กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการรู้ก่อน เตือนภัย ห่างไกลอุจจาระร่วง
รหัสโครงการ 60-L5282-1-02
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 1 สนับสนุนการจัดบริการสาธารณสุขของ หน่วยบริการ/สถานบริการ/หน่วยงานสาธารณสุข
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ หน่วยบริการหรือสถานบริการสาธารณสุข เช่น รพ.สต.
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลอุใดเจริญ
วันที่อนุมัติ 27 กรกฎาคม 2560
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 4 สิงหาคม 2560 - 15 กันยายน 2560
กำหนดวันส่งรายงาน
งบประมาณ 38,000.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลอุใดเจริญ
พี่เลี้ยงโครงการ กองสาธารณสุขและสิ่งแวดล้อม
พื้นที่ดำเนินการ ศาลาเอนกประสงค์ หมู่ที่ 1 , 4, 6, 7,9 ตำบลอุใดเจริญ อำเภอควนกาหลง จังหวัดสตูล
ละติจูด-ลองจิจูด 6.903,99.932place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานอาหารและโภชนาการ
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน 100 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน :

กลุ่มผู้สูงอายุ 100 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มผู้สูงอายุ :

กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

โรคอุจจาระร่วงเป็นปัญหาสาธารณสุขที่สำคัญอีกปัญหาหนึ่งของประเทศไทย ในแต่ละปีมีรายงานผู้ป่วยตลอดทั้งปี ส่วนใหญ่มีการระบาดเป็นวงกว้างทำให้มีผู้ป่วยจำนวนมาก และอาการของโรคอาจนำไปสู่ภาวะแทรกซ้อนที่รุนแรง เช่น ไตวาย หรือถึงแก่ชีวิตได้ โดยเฉพาะในเด็กเล็กและผู้สูงอายุ นอกจากนี้ยังเป็นสาเหตุที่สำคัญของการใช้ยาอย่างไม่เหมาะสม โดยเฉพาะยาต้านจุลชีพ ทำให้มีการเสียค่าใช้จ่ายโดยไม่จำเป็น และยังนำไปสู่การเกิดเชื้อจุลชีพดื้อยา สาเหตุมักเกิดสารพิษหรือเชื้อโรค ซึ่งอาจจะมีอยู่ตั้งแต่แรก ในอาหาร น้ำ หรือปนเปื้อนภายหลังจากสิ่งแวดล้อม โดยเฉพาะอย่างยิ่งเรื่องของสุขอนามัยส่วนบุคคล ผู้ที่ป่วยเป็นโรคดังกล่าวสามารถแพร่เชื้อได้ทางอุจจาระ และหากเป็นผู้ประกอบอาหาร หรือพนักงานเสิร์ฟอาหารจะมีโอกาสแพร่เชื้อให้ผู้อื่นได้มาก โรคอุจจาระร่วงจึงเป็นโรคติดต่ออีกโรคหนึ่งที่ต้องเร่งดำเนินการแก้ไข จากการวิเคราะห์สถานการณ์การระบาดโรคติดต่อในพื้นที่ตำบลอุใดเจริญ (หมู่ที่ 1,4,6,7,9) ในระยะเวลา 4 ปีที่ผ่านมา (2557-2560) พบว่า 5 อันดับโรคที่มีการระบาดในพื้นที่ ได้แก่ โรคอุจจาระร่วง โรคปอดบวม โรคสุกใส โรคตาแดง และโรคมือเท้าปาก ตามลำดับ และในปี 2560 ที่ผ่านมาพบว่ามีโรคที่รบาดในพื้นที่ 5 อันดับโรค ดังนี้ โรคอุจจาระร่วง โรคมือเท้าปาก โรคปอดบวม และโรคสุกใสและโรคตาแดง โดยมีอัตราป่วย 591.56,107.56,80.67,53.78,และ 53.78 ตามลำดับ และพบว่ากลุ่มอายุที่พบผู้ป่วยด้วยโรคอุจจาระร่วงมากที่สุด คือกลุ่ม อายุ 0-5 ปี และ 60 ปีขึ้นไป เมือพิจารณาปัจจัยที่ทำให้เกิดการระบาดพบว่า น่าจะมีส่วนหนึ่งมาจากภาวะภูมิต้านทานในกลุ่มประชาชนลดน้อยลง ซึ่งกลุ่มที่พบผู้ป่วยมากที่สุดเป็นกลุ่มเด็กเล็ก ที่มีความต้านทานต่อโรคต่ำ ทำให้ไวต่อการเกิดโรค ทั้งนี้อาจเกิดจากอาหารและนมในโรงเรียน รวมถึงสุขาภิบาลอาหารในครัวเรือนและในกลุ่มผู้สูงอายุ แหล่งที่เกิดโรคมักเกิดในที่ชุมชนที่อยู่กันอย่างหนาแน่น และในพื้นที่ที่มีการสุขาภิบาลไม่ดีไม่มีน้ำสะอาดใช้อย่างเพียงพอ ไม่มีส้วมที่ถูกสุขลักษณะ ดังนั้นการเฝ้าระวังป้องกันควบคุมโรคจึงควรให้ความสำคัญในเรื่องของการเฝ้าระวังป้องกันโรคในภาวะปกติ และการควบคุมโรคในภาวะที่มีการระบาด เพื่อให้บรรลุเป้าหมายการลดโรคอุจจาระร่วงอย่างเป็นระบบและมีประสิทธิภาพต่อไป จากสภาพปัญหาดังกล่าว ผู้รับผิดชอบงานป้องกันและควบคุมโรคติดต่อ โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลอุใดเจริญ ได้ตระหนักและให้ความสำคัญกับการดำเนินงานป้องกันและควบคุมโรคอุจจาระร่วงจึงได้จัดทำโครงการ รู้ก่อน เตือนภัย ห่างไกลโรคอุจจาระร่วงขึ้น

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 1.เพื่อลดอัตราป่วยที่เกิดจากโรคอุจจาระร่วง

1.อัตราป่วยด้วยโรคอุจจาระร่วงลดลงจากปี 2559 ร้อยละ 20

2 2.เพื่อให้ประชาชนมีความรู้ในการป้องกันและควบคุมโรคอุจจาระร่วง

2.กลุ่มเป้าหมายมีความรู้ในการป้องกันและควบคุมโรคอุจจาระร่วง เพิ่มขึ้นร้อยละ 50

stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
วันที่ชื่อกิจกรรมกลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
4 ส.ค. 60 - 15 ก.ย. 60 จัดอบรมกลุ่มเป้าหมาย 200 38,000.00 38,000.00
รวม 200 38,000.00 1 38,000.00

1.จัดอบรมกลุ่มเป้าหมาย ได้แก่ ผู้ปกครองเด็กอายุ 0-5 ปี ผู้สูงอายุ 60 ปีขึ้นไป หมู่ละ 40 คน จำนวน 5 ปมู่บ้าน (หมู่ 1,4,6,7,9) รวมทั้งหมด 200 คน เพื่อชี้แจงความจำเป็นในการดำเนินโครงการ และให้ความรู้เบื้องต้นในการปรับเปลี่ยนพฤติกรรม และเฝ้าระวัง ป้องกัน ควบคุมโรคอุจจาระร่วง พร้อมทั้งสร้างเครือข่ายการดำเนินงานอย่างมีส่วนร่วม 2.กำหนดผังควบคุมกำกับการดำเนินกิจกรรมโครงการ โดยจัดกิจกรรมรณรงค์ให้ความรู้และการป้องกันควบคุมโรคอุจจาระร่วง และกิจกรรมป้องกันและควบคุมโรคอุจจาระร่วง แก้ไขปัญหาโรคและภันสุขภาพได้อย่างมีประสิทธิภาพ

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ

1.เด็กอายุ 0-5 ปี และผู้สูงอายุ 60 ปีขึ้นไป มีอัตราป่วยด้วยโรคอุจจาระร่วงลดน้อยลง 2.กลุ่มเป้าหมายมีความรู้เกี่ยวกับการป้องกันและควบคุมโรคอุจจาระร่วงเพิ่มมากขึ้น

stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 7 ส.ค. 2560 13:52 น.