กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการอบรมเชิงปฏิบัติการบุหรี่ สุรา ภัยร้ายใกล้ตัว
รหัสโครงการ ๖4 – L๘๓๖๘ – ๑ – 5
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 1 สนับสนุนการจัดบริการสาธารณสุขของ หน่วยบริการ/สถานบริการ/หน่วยงานสาธารณสุข
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ หน่วยบริการหรือสถานบริการสาธารณสุข เช่น รพ.สต.
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ โรงพยาบาลศรีสาคร
วันที่อนุมัติ 30 กันยายน 2563
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 1 พฤษภาคม 2564 - 30 กันยายน 2564
กำหนดวันส่งรายงาน 31 ตุลาคม 2564
งบประมาณ 15,600.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นายประมวล ทองอินทราช
พี่เลี้ยงโครงการ
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลศรีสาคร อำเภอศรีสาคร จังหวัดนราธิวาส
ละติจูด-ลองจิจูด place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานยาสูบ
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
งวดวันที่งวดโครงการวันที่งวดรายงานงบประมาณ
(บาท)
จากวันที่ถึงวันที่จากวันที่ถึงวันที่
1 1 พ.ค. 2564 30 ก.ย. 2564 15,600.00
รวมงบประมาณ 15,600.00
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน 50 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน :

กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด
1 ร้อยละของผู้ใหญ่(อายุตั้งแต่ 25 ปีขึ้นไป) ที่สูบบุหรี่
21.40

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

ปัจจุบันประเทศไทยได้เผชิญกับปัญหาโรคไม่ติดต่อเรื้อรังหรือโรควิถีชีวิต ได้แก่ โรคเบาหวาน ความดันโลหิตสูง โรคหัวใจ โรคหลอดเลือดสมอง และโรคมะเร็ง ซึ่งเป็นภัยเงียบที่คุกคามสุขภาพและสถานการณ์มีแนวโน้มเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง โรคไม่ติดต่อเรื้อรังมีสาเหตุมาจากพฤติกรรมสุขภาพที่ไม่เหมาะสม เช่น การสูบบุหรี่ และดื่มเครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์ จากพฤติกรรมดังกล่าว ส่งผลก่อให้เกิดโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง       จากการสำรวจสุขภาพประชาชนไทย พบว่าปัจจัยเสี่ยงที่ทำให้เกิดโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง คือ การสูบบุหรี่ และดื่มเครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์ จากการสำรวจพฤติกรรมการสูบบุหรี่และการดื่มสุราของประชากร พ.ศ. ๒๕๕๔ พบว่า ประชากรไทยอายุ ๑๕ ปีขึ้นไปจำนวน ๕๓.๙ ล้านคน มีอัตราการสูบบุหรี่ร้อยละ ๒๑.๔ โดยเป็นผู้ที่สูบเป็นประจำร้อยละ ๑๘.๔ สูบนานๆ ครั้งร้อยละ ๒.๙ ผู้ชายสูบมากกว่าผู้หญิง ๒๐ เท่า สำหรับพฤติกรรมการดื่มสุราในรอบ ๑๒ เดือน ก่อนวันสัมภาษณ์ของประชากรอายุ ๑๕ ปีขึ้นไปพบผู้ดื่มสุราร้อยละ ๓๑.๕ โดยผู้ชายมีอัตราการดื่มสูงกว่าผู้หญิงประมาณ ๕ เท่า การดำเนินงานเชิงรุก ได้แก่ การเฝ้าระวัง ป้องกันควบคุม ลดปัญหาที่มีผลกระทบต่อสุขภาพ โดยมุ่งเน้นกระตุ้น เตือนให้นักเรียนแลเยาวชน ตระหนักและปรับเปลี่ยนพฤติกรรมนำไปสู่สุขภาพดี และสนับสนุนให้นักเรียนและเยาวชนเข้าถึงข้อมูลสุขภาพ มีความรู้ ความเข้าใจ มีการตัดสินใจที่ดี รวมถึงการจัดการตนเองอย่างถูกต้องเหมาะสม จึงเป็นสิ่งจำเป็นอย่างยิ่ง นอกจากนี้ยังพบเด็กอายุต่ำกว่า15ปีในพื้นที่ใช้บุหรี่ สุรา ซึ่งเป็นต้นเหตุของการใช้ยาเสพติดประเภทอื่นๆต่อไป       ดังนั้น งานบุหรี่โรงพยาบาลศรีสาคร จึงได้จัดทำ โครงการอบรมเชิงปฏิบัติการบุหรี่ สุรา ภัยร้ายใกล้ตัวเทศบาลตำบลศรีสาคร ประจำปี ๒๕๖3 เพื่อพัฒนาองค์ความรู้ ส่งเสริม ป้องกัน และแก้ไขปัญหาของเทศบาลตำบลศรีสาครโดยส่งเสริมให้นักเรียนและเยาวชน ตระหนักถึงความสำคัญ เรื่องบุหรี่ และสุรา ป้องกันนักสูบ และนักดื่มหน้าใหม่ ที่จะส่งผลกระทบต่อตนเอง ผู้อื่น สังคมและประเทศชาติต่อไป

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อให้นักเรียนและเยาวชนเยาวชนมีความรู้ความเข้าใจในอันตรายจากบุหรี่และสุรา

จำนวนผู้เข้าร่วมโครงการตามเป้าหมาย ร้อยละ 100

0.00
2 เพื่อสร้างเครือข่ายแกนนำนักเรียนและเยาวชนในเขตเทศบาลตำบลศรีสาคร

มีแกนนำในการขับเคลื่อนการดำเนินงานปลอดบุหรี่และสุราในโรงเรียนและเยาวชนที่เข้าร่วมโครงการ ร้อยละ 100

0.00
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม

ระยะเตรียมความพร้อม 1 เขียนโครงการเพื่อเสนอขออนุมัติ 2 ติดต่อประสานงานวิทยากรและผู้เกี่ยวข้องเพื่อเตรียมความพร้อมในการดำเนินการอบรมเชิงปฏิบัติการ
3 ประชาสัมพันธ์เชิญชวนนักเรียนและเยาวชน เข้าร่วมโครงการอบรมเชิงปฏิบัติการ
4 จัดจ้างทำเอกสาร/สื่อสุขศึกษา/จัดจ้างป้ายไวนิลความรู้/สื่อนิทรรศการ เครื่องมือในการดำเนินงาน เพื่อใช้ในกิจกรรมการอบรมเชิงปฏิบัติการ
ระยะดำเนินการ 1. จัดอบรมให้ความรู้พิษภัยของบุหรี่และสุราในนักเรียนและเยาวชน 1 วัน ผู้เข้าอบรม จำนวน 100 คน 2. มีการจัดตั้งแกนนำในโรงเรียนและในชุมชนเขตเทศบาลตำบลศรีสาคร (ไม่ใช้งบประมาณ) ระยะประเมินและติดตามผล 1 จัดทำรายงานสรุปผลการดำเนินงานและประเมินผลตามตัวชี้วัดที่ตั้งไว้ตามโครงการ และรวบรวมหลักฐานการใช้จ่ายงบประมาณ 2 เสนอรายงานผลการดำเนินงานตามกิจกรรมของโครงการให้คณะกรรมการบริหารกองทุนฯ และประชาชนทั่วไป

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ

1.ผู้เข้าอบรมมีความรู้และทักษะสามารถดูแลสุขภาพหลีกเลี่ยงป้องกันภัยจากบุหรี่และสุราได้ 2.ผู้เข้าอบรม มีความตระหนักสนใจและมีส่วนร่วม ในการควบคุมการบริโภคยาสูบและสุรา ร่วมรณรงค์เพื่อการลด/ละ/เลิกการ สูบบุหรี่และสุรา 3. มีแกนนำในการขับเคลื่อนการดำเนินงานปลอดบุหรี่และสุราในโรงเรียนเขตเทศบาลตำบลศรีสาคร

stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 20 เม.ย. 2564 14:04 น.