กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการชุมชนร่วมใจการจัดการขยะ
รหัสโครงการ
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 1 สนับสนุนการจัดบริการสาธารณสุขของ หน่วยบริการ/สถานบริการ/หน่วยงานสาธารณสุข
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ หน่วยบริการหรือสถานบริการสาธารณสุข เช่น รพ.สต.
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ
วันที่อนุมัติ 10 มีนาคม 2564
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 1 เมษายน 2564 - 30 กันยายน 2564
กำหนดวันส่งรายงาน
งบประมาณ 18,000.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นายประจวบ มากหนู
พี่เลี้ยงโครงการ
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลบ่อทอง อำเภอหนองจิก จังหวัดปัตตานี
ละติจูด-ลองจิจูด 6.789,101.135place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานขยะ
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

เมื่อกล่าวถึงสุขภาพเป็นกระบวนการที่มีความเกี่ยวข้องกับสิ่งแวดล้อมอย่างแยกไม่ได้ และเป็นเหตุผลสำคัญในการดำเนินชีวิตประจำวันของมนุษย์เรา ย่อมมีการใช้ปัจจัยสี่ในการใช้ชีวิตเพื่อการอยู่รอด ผลของการใช้ปัจจัยดังกล่าวอาจจะมีผลกระทบต่อธรรมชาติอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ ดังนั้นจึงต้องมีการบริหารจัดการในการใช้ เพื่อรักษาและบำรุงไว้ซึ่งธรรมชาติให้มีความสมดุล ทางภาครัฐมีนโยบายในการรักษา  ความสะอาดของบ้านเมือง เป็นการพัฒนาคุณภาพชีวิตของประชากร จังหวัดปัตตานีก็เช่นเดียวกัน มีวาระของจังหวัด "เรารักปัตตานี ภูมิใจในปัตตานี " เชิญชวนประชาชนร่วมมือกันกำจัดแหล่งเพาะพันธ์ยุงลาย ทั้งในบ้านและรอบบ้านโดยไม่ต้องรอเจ้าหน้าที่เข้าไป แต่เป็นหน้าที่ของประชาชนทุกคนให้ร่วมมือกัน ตามมาตรการ ๓ เก็บ ๓ โรค ได้แก่ เก็บบ้านให้มิดชิดหรือเปลี่ยนน้ำทุกสัปดาห์ ไม่ให้ยุงมาวางไข่ได้ เก็บขยะ เก็บน้ำ ป้องกันการมาเกาะพักและป้องกันการวางไข่ของยุงลาย ซึ่งสามารถป้องกันได้ ๓ โรค คือโรคไข้เลือดออก โรคติดเชื้อไวรัสซิก้า และโรคปวดข้อยุงลาย (ชิกุนคุณย่า) กิจกรรมเหล่านี้ล้วนเป็นการรักษาความสะอาดของบ้านเมือง เป็นหน้าตาของชุมชนบ้านเรา เพื่อคนรุ่นหลังให้ได้รับโอกาสในการใช้ชีวิตอย่างมีความสุข กิจกรรมหนึ่งที่ทำให้ระบบธรรมชาติเราเกิดสมดุลอย่างดี คือการจัดการขยะก่อนที่จะทิ้ง เพื่อส่งเสริมการสร้างกระแสของชุมชนประชาชนให้มีส่วนช่วยในการอนุรักษ์ธรรมชาติไว้ ถ้าทุกคนในชุมชนมีระเบียบวินัยในการจัดการขยะก่อนทิ้ง ลงถัง ความสะอาดในชุมชน ความเป็นระเบียบ จึงเกิดความปลอดภัยในการดำรงชีพ เพราะขยะเป็นสิ่งที่อาจจะเป็นแหล่งของเชื้อโรคได้ หากมีการบริหารจัดการที่ไม่สมบูรณ์ถูกต้อง จึงมีความจำเป็นอย่างยิ่งในการช่วยกันควบคุมกำกับโดยเฉพาะอย่างยิ่งในชุมชนต้องมีการดูแลเอาใจใส่ต่อการจัดการอย่างมีคุณภาพและ มีความคุ้มค่าที่สุด เช่นขยะในครัวเรือนที่เป็นเศษวัสดุเหลือจากการบริโภคส่วนมากเป็นขยะที่ย่อยสลายได้ หรือเรียกว่าขยะอินทรีย์ ซึงสามารถนำมาหมักเป็นปุ๋ยชีวภาพพอได้อายุสามารถนำมาใส่ต้นไม้ให้เจริญงอกงานมีผลผลิตที่เพิ่มขึ้น บางชนิดสามารถนำมารวบรวมให้ได้จำนวนมากๆ นำไปจำหน่ายเป็นรายได้เสริมของครอบครัว หรือบางชนิดสามารถนำกลับมาใช้ใหม่ได้อีก ส่วนขยะที่เป็นเศษขยะหรือใบไม้ก็นำมารวบรวมเป็นกองโดยอาศัยกรรมวิธีของการหมัก ซึ่งสามารถสอบถามกรรมวิธีจากนักวิชาการเกษตรในพื้นที่ได้       จากการสังเกตและสำรวจของอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน(อสม.) พบว่า ครัวเรือนส่วนใหญ่ในชุมชน เขตรับผิดชอบของโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านทุ่งนเรนทร์ มีการแยกขยะที่ไม่ถูกต้อง เหมาะสมตามประเภทของขยะที่เกิดจากการใช้ในชีวิตประจำวัน ทำให้ส่งกลิ่นรบกวนไม่พึงประสงค์ เป็นแหล่งเพาะพันธุ์ของโรคหลายชนิด เช่นโรคตาแดง โรคอุจจาระร่วงโรคไข้เลือดออก โรคไข้มาลาเรีย โรคฉี่หนูเป็นต้น การจัดการขยะที่ถูกวิธีตามหลักวิชาการ นอกจากช่วยแก้ปัญหาดังกล่าวข้างต้นแล้ว ยังช่วยลดขยะของโลกจากการคัดแยกขยะที่สามารถนำกลับมาใช้ใหม่ได้ อีกทั้งช่วยให้เกิดความสะอาดเป็นระเบียบเรียบร้อย บ้านเรือนที่พักอาศัยน่าอยู่ สวยงามเป็นครัวเรือนต้นแบบเป็นแบบอย่างที่ดีของชุมชนและสังคมโดยรวม         จากเหตุผลดังกล่าว โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านทุ่งนเรนทร์ จึงได้จัดทำโครงการ”ชุมชนร่วมใจในการจัดการขยะ” โดยอาศัยงบสนับสนุนสำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข แผนงานพัฒนาระบบประกันสุขภาพบริการปฐมภูมิให้มีคุณภาพมาตรฐาน ซึ่งเป็นองค์กรที่ให้ความสนับสนุนดูแลส่งเสริมสุขภาพของประชาชน จัดกิจกรรมประชุมชี้แจง ประชาสัมพันธ์ และ ติดตามผล ในการจัดการขยะของชุมชนในพื้นที่รับผิดชอบ โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อให้ชุมชนมีความสามารถในการจัดการขยะที่ถูกต้อง ทุกครัวเรือน สร้างนิสัยและส่งเสริมความเป็นระเบียบเรียบร้อย และเป็นการส่งเสริมด้านสุขภาพในชุมชน กระตุ้นให้ชุมชนมีความตระหนักและเห็นความสำคัญในการจัดการขยะและการทำความสะอาดครัวเรือน

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 1.เพื่อเสริมสร้างศักยภาพของประชาชนในการจัดการขยะในครัวเรือน

 

0.00
2 2.เพื่อให้ประชาชน มีความรู้ ทัศนคติและสามารถดำเนินการเกี่ยวกับขยะอย่างถูกต้อง

 

0.00
3 3.เพื่อส่งเสริมและสนับสนุนการใช้ประโยชน์จากขยะให้คุ้มค่า

 

0.00
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
hourglass_emptyไม่มีกลุ่มกิจกรรม กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรม 150 18,000.00 0 0.00
1 เม.ย. 64 - 30 ก.ย. 64 กิจกรรมที่ 1.ประชุมชี้แจง ให้ความรู้ 50 6,000.00 -
1 เม.ย. 64 - 30 ก.ย. 64 กิจกรรมที่2 ประชุมติดตาม ครั้งที่1 50 6,000.00 -
1 เม.ย. 64 - 30 ก.ย. 64 กิจกรรมที่3 ประชุมติดตาม ครั้งที่2 50 6,000.00 -

๑.๑ กิจกรรมที่ ๑ ประชุมชี้แจง
-ชี้แจงการดำเนินโครงการที่ประชุมประจำเดือนผู้ใหญ่บ้านระดับตำบลในหมู่ที่7 ใช้อาคารเอนกประสงค์ โดยมีคณะกรรมการหมู่บ้านจำนวน 30คน และมีอาสาสมัครสาธารณสุขกับตัวแทนประชาชนในระแวก 20คน รวมเป้าหมาย 50คน
-จัดตั้งกลุ่มครัวเรือนเป้าหมายปฏิบัติการคัดแยกขยะก่อนทิ้งลงถัง เพื่อดำเนินการนำร่องในการคัดแยกขยะก่อนทิ้งลงถัง
๑.๒ กิจกรรมที่ ๒ ให้ความรู้กลุ่มเป้าหมาย
-จัดประชุมให้ความรู้กลุ่มเป้าหมาย เรื่องการคัดแยกขยะ โดยมีการสาธิตการคัดแยกขยะ การหมักขยะอินทรีย์เพื่อทำปุ๋ยหมักใช้ในครัวเรือน ตลอดจนขยะที่นำมาใช้ใหม่หรือที่ขายได้
๑.๓ กิจกรรมที่ ๓ ติดตาม
-ติดตามกลุ่มเป้าหมายโดยการจัดเวทีแลกเปลี่ยนประสบการณ์ จำนวน ๒ ครั้ง
-แนะนำการนำภาชนะในครัวเรือนมาใช้ในการหมักขยะอินทรีย์มาทำปุ๋ยหมักใช้เอง
-สรุปผลการดำเนินงานของโครงการ

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ

๑.หลังดำเนินโครงการ ครัวเรือนในชุมชนทุกครัวเรือนมีการคัดแยกขยะที่ถูกต้อง และเกิดประโยชน์คุ้มค่า
๒กลุ่มเป้าหมายสามารถนำขยะอินทรีย์มาใช้ทำปุ๋ยหมักใช้ในครัวเรือน เป็นการประหยัดในการซื้อปุ๋ยมาใช้
๓ประชาชนมีความรู้การใช้ประโยชน์จากขยะ ส่งผลดีต่อสิ่งแวดล้อมในชุมชน เป็นแนวทางในการจัดการขยะ

stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 19 เม.ย. 2564 10:19 น.