กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการป้องกันโรคมะเร็งปากมดลูกและมะเร็งเต้านมในผู้หญิงกลุ่มเสี่ยง ปี 2564
รหัสโครงการ 64-L5237-1-03
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 1 สนับสนุนการจัดบริการสาธารณสุขของ หน่วยบริการ/สถานบริการ/หน่วยงานสาธารณสุข
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ หน่วยบริการหรือสถานบริการสาธารณสุข เช่น รพ.สต.
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ ผู้อำนวยการโรงพยาบาลสทิงพระ
วันที่อนุมัติ 1 เมษายน 2564
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 1 มีนาคม 2564 - 30 กันยายน 2564
กำหนดวันส่งรายงาน
งบประมาณ 20,500.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นายนครินทร์ ฉินตระกูลประดับ
พี่เลี้ยงโครงการ
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลจะทิ้งพระ อำเภอสทิงพระ จังหวัดสงขลา
ละติจูด-ลองจิจูด 7.469,100.437place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานกลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีความเสี่ยง
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง 200 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง :

stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

โรคมะเร็งปากมดลูกและมะเร็งเต้านม เป็นสาเหตุการตายอันดับ 1 ในสตรีอายุ 30 ปีขึ้นไปเป็นโรคที่พบว่ามีอุบัติการณ์การเกิดสูงและเพิ่มมากขึ้นทุกปี ซึ่งเป็นปัญหาที่คุกคามสุขภาพสตรี เนื่องจากโรคมะเร็งเป็นโรคที่เป็นแล้วจะทำให้เกิดอาการป่วยและเสียชีวิตก่อนวัยอันสมควร ซึ่งผู้ป่วยที่ไปรับการรักษาพยาบาลส่วนใหญ่มักจะไปรับการรักษาเมื่ออยู่ในระยะที่เป็นมากแล้ว ทำให้ผลการรักษาไม่ได้ผลดีเท่าที่ควรแต่ในขณะเดียวกันโรคมะเร็งเป็นโรคหนึ่งที่สามารถรักษาให้หายขาดได้ถ้าหากว่าได้รับการตรวจวินิจฉัยและมาพบแพทย์ตั้งแต่ในระยะเริ่มแรก ปัจจุบันสตรีจำนวนไม่น้อยที่ยังขาดความรู้ในเรื่องโรคมะเร็งปากมดลูกและมะเร็งเต้านม ซึ่งเป็นกลุ่มเป้าหมายหลักของตำบลจะทิ้งพระ
จากการดำเนินงานคัดกรองมะเร็งปากมดลูกในสตรีอายุ 30-60 ปี ปีงบประมาณ 2563 สตรีอายุ 30-80 ปี จำนวน 702 คน ต้องคัดกรองมะเร็งเต้านมทุกคนโดยการตรวจคัดกรองโดยตนเอง และกลุ่มอายุ 30- 60 ปีมีจำนวน 470 คนต้องได้รับการตรวจมะเร็งปากมดลูกอย่างน้อย ร้อยละ 40 สตรีกลุ่มเป้าหมาย 188 คน ได้รับการตรวจคัดกรอง และในปีงบประมาณ 2564 ดังนั้นโรงพยาบาลสทิงพระ จึงได้ทำ โครงการป้องกันโรคมะเร็งปากมดลูกและมะเร็งเต้านมในผู้หญิงกลุ่มเสี่ยง ปี2564เพื่อป้องกันโรคแก่ประชาชน เพื่อที่จะพัฒนาคุณภาพชีวิตแก่ประชาชน และเป็นการลดภาระค่าใช้จ่ายที่จะต้องดูแลรักษาผู้ป่วยโรคมะเร็ง และเพื่อค้นหาและคัดกรองโรคในสตรีกลุ่มเสี่ยง

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 1. เพื่อให้สตรีกลุ่มเป้าหมาย อายุ 30-80 ปี ได้รับความรู้และสามารถการตรวจคัดกรองมะเร็งเต้านมด้วยตนเอง
  1. สตรีกลุ่มเป้าหมาย อายุ 30-80 ปี ได้รับความรู้และสามารถการตรวจคัดกรองมะเร็งเต้านมด้วยตนเองได้อย่างถูกต้องร้อยละ 80
    วัดจากการประเมินทักษะการตรวจด้วยตนเอง
0.00
2 2. เพื่อให้สตรีกลุ่มเป้าหมาย อายุ 30-80 ปี ทีมีความผิดปกติมีภาวะเสี่ยงต่อการเกิดมะเร็งเต้านมได้รับการตรวจและรักษาส่งต่อโดยเจ้าหน้าที่
  1. สตรีกลุ่มเป้าหมาย อายุ 30-80 ปี ทีมีความผิดปกติมีภาวะเสี่ยงต่อการเกิดมะเร็งเต้านมได้รับการตรวจและรักษาส่งต่อโดยเจ้าหน้าที่ร้อยละ 100
0.00
3 3. เพื่อให้เพื่อให้สตรีกลุ่มเสี่ยงเป้าหมาย อายุ 30-60 ปี ได้รับความรู้เรื่องการตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูก
  1. สตรีกลุ่มเสี่ยงเป้าหมาย อายุ 30-60 ปี ได้รับความรู้เรื่องการตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูกร้อยละ 80 วัดจากแบบสอบถาม
0.00
4 4.เพื่อให้สตรีกลุ่มเสี่ยงเป้าหมาย อายุ 30-60 ปี ได้รับการตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูกอย่างน้อยร้อยละ 40
  1. สตรีกลุ่มเสี่ยงเป้าหมาย อายุ 30-60 ปี ได้รับการตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูกอย่างน้อยร้อยละ 40 วัดจากรายงาน
0.00
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม

1.จัดทำโครงการ/ประสานงานผู้เกี่ยวข้อง       2. จัดทำทะเบียนสตรีกลุ่มเป้าหมาย
      3. ประสานงาน อสม. ประจำหมู่บ้าน และกลุ่มเป้าหมาย
      4. จัดประชุมให้ความรู้แก่สตรีกลุ่มเป้าหมาย มีความรู้และสามารถการตรวจคัดกรองมะเร็งเต้านมด้วยตนเอง ความรู้เรื่องการตรวจ    คัดกรองมะเร็งปากมดลูก ในหมู่บ้าน หมู่บ้านละ 1 ครั้ง รวม 4 ครั้ง หมู่ละ 50 คน รวม 200 คน       5. ให้บริการตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูก และมะเร็งเต้านม และประเมินทักษะการตรวจเต้านมหลังการอบรมทันที
  โดยเจ้าหน้าที่สาธารณสุข       6. ส่งต่อในรายที่พบความผิดปกติ

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ
  1. สตรีกลุ่มเป้าหมาย อายุ 30-80 ปี ได้รับความรู้และสามารถการตรวจคัดกรองมะเร็งเต้านมด้วยตนเองได้อย่างถูกต้องร้อยละ 80
          2. สตรีกลุ่มเป้าหมาย อายุ 30-80 ปี ทีมีความผิดปกติมีภาวะเสี่ยงต่อการเกิดมะเร็งเต้านมได้รับการตรวจและรักษาส่งต่อโดย    เจ้าหน้าที่ร้อยละ 100
          3. สตรีกลุ่มเสี่ยงเป้าหมาย อายุ 30-60 ปี ได้รับความรู้เรื่องการตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูกร้อยละ 80
          4. สตรีกลุ่มเสี่ยงเป้าหมาย อายุ 30-60 ปี ได้รับการตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูกอย่างน้อยร้อยละ 40 และกลุ่มผิดปกติได้รับการ  ตรวจรักษาทุกคน
stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 23 เม.ย. 2564 08:46 น.