต.บ้านทุ่งนเรนทร์ จึงได้จัดทำโครงการ คุมได้ ใส่ใจ ลดภัยแทรกซ้อน จากโรคเบาหวาน ความดันโลหิตสูง โดยใช้กลไกการดำเนินงานของเครือข่ายบริการปฐมภูมิ และเครือข่ายสุขภาพในชุมชน เพื่อขับเคลื่อนงานโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง ในการเฝ้าระวังกลุ่มป่วยโรคเบาหวานและความดันโลหิตสูงที่ไม่สามารถควบคุมได้โดยให้มีความรู้เข้าใจที่ถูกต้องมีการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพที่เหมาะสม ไม่ให้เกิดโรคแทรกซ้อน โดยให้ระดับน้ำตาลและความดันโลหิตอยู่ในเกณฑ์ที่เหมาะสม เพื่อให้มีคุณภาพชีวิตที่ดี และเกิดการดูแลตนเองแบบยั่งยืน

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 1.กลุ่มป่วยโรคเบาหวาน โรคความดันโลหิตสูงกลุ่มเป้าหมาย มีความรู้ ความเข้าใจ การบริโภคอาหาร3อ.2ส.ได้รับการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมเสริมสร้างทักษะในการจัดการตนเองเพื่อป้องกัน และชะลอภาวะแทรกซ้อนได้

 

0.00
2 2.เพื่อติดตามระดับ HbA1C>7% หลังได้เข่าร่วมโครงการปรับเปลี่ยนพฤติกรรม อีก 3 เดือน และ 6 เดือน

 

0.00
3 3.ผู้ป่วยเบาหวานที่มีค่า HbA1C>7% และผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูงที่คุมความดันโลหิตได้ไม่ดีที่เข้าร่วมโครงการมีความพึงพอใจภาพรวมในระดับดี

 

0.00
4 4.เพื่อป้องกันการเกิดภาวะแทรกซ้อนในผู้ป่วยเบาหวานและความดันโลหิตสูง

 

0.00
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
hourglass_emptyไม่มีกลุ่มกิจกรรม กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรม 180 16,800.00 0 0.00
1 เม.ย. 64 - 30 ก.ย. 64 1.ให้ความรู้เรื่องโรคเบาหวาน /ความดันโลหิตสูง 3อ.2ส 60 7,200.00 -
1 เม.ย. 64 - 30 ก.ย. 64 2.วิทยากรให้ความรู้ เรื่อง โรคเบาหวาน/ความดัน โลหิตสูง 3อ.2ส. 60 600.00 -
1 เม.ย. 64 - 30 ก.ย. 64 3.การติดตามเยี่ยมบ้าน โดย อสม.เครือข่าย 60 9,000.00 -
  • ประชุมกับสหวิชาชีพ แพทย์ พยาบาลผู้จัดการรายกรณี นักโภชนาการโรงพยาบาลหนองจิก เจ้าหน้าที่ประจำรพ.สต.บ้านทุ่งนเรนทร์ นักวิชาการสาธารณสุข อสม. เพื่อกำหนดบทบาทในการเตรียมความพร้อมในการทำกิจกรรม ชี้แจง ทำความเข้าใจโครงการในการแบ่งบทบาทหน้าที่ และวางแผนการดำเนินงานร่วมกัน - จัดเตรียมเอกสาร - แบบสอบถามข้อมูลทั่วไป - สำรวจพฤติกรรมการบริโภคอาหารในผู้ป่วยที่มีค่า HbA1C>7%และผู้ป่วยความดันโลหิตสูงที่คุมความดันไม่ได้ โดยจัดทำเป็นแบบสอบถาม - การเก็บข้อมูล FBS,HbA1C - แบบประเมินความพึงพอใจในการเข้าร่วมกิจกรรม ขั้นตอนการดำเนินงาน
    • รวบรวมข้อมูลอาหารที่ผู้ป่วยนิยมบริโภคเตรียมเป็นสื่อในรูปแบบโปสเตอร์ให้อ่านเข้าใจง่าย เกี่ยวกับอาหาร ที่ควรหลีกเลี่ยงในผู้ป่วยเบาหวาน/ความดันโลหิตสูง เพื่อให้นำไปปฏิบัติใช้ได้จริง
    • จัดอบรมให้ความรู้ให้กับผู้ป่วยโรคเบาหวานที่มี HbA1C>7%และผู้ป่วยความดันโลหิตสูงที่คุมไม่ได้ โดย  - พยาบาลผู้จัดการรายกรณี พยาบาลผู้รับผิดชอบงานโรคเรื้อรัง ระดับอำเภอ นักวิชาการสาธารณสุข
    • มีการติดตามเยี่ยมบ้านโดยอสม.รับผิดชอบในเดือนที่ 1 เดือนที่ 3 และเดือนที่ 6 รวม 3 ครั้งในผู้ป่วยแต่ละคน -เจาะ FBS, HbA1C ที่ระยะเวลา 3 เดือน และ 6 เดือน
    • ทำแบบประเมินความพึงพอใจหลังเข้าร่วมโครงการ
stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ

1.ผู้ป่วยโรคเบาหวาน โรคความดันโลหิตสูง กลุ่มเป้าหมายที่เข้าร่วมโครงการ มีความรู้ ความเข้าใจเรื่องโรคเบาหวาน โรคความดันโลหิตสูง มีพฤติกรรมสุขภาพ 3 อ. 2 ส.ที่เหมาะสม
2.ผู้ป่วยโรคเบาหวาน โรคความดันโลหิตสูง กลุ่มเป้าหมายที่เข้าร่วมโครงการ สามารถควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดและควบคุม  ความดันโลหิตได้ดีขึ้น มีค่าเฉลี่ย HbA1C ลดลง และค่าความดันโลหิตให้อยู่ในเกณฑ์ที่ควบคุมได้ จากก่อนเข้าร่วมโครงการ 3.ผู้ป่วยโรคเบาหวานและโรคความดันโลหิตสูง กลุ่มเป้าหมายที่เข้าร่วมโครงการสามารถคุมค่าน้ำตาลในเลือดและความดันโลหิตให้อยู่ในเกณฑ์ที่เหมาะสมได้อย่างต่อเนื่อง ลดภาวะแทรกซ้อนที่จะเกิดขึ้น และมีคุณภาพชีวิตที่ดี
4.ผู้ป่วยโรคเบาหวาน โรคความดันโลหิตสูง กลุ่มเป้าหมายที่เข่าร่วมโครงการสามารถนำความรู้ที่ได้รับ ไปแนะนำแก่คนในครอบครัวชุมชน ได้อย่างถูกต้องเหมาะสม เพื่อให้เกิดชุมชนเข้มแข็ง

stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 19 เม.ย. 2564 10:11 น.