กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการควบคุมและป้องกันโรคไข้เลือดออก
รหัสโครงการ 64-L5267-15
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 1 สนับสนุนการจัดบริการสาธารณสุขของ หน่วยบริการ/สถานบริการ/หน่วยงานสาธารณสุข
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ หน่วยบริการหรือสถานบริการสาธารณสุข เช่น รพ.สต.
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ ผู้อำนวยการ รพ.สต.สว่างอารมณ์
วันที่อนุมัติ 20 เมษายน 2564
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 1 ตุลาคม 2563 - 30 กันยายน 2564
กำหนดวันส่งรายงาน 31 ตุลาคม 2564
งบประมาณ 30,775.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นายรุ่งโรจน์ ศักดิ์มรกต
พี่เลี้ยงโครงการ นายกิตติพงษ์ มุสิกะพันธ์
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลป่าขาด อำเภอสิงหนคร จังหวัดสงขลา
ละติจูด-ลองจิจูด 7.241,100.469place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานกิจกรรมทางกาย , แผนงานเผชิญภัยพิบัติและโรคระบาด , แผนงานแรงงานนอกระบบ
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

โรคไข้เลือดออกเป็นโรคติดต่อโดยยุงลายซึ่งเป็นปัญหาสาธารณสุขที่สำคัญของจังหวัดสงขลา อำเภอสิงหนคร เป็นอำเภอที่มีอัตราป่วยสูงสุดของจังหวัดสงขลา และมีแนวโน้มการระบาดในช่วงฤดูฝนของทุกปีและพบว่าประชากรที่ป่วยด้วยโรคไข้เลือดออกมากที่สุด ได้แก่ กลุ่มเด็กวัยเรียนที่มีอายุตั้งแต่ 5-9 ปี รองลงมาคือเด็กก่อนวัยเรียนและเด็กโตตามลำดับ นับตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2561 ถึงวันที่ 30 กันยายน 2563 จำนวนทั้งสิ้น 231 ราย คิดเป็นอัตราป่วย 285.98 ต่อประชากรแสนคนไม่มีรายงานผู้ป่วยเสียชีวิต จากรายงานสถานการณ์โรคไข้เลือดออกตำบลป่าขาด ย้อนหลัง 3 ปี จำนวน 5 หมู่บ้าน พบว่าปี 2560 มีจำนวนผู้ป่วย 6 ราย อัตราป่วย 355.61 ต่อแสนประชากร ปี 2561 มีจำนวน 9 ราย อัตราป่วย 320.05 ต่อแสนประชากรและในปี 2562 มีผู้ป่วยจำนวน 11 ราย อัตราป่วย 405.45 ต่อแสนประชากร จะเห็นได้ว่าการระบาดของโรคไข้เลือดออกมีจำนวนผู้ป่วยเพิ่มขึ้นทุกปี เนื่องจากมีปัจจัยด้านต่าง ๆ มาเกี่ยวข้องที่ทำให้มีการระบาดของโรค ที่ผ่านมาได้มีแนวทางการปฏิบัติของจังหวัดสงขลาโดยใช้มาตรการ 3-3-1 ในการควบคุมโรคไม่ให้มีการระบาดในรายต่อไป คือ 3 ตัวแรก คือสถานบริการสาธารณสุขในพื้นที่ทราบภายใน 3 ชั่วโมง ส่วน 3 ที่สอง คือต้องมีการสอบสวนโรคและทำลายแหล่งเพาะพันธ์ยุง พร้อมทั้งฉีดสเปรย์กระป๋องกำจัดยุงตัวเต็มวัยในบ้านผู้ป่วยภายใน 3 ชั่วโมง หลังได้รับรายงานและ 1 คือสำรวจและกำจัดแหล่งเพาะพันธ์ลูกน้ำยุงลายและพ่นสารเคมีกำจัดยุงตัวเต็มวัยในรัศมี 100 เมตร ของบ้านผู้ป่วยและจุดที่สงสัยเป็นแหล่งโรค ภายใน 1 วัน และใช้แนวทางการปฏิบัติ 5ป+1ข ก็ยังไม่สามารถควบคุมการเกิดโรคไข้เลือดออกลงได้ ยังหลายประเด็นที่ทำให้เกิดผู้ป่วยอย่างต่อเนื่อง

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 ประชาชนมีความรู้และทักษะสามารถป้องกันควบคุมโรคไข้เลือดออกที่ถูกต้อง ไม่น้อยกว่าวร้อยละ 80

 

0.00
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม

1.กำหนดพื้นที่ในการดำเนินการ โดยการจัดลำดับความเสี่ยง 1.1สำรวจความชุกลูกน้ำยุงลายในโรงเรียน บ้าน วัด สถานที่ราชการและเอกชน 1.2 สรุปผลความชุกของแต่ละหมู่บ้าน 1.3 จัดลำดับพื้นที่ดำเนินการ ก่อน - หลัง 2.แจกทรายอะเบทให้กับประชาชนเพื่อกำจัดลูกน้ำยุงลายในครัวเรือนตนเอง 3.ดำเนินการพ่นหมอกควันกำจัดยุงลายเต็มวัยในโรงเรียนและบ้านผู้ป่วย 4.ออกสอบสวนโรคเมื่อมีผู้ป่วยโดยทีมสอบสวนโรคตำบลป่าขาด

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ

ประชาชนมีความรู้และทักษะสามารถป้องกันควบคุมโรคไข้เลือดออกที่ถูกต้อง ไม่น้อยกว่าร้อยละ 80 ของหลังคาเรือน

stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 20 เม.ย. 2564 14:53 น.