กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการสุขภาพดี ชีวีมีสุข
รหัสโครงการ
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 3 สนับสนุนการจัดกิจกรรมของ ศูนย์เด็กเล็ก/ผู้สูงอายุ/คนพิการ
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ กลุ่มหรือองค์กรประชาชน
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ ชมรมผู้สูงอายุบ้านทุ่งยอ ม.5
วันที่อนุมัติ 11 มีนาคม 2564
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 1 พฤษภาคม 2564 - 30 มิถุนายน 2564
กำหนดวันส่งรายงาน 30 กรกฎาคม 2564
งบประมาณ 7,460.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นายเอกสิทธิ์ อินทร์ชนะ
พี่เลี้ยงโครงการ
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลตาเซะ อำเภอเมืองยะลา จังหวัดยะลา
ละติจูด-ลองจิจูด 6.62,101.253place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานผู้สูงอายุ
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มผู้สูงอายุ 43 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มผู้สูงอายุ :

กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

หลักการและเหตุผล (ระบุที่มาของการทำโครงการ)         ผู้สูงอายุมักมีปัญหาสุขภาพกายและสุขภาพจิต อันเนื่องมาจากการเสื่อมสมรรถภาพตามอายุที่มากขึ้น จึงจำเป็นต้องได้รับการดูแลอย่างใกล้ชิด ทั้งในด้านปัญหาสุขภาพและสภาพแวดล้อมรอบตัวผู้สูงอายุ เนื่องจากสิ่งเหล่านี้ล้วนส่งผลต่อคุณภาพชีวิต บุคคลในครอบครัวมีบทบาทสำคัญในการดูแลผู้สูงอายุ จึงจำเป็นต้องเข้าใจปัญหา เพื่อจะได้ดูแลสุขภาพและสภาพแวดล้อมของผู้สูงอายุอย่างถูกต้องและเหมาะสม และเมื่ออายุมากขึ้น ผู้สูงอายุหลายคนมักรู้สึกเหนื่อยง่ายและเคลื่อนไหวช้าลง บางคนอาจรู้สึกอ่อนเพลียและทำกิจกรรมต่าง ๆ ในชีวิตประจำวันลำบากขึ้น อาการเหล่านี้จัดเป็นปัญหาสุขภาพอย่างหนึ่งที่เรียกว่าภาวะเปราะบางในผู้สูงอายุ ผู้สูงอายุที่ประสบภาวะนี้จะรู้สึกอ่อนแรง เหนื่อย ไม่มีแรง รวมทั้งน้ำหนักลดลงเอง บุคคลในครอบครัวอาจสังเกตว่าญาติผู้ใหญ่ของตนเกิดอาการของภาวะเปราะบางในผู้สูงอายุหรือไม่จากอาการที่จะยกมากล่าวต่อไปนี้ หากเกิดอาการ 3 อย่างขึ้นไป อาจหมายถึงว่าผู้สูงอายุประสบภาวะดังกล่าวอยู่ รูปร่างผอมลง โดยน้ำหนักตัวลดลงเองประมาณ 5 กิโลกรัมหรือมากกว่านั้น เกิดอาการอ่อนเพลีย มักยืนเองไม่ค่อยได้หรือไม่มีแรงถือของ รู้สึกเหนื่อยง่ายมาก โดยทำสิ่งต่าง ๆ ไม่ค่อยได้ สมรรถภาพในการทำกิจกรรมต่าง ๆ ถดถอย เช่น ออกกำลังกาย ทำงานบ้าน หรือกิจกรรมอื่น ๆ ที่เคยชอบ แต่ทำไม่ได้เหมือนแต่ก่อนเดินช้าลง โดยใช้เวลาเดินในระยะทาง 5 เมตร มากกว่า 6-7 วินาที จะเห็นได้ว่าอาการของภาวะเปราะบางในผู้สูงอายุส่งผลต่อการดำเนินชีวิตประจำวัน ทำให้การไปเที่ยว แต่งตัว ตื่นขึ้น ลุกจากเตียง หรือเข้าห้องน้ำลำบาก อีกทั้งอาจหกล้มได้ง่าย ภาวะนี้อาจเกิดจากการทำงานของร่างกายที่เปลี่ยนไป ผู้ที่มีปัญหาสุขภาพ ร่างกายมักเปลี่ยนแปลงและทำให้ภาวะดังกล่าวแย่ลงอย่างรวดเร็ว ผู้สูงอายุซึ่งมีแนวโน้มป่วยเป็นโรคซึมเศร้า มักมีโอกาสติดเชื้อ รวมทั้งฟื้นตัวจากอาการป่วยหรือการได้รับบาดเจ็บต่าง ๆ ได้ง่าย
      ดังนั้น การดูแลผู้สูงอายุทำได้โดยให้ความสำคัญด้านสุขภาพและสภาพแวดล้อมของผู้สูงอายุ เพื่อยกระดับคุณภาพชีวิตให้ดีขึ้น การดูแลผู้สูงอายุแบ่งออกเป็น 2 ส่วนหลัก ได้แก่ วิธีดูแลสุขภาพผู้สูงอายุ และวิธีจัดสภาพแวดล้อมให้ผู้สูงอายุ
      ชมรมผู้สูงอายุจึงเสนอโครงการนี้เพื่อขอสนับสนุนงบประมาณจากกองทุน และให้ผู้สูงอายุได้ดูแลสุขภาพของตนเองใน ยกระดับคุณภาพชีวิตให้ดีขึ้น

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อให้ผู้สูงอายุได้รับความรู้เรื่องการดูแลสุขภาพในวัยสูงอายุ

ผู้สูงอายุได้รับความรู้เรื่องการดูแลสุขภาพในวัยสูงอายุ อย่างน้อยร้อยละ 80

100.00
2 เพื่อให้ได้รับการตรวจสุขภาพ ประเมินการเกิดภาวะแทรกซ้อนในผู้สูงอายุ

ผุ้สูงอายุได้รับการตรวจสุขภาพ  ประเมินการเกิดภาวะแทรกซ้อนในผู้สูงอายุ 100%

100.00
3 3.เพื่อลดภาวะโรคซึมเศร้าในผู้สูงอายุ

ดภาวะโรคซึมเศร้าในผู้สูงอายุอย่างน้อยร้อยละ 80

80.00
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม

1.อบรมให้ความรู้ในเรื่องการดูแลสุขภาพในวัยสูงอายุ 2.ตรวจสุขภาพ ประเมินการเกิดภาวะแทรกซ้อนในผู้สูงอายุ 3.กิจกรรมการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ด้านสุขภาพ 4.กิจกรรมสันทนาการลดภาวะซึมเศร้า

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ
  1. ผู้สูงอายุได้รับความรู้ในเรื่องการดูแลสุขภาพในวัยสูงอายุ
  2. ผู้สูงอายุได้รับการตรวจสุขภาพ ประเมินการเกิดภาวะแทรกซ้อนในผู้สูงอายุ
  3. สามารถลดภาวะโรคซึมเศร้าในผู้สูงอายุ
stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 20 เม.ย. 2564 13:46 น.