กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการส่งเสริมกิจกรรมทางกายโดยการเล่นกีฬาเปตอง
รหัสโครงการ ปี2564-L5275-02-4
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 2 สนับสนุนกิจกรรมสร้างเสริมสุขภาพ การป้องกันโรคของกลุ่มหรือองค์กรประชาชน/หน่วยงานอื่น
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ หน่วยงานอื่นๆ ที่ไม่ใช่หน่วยงานสาธารณสุข เช่น โรงเรียน
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ โรงเรียนพัฒนาการศึกษา
วันที่อนุมัติ 22 กุมภาพันธ์ 2564
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 1 พฤษภาคม 2564 - 30 กันยายน 2564
กำหนดวันส่งรายงาน 31 ตุลาคม 2564
งบประมาณ 25,200.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นายแสละ หมัดอะดั้ม ผู้อำนวยการโรงเรียนพัฒนาการศึกษา
พี่เลี้ยงโครงการ
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลทุ่งตำเสา อำเภอหาดใหญ่ จังหวัดสงขลา
ละติจูด-ลองจิจูด 6.9,100.244place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานกิจกรรมทางกาย
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน 120 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน :

กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

ปัจจุบันวิถีการดำเนินชีวิตของเด็กวัยเรียนได้เปลี่ยนแปลงไปอย่างมาก มีสิ่งอำนวยความสะดวกมากขึ้นทำให้เด็กวัยเรียนขาดการเคลื่อนไหวออกแรงในชีวิตประจำวันและขาดการออกกำลังกาย ก่อให้เกิดความเสี่ยงต่อการเกิดโรคไม่ติดต่อเรื้อรังต่าง ๆ ด้วย การป้องกันที่ดีอีกทางเลือกหนึ่งคือการสร้างสุขภาพดี ด้วยการออกกำลังกายหรือการทำกิจกรรมทางกายหรือการเคลื่อนไหวร่างกายเป็นประจำ ซึ่งการเสริมสร้างสุขภาพกับการเรียน เป็นสิ่งที่จะต้องดำเนินการควบคู่กันไป การพัฒนาเด็กและเยาวชน จึงอยู่ที่กระบวนการจัดการศึกษาและการสร้างสุขภาพ นอกจากการให้การศึกษาแล้วการส่งเสริมสุขภาพอนามัยในโรงเรียน เป็นปัจจัยสำคัญในการเรียนรู้ของเด็กและเยาวชนที่จะเจริญเติบโตเป็นผู้ใหญ่ในวันข้างหน้า การส่งเสริมสุขภาพและอนามัยแก่นักเรียน การให้บริการด้านสุขภาพอนามัยการให้ความรู้ด้านสุขภาพช่วยให้นักเรียนสามารถดำรงชีวิตอยู่ในสังคมได้อย่างมีความสุข โรงเรียนพัฒนาการศึกษา เป็นโรงเรียนที่มีนักเรียนประจำและไปกลับ ซึ่งหลังจากเลิกเรียนนักเรียนประจำจะมีเวลาว่างในช่วงตอนเย็น และนักเรียนประจำมีพฤติกรรมจมตัวเองและหมกหมุ่นกับโลกโซเซียลมีเดีย ซึ่งส่งผลต่อความเสี่ยงด้านปัญหาสุขภาพ ที่เป็นบ่อเกิดของกลุ่มโรคร้าย Non-Communicable Diseases (NCDs) หรือโรคติดต่อไม่เรื้อรัง ที่คร่าชีวิตคนบนโลกนี้ไปมากที่สุด กอปรกับผลการสำรวจที่ สสส.ร่วมกับสถาบันวิจัยประชากรและสังคม มหาวิทยาลัยมหิดล พบว่า เด็กไทยมีแนวโน้มออกกำลังกายน้อยลงอย่างน่าเป็นห่วง ซึ่งอาจเนื่องมาจากการที่สังคมเปลี่ยนแปลงจากสภาพสังคม เพราะเด็กๆ ไม่ค่อยออกมาเล่น แต่ชอบดูทีวี เล่นโซเซียลมีเดีย โดยใช้เวลาอยู่หน้าจอเฉลี่ยวันละ 3 ชั่วโมงต่อวัน เพื่อเป็นการแก้ไขปัญหาที่กล่าวมา โรงเรียนได้มีกิจกรรมทางกายในโรงเรียนให้กับนักเรียนประจำ เพื่อปลูกฝังให้นักเรียนมีความสุขและสนุกกับการทำกิจกรรมทางกาย อันจะส่งผลให้นักเรียนมีสุขภาพที่ดี เปิดโอกาสให้เด็กได้แสดงออกซึ่งพฤติกรรมหรือการเคลื่อนไหวอย่างเป็นรูปธรรม นับได้ว่าเป็นกิจกรรมที่ช่วยเตรียมความพร้อมด้านต่างๆ ให้กับร่างกาย จิตใจ อารมณ์ สังคม สติปัญญา ได้เป็นอย่างดี
    ดังนั้นทางโรงเรียนจึงอยากส่งเสริมกิจกรรมทางกายด้วยกีฬาเปตองให้กับนักเรียนประจำโดยการจัดโครงการส่งเสริมกิจกรรมทางกายโดยการเล่นกีฬาเปตอง เพื่อส่งเสริมให้นักเรียนเกิดความสนใจในการออกกำลังกาย ลดพฤติกรรมเนือยนิ่ง และกิจกรรมทางกายเป็นการเพิ่มพูนสุขภาพอนามัย ให้นักเรียนได้รู้จักใช้เวลาว่างให้เป็นประโยชน์ ลดการเล่นโทรศัพท์หลังเลิกเรียน และไม่ยุ่งเกี่ยวกับยาเสพติด

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 1.เพื่อให้นักเรียนมีความรู้เรื่องกิจกรรมทางกายเพิ่มขึ้นและมีสุขภาพดี

ร้อยละ 95 นักเรียนมีความรู้เรื่องกิจกรรมทางกาย

0.00
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
hourglass_emptyไม่มีกลุ่มกิจกรรม กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรม 360 25,200.00 0 0.00
20 เม.ย. 64 อบรมให้ความรู้เรื่อง กิจกรรมทางกายเพื่อสุขภาพ 120 11,700.00 -
1 - 30 มิ.ย. 64 กิจกรรมประชาสัมพันธ์ให้ความรู้ 120 900.00 -
1 มิ.ย. 64 - 31 ก.ค. 64 กิจกรรมฝึกทักษะทางกาย 120 12,100.00 -
1 - 30 ก.ย. 64 กิจกรรมอื่นๆ 0 500.00 -
  1. การเตรียมงาน     1.1 แต่งตั้งคณะทำงานโครงการส่งเสริมกิจกรรมทางกายโดยการเล่นกีฬาเปตอง     1.2 จัดประชุมวางแผนการดำเนินงาน ติดตาม และประเมินผลการดำเนินงาน   2. กิจกรรมประชาสัมพันธ์ให้ความรู้     2.1 อบรมให้ความรู้นักเรียน และครู เรื่อง กิจกรรมทางกายเพื่อสุขภาพ     2.2 จัดบอดร์ดการให้ความรู้ กิจกรรมทางกาย เพื่อสุภาพดี ,ออกกำลังกายดีอย่างไร? เป็นต้น   3. ฝึกกิจกรรมทางกายด้วยเกีฬาเปตอง สัปดาห์ละ 3 วัน อังคาร/พุธ/พฤหัสบดี รวม 7 สัปดาห์ 21วัน
        (เวลา 16.00-17.00 น.)   4. ติดตามประเมินผลโดยแบบประเมินความรู้ ก่อน-หลัง แบบประเมินความพึงพอใจ และการเข้าร่วมกิจกรรม   5. สรุปผลการดำเนินงานและรายงานให้คณะกรรมการกองทุนฯ ทราบเมื่อสิ้นสุดโครงการ
stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ
  1. นักเรียนมีความรู้เรื่องกิจกรรมทางกายเพิ่มขึ้น
    1. นักเรียนมีสุขภาพแข็งแรงทั้งทางร่างกายและจิตใจ
    2. ส่งเสริมสุขภาพนักเรียน ป้องกันการเป็นโรคต่างๆ
stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 19 เม.ย. 2564 15:12 น.