กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการชาวตำบลฝาละมีร่วมใจ ต้านภัยไข้เลือดออก
รหัสโครงการ 64-l3338-01-09
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 1 สนับสนุนการจัดบริการสาธารณสุขของ หน่วยบริการ/สถานบริการ/หน่วยงานสาธารณสุข
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ หน่วยบริการหรือสถานบริการสาธารณสุข เช่น รพ.สต.
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ รพ.สต.บ้านพระเกิด
วันที่อนุมัติ 2 เมษายน 2564
ระยะเวลาดำเนินโครงการ -
กำหนดวันส่งรายงาน
งบประมาณ 86,000.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นายพงศ์ศักดิ์ จันทร์ทอง
พี่เลี้ยงโครงการ
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลฝาละมี อำเภอปากพะยูน จังหวัดพัทลุง
ละติจูด-ลองจิจูด 7.371,100.261place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานเผชิญภัยพิบัติและโรคระบาด
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

โรคไข้เลือดออกนับเป็นปัญหาสาธารณสุขที่สำคัญของประเทศ มีการระบาดต่อเนื่อง ซึ่งสถานการณ์โรคไข้เลือดออก ปี 2563 ได้ทวีความรุนแรงและมีการแพร่ระบาดอย่างต่อเนื่องในหลายพื้นที่ ทำให้มีผู้ป่วยและตายด้วยโรคไข้เลือดออก ทุกกลุ่มอายุและทุกวัย โดยคาดว่าจะมีจานวนผู้ป่วยสูงขึ้นตลอดปี หากไม่มีการเร่งรัดป้องกันและควบคุมโรคไข้เลือดออก โดยเป้าหมายหลักคือ ต้องร่วมมือกันกำจัดลูกน้ำยุงลายที่เป็นพาหะนำโรค จากสถานการณ์โรคไข้เลือดออกของจังหวัดพัทลุงตั้งแต่เดือนมกราคม – ธันวาคม 2563 พบผู้ป่วยสะสม จำนวน 546 ราย คิดเป็นอัตราป่วย 104.34 ต่อแสนประชากร และ จากระบบรายงานการเฝ้าระวังทางระบาดวิทยาอำเภอ ปากพะยูน พบผู้ป่วยโรคไข้เลือดออกสะสม จำนวน 27 ราย คิดเป็นอัตราป่วย 52.74 ต่อแสนประชากร ส่วนตำบลฝาละมี พบผู้ป่วยโรคไข้เลือดออกสะสม จำนวน 5 ราย คิดเป็นอัตราป่วย 46.21 ต่อแสนประชากร ซึ่งมีแนวโน้มการระบาดของโรคกระจายไปทุกพื้นที่ในเขตอำเภอปากพะยูน


จากปัญหาดังกล่าว รพ.สต.บ้านพระเกิด ตำบลฝาละมี อำเภอปากพะยูน จังหวัดพัทลุง ได้เล็งเห็นความสำคัญของการป้องกันโรคไข้เลือดออก จึงได้ทำโครงการชาวตำบลฝาละมีร่วมใจ ต้านภัยไข้เลือดออก ขึ้น เพื่อให้อาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน และแกนนำสุขภาพประจำครอบครัว เป็นผู้มีบทบาทกระตุ้นเตือนชุมชนและร่วมกันกำจัดลูกน้ำยุงลายอย่างต่อเนื่องในชุมชน และให้เกิดความร่วมมือระหว่างหน่วยงานในระดับท้องถิ่นที่เกี่ยวข้องเพื่อแก้ปัญหาไข้เลือดออกในพื้นที่ เพื่อให้การดำเนินงานป้องกันและควบคุมโรคไข้เลือดออกประสบผลสำเร็จตามเป้าหมายที่วางไว้

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 1 เพื่อให้ประชาชนมีความรู้ ตระหนัก และปฏิบัติตัวที่ถูกต้องในการป้องกันโรคไข้เลือดออก

ร้อยละ 80 ของประชาชนมีความรู้เรื่องการป้องกันและควบคุมโรคไข้เลือดออก และพฤติกรรม โดยใช้หลัก 5 ป. 1 ข

0.00
2 2 เพื่อส่งเสริมการมีส่วนร่วมของภาคีเครือข่ายในการควบคุมป้องกันโรคไข้เลือดออก

-ร้อยละ 95 ของครัวเรือนได้รับการสำรวจลูกน้ำยุงลายสัปดาห์ละ      1 ครั้งเป็นอย่างน้อย -ค่าดัชนีความชุกของลูกน้ำยุงลาย (HI/CI = 0) เท่ากับ 0

0.00
3 3 เพื่อไม่ให้มีผู้ป่วยโรคไข้เลือดออกในพื้นที่

-อัตราป่วยโรคไข้เลือดออกเท่ากับ  0

0.00
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
  1. จัดทำโครงการ เสนอขออนุมัติโครงการ
  2. ประชุมคณะกรรมการหมู่บ้าน ประธานอสม. และผู้ใหญ่บ้านทุกหมู่บ้าน เพื่อชี้แจงการดำเนินโครงการ และประสานงาน/ชี้แจงกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง
  3. ประชาสัมพันธ์ ให้ความรู้แก่ประชาชนในเขตรับผิดชอบโดยใช้หลัก 5 ป. 1 ข โดย อสม.
  4. สำรวจและทำลายแหล่งเพาะพันธ์ (แบบไขว้หมู่บ้าน โดยจนท.ทุก รพ.สต. ผู้นำชุมชน และ อสม.)
  5. จัดกิจกรรมรณรงค์ให้ความรู้เรื่องการป้องกันโรคไข้เลือดออกในชุมชน
  6. ดำเนินกิจกรรมเฝ้าระวัง
stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ
  1. ประชาชนมีความรู้ความเข้าใจ ตระหนัก และมีการปฏิบัติตนที่ถูกต้องในการป้องกันและควบคุมโรคไข้เลือดออก       2.ไม่มีแหล่งเพาะพันธุ์ยุงลายในพื้นที่       3.ชุมชนสามารถเฝ้าระวังและควบคุมป้องกันโรคไข้เลือดออกอย่างถูกต้อง เหมาะสม ทันท่วงทีและมีประสิทธิภาพ
stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 19 เม.ย. 2564 11:19 น.