กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการอบรมการป้องกันโรคไวรัสโคโรนา (COVID-19)
รหัสโครงการ
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 2 สนับสนุนกิจกรรมสร้างเสริมสุขภาพ การป้องกันโรคของกลุ่มหรือองค์กรประชาชน/หน่วยงานอื่น
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ หน่วยงานอื่นๆ ที่ไม่ใช่หน่วยงานสาธารณสุข เช่น โรงเรียน
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ โรงเรียนบ้านอาโห
วันที่อนุมัติ 18 มีนาคม 2564
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 1 พฤษภาคม 2564 - 31 กรกฎาคม 2564
กำหนดวันส่งรายงาน 30 กันยายน 2564
งบประมาณ 20,830.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นายอาดัม ตะโละ
พี่เลี้ยงโครงการ
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลสะดาวา อำเภอยะรัง จังหวัดปัตตานี
ละติจูด-ลองจิจูด 6.821,101.311place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานขยะ , แผนงานเด็ก เยาวชน ครอบครัว , แผนงานเผชิญภัยพิบัติและโรคระบาด , แผนงานป้องกัน แก้ปัญหา และฟื้นฟู ในสถานการณ์โควิด-19
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

ตามที่รัฐบาลได้ประกาศกำหนดการป้องกันและแก้ไขปัญหาโรคระบาดไวรัสโคโรนา ( COVID-๑๙) ซึ่งเป็นโรคติดต่อได้ง่ายและเป็นอันตรายอย่างมากต่อชีวิตของผู้ที่ได้รับเชื้อ ประกอบกับในขณะนี้ยังไม่มีวัคซีนป้องกันโรคทั้งยังไม่มียารักษาโรคโดยตรง จึงมีผู้ติดเชื้อและเสียชีวิตจากโรคดังกล่าวเพิ่มขึ้นเป็นจำนวนมากทั่วโลก จนองค์การอนามัยโลกต้องประกาศให้การระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา ๒๐๑๙ เป็นการระบาดใหญ่ และขอให้ประเทศในกลุ่มอาเซียนบังคับใช้มาตรการที่เข้มงวดเด็ดขาดยิ่งขึ้น การระบาดของโรคดังกล่าวจึงเป็นสถานการณ์อันกระทบต่อความสงบเรียบร้อยและความปลอดภัยของประชาชนซึ่งต้องใช้มาตรการเข้มงวดและเร่งด่วนเพื่อควบคุมไม่ให้โรคระบาดออกไปในวงกว้าง ด้วยเหตุนี้ทางโรงเรียนบ้านอาโหได้ประชุมคณะกรรมการสถานศึกษา คณะครู เพื่อป้องกันการเฝ้าระวังและแก้ไขปัญหาการติดเชื้อไวรัสโคโรนาในโรงเรียน และชุมชน ทางโรงเรียนบ้านอาโห ได้เล็งเห็นถึงปัญหาการระบาดของเชื้อไวรัสโคโรนา ที่จะเกิดขึ้นในเด็กนักเรียน ผู้ปกครอง และสัมผัสใกล้ชิด จึงได้จัดทำโครงการอบรมการป้องกันโรคไวรัสโคโรนา (COVID-๑๙) ขึ้นมา เพื่อให้นักเรียนมีความรู้เกี่ยวกับการป้องกันการติดเชื้อไวรัสโคโรนาในโรงเรียน

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อสร้างภูมิคุ้มกันเกี่ยวกับโรคไวรัสโคโรนา(COVID-๑๙) ให้แก่นักเรียน บุคลากรทางการศึกษา และผู้ปกครอง ได้รับรู้ถึงความอันตรายของโรคไวรัสโรนา(COVID-๑๙)

นักเรียน บุคลากรทางการศึกษา และผู้ปกครองมีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับอันตรายของโรคไวรัสโคโรนา(COVID-๑๙)ไม่น้อยกว่าร้อยละ ๘๐

145.00
2 เพื่อเสริมสร้างความเข้มแข็งให้กับสถานศึกษาและชุมชนในการป้องกันและแก้ไขการระบาดของโรคไวรัสโคโรนา(COVID-๑๙)

บุคลากร คณะกรรมการสถานศึกษาและผู้ปกครอง สามารถให้คำแนะนำแก่เด็กและเยาวชนถึงอันตรายของโรคไวรัสโคโรนา(COVID-๑๙) ได้ไม่น้อยกว่า ร้อยละ 80

145.00
3 เพื่อปลูกฝังจิตสำนึกให้นักเรียน บุคลากรทางการศึกษา และผู้ปกครอง มีความรับผิดชอบต่อตนเองและสังคม

นักเรียน บุคลากรทางการศึกษา และผู้ปกครองทุกคนมีความรู้และตระหนักถึงอันตรายของโรคไวรัสโคโรนา(COVID-๑๙)

164.00
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม

๑. จัดประชุมคณะกรรมการสถานศึกษา ครู
๒. จัดทำโครงการเพื่อขออนุมัติ ๓. แต่งตั้งคณะกรรมการ ๔. จัดเตรียมสถานที่จัดกิจกรรม วัสดุอุปกรณ์ต่างๆ ๕. ดำเนินตามแผน    อบรมให้ความรู้เกี่ยวกับอันตรายของเชื้อไวรัสโคโรนา  กิจกรรมกลุ่มสัมพันธ์  กิจกรรมซักถาม ๖. ประเมินผลการดำเนินงาน ๗. รายงานผลการดำเนินงานต่อคณะกรรมการกองทุนหลักประกันสุขภาพตำบลสะดาวา

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ

๑.นักเรียน บุคลากรทางการศึกษา และผู้ปกครอง มีจิตสำนึกในการป้องกันและแก้ไขปัญหาการระบาดของโรคไวรัสโรนา(COVID-๑๙) ๒.นักเรียนบุคลากรทางการศึกษา และผู้ปกครอง ทุกคนสามารถดำรงชีวิตได้อย่างมีวามสุขและปลอดภัยจากโรคระบาดดังกล่าว ๓.นักเรียน บุคลากรทางการศึกษา และผู้ปกครอง รู้จักป้องกันตนเองและคนรอบข้างงจากเชื้อไวรัสโคโรนา(COVID-๑๙)

stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 19 เม.ย. 2564 11:01 น.