กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการประชุมเครือข่ายป้องกันแก้ไขและค้นหาผู้ที่สูบบุหรี่ในชุมชน ปี 2564
รหัสโครงการ 64-L5237-1-04
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 1 สนับสนุนการจัดบริการสาธารณสุขของ หน่วยบริการ/สถานบริการ/หน่วยงานสาธารณสุข
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ หน่วยบริการหรือสถานบริการสาธารณสุข เช่น รพ.สต.
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ ผู้อำนวยการโรงพยาบาลสทิงพระ
วันที่อนุมัติ 1 เมษายน 2564
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 1 เมษายน 2564 - 30 กันยายน 2564
กำหนดวันส่งรายงาน
งบประมาณ 12,000.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นายนครินทร์ ฉินตระกูลประดับ
พี่เลี้ยงโครงการ
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลจะทิ้งพระ อำเภอสทิงพระ จังหวัดสงขลา
ละติจูด-ลองจิจูด 7.469,100.437place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานยาสูบ
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

ปัญหาการสูบบุหรี่ในประเทศไทยทวีความรุนแรง โดยเฉพาะอายุของนักสูบหน้าใหม่ที่ลดน้อยลงและมีแนวโน้มเพิ่มสูงขึ้น
ซึ่งการสูบบุหรี่เป็นอันตรายต่อสุขภาพ ส่งผลกระทบทั้งด้านเศรษฐกิจ สังคม อย่างกว้างขวางและเป็นสาเหตุสำคัญของการเจ็บป่วยและเสียชีวิตก่อนวัยอันควร ทำให้รัฐต้องเสียค่าใช้จ่ายในการดูแลรักษาเป็นจำนวนมากจากข้อมูลการสำรวจพฤติกรรมการสูบบุหรี่และการดื่มสุราของประชากร พ.ศ.2557 ของสำนักงานสถิติแห่งชาติพบว่า ประเทศไทยมีผู้สูบบุหรี่จำนวน11.4ล้านคนอัตราการสูบบุหรี่ ในประชากรอายุ 15 ปีขึ้นไป ร้อยละ 20.7 ต่อประชากรพันคนอยู่ในกลุ่มอายุ 25-59 ปี ซึ่งเป็นกลุ่มวัยทำงานมากที่สุดร้อยละ 23.5 รองลงมาคือกลุ่มอายุ 60 ปีขึ้นไป ร้อยละ 16.6และกลุ่มอายุ 15-24 ปีร้อยละ 14.7 ตามลำดับเป็นผู้ชายร้อยละ 40.5 และผู้หญิง ร้อยละ 2.2 โดยสูบบุหรี่จากโรงงานอย่างเดียวมากที่สุด 5.3 ล้านคน รองลงมาคือบุหรี่มวนเอง 4.2 ล้านคน และทั้งบุหรี่โรงงาน/บุหรี่มวนเอง 1.9 ล้านคนและมีคนไทยได้รับควันบุหรี่มือสองในบ้านร้อยละ 28.1 มีนักสูบหน้าใหม่เกิดขึ้นราว2-3 แสนคนต่อปี คนไทยเสียชีวิตจากการสูบบุหรี่ปีละประมาณ 52,000 คน เฉลี่ยวันละ 142 คน ชั่วโมงละ 6 คนและเสียชีวิตจากโรคที่เกิดจากบุหรี่ ร้อยละ 12 ของการตายทั้งหมดผู้ที่สูบบุหรี่มีโอกาสตายด้วยโรคมะเร็งมากกว่าผู้ไม่สูบบุหรี่ 20 เท่า ที่สำคัญ 1 ใน 4 เป็นเด็กเล็กที่ตายเพราะได้รับควันบุหรี่มือสองหากการควบคุมการบริโภคยาสูบไม่เข้มแข็งจะมีการตายด้วยโรคที่เกิดจากการสูบบุหรี่ถึง 8 ล้านคน ใน 20 ปีข้างหน้า โรงพยาบาลสทิงพระได้เล็งเห็นถึงปัญหาการสูบบุหรี่ซึ่งยังมีอยู่เป็นจำนวนมากสมควรที่จะต้องดำเนินการแก้ไขจึงได้จัดทำโครงการ โครงการประชุมเครือข่ายเพื่อป้องกันแก้ไขและค้นหาผู้ที่สูบบุหรี่ในชุมชนปี 2564 เพื่อ ค้นหาผู้สูบบุหรี่ให้การช่วยเหลือ ผู้สูบบุหรี่เลิกสูบเข้าสู่กระบวนการบำบัดและการสร้างเครือข่ายให้ความรู้เรื่องการสูบบุหรี่ใกล้บ้าน

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 1. เพื่อสร้างทีมเครือข่ายแกนนำทีมีความรู้เรื่องการป้องกันโรคที่เกิดจากบุหรี่ให้คำแนะนำเรื่องการสูบบุหรี่
  1. เพื่อสร้างทีมเครือข่ายแกนนำทีมีความรู้เรื่องการป้องกันโรคที่เกิดจากบุหรี่ให้คำแนะนำเรื่องการสูบบุหรี่อย่างถูกต้องร้อยละ 80
0.00
2 2. เพื่อให้เครือข่ายนำความรู้ คำแนะนำการความรู้เรื่องการป้องกันโรคที่เกิดจากบุหรี่ให้คำแนะนำเรื่องการสูบบุหรี่สื่อสารให้กับประชาชนในพื้นที่
  1. เพื่อให้เครือข่ายนำความรู้ คำแนะนำการความรู้เรื่องการป้องกันโรคที่เกิดจากบุหรี่ให้คำแนะนำเรื่องการสูบบุหรี่สื่อสารให้กับประชาชนในพื้นที่ ครอบคลุมทุกหมู่บ้าน 4 หมู่บ้าน
0.00
3 3 .เพื่อค้นหาและสำรวจคนที่สูบบุหรี่
  1. เพื่อค้นหาและสำรวจคนที่สูบบุหรี่ทุกหลังคาเรือนครอบคลุมทุกหมู่บ้าน 4 หมู่บ้าน
0.00
4 4. เพื่อนำคนที่สูบบุหรี่เข้าสู่กระบวนการบำบัดและเลิกสูบบุหรี่ได้อย่างน้อยร้อยละ 10
  1. เพื่อนำคนที่สูบบุหรี่เข้าสู่กระบวนการบำบัดและเลิกสูบบุหรี่ได้อย่างน้อยร้อยละ 10
0.00
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
  1. จัดทำโครงการ/ประสานงานผู้เกี่ยวข้อง
    1. แจ้งทีมเครือข่ายแกนนำและอสม
    2. จัดประชุมให้ความรู้แก่เครือข่ายเพื่อป้องกันแก้ไขและค้นหาผู้ที่สูบบุหรี่ในชุมชน
    3. อสมและเครือข่ายลงพื้นที่สำรวจประชากรในเขตรับผิดชอบสำรวจพร้อมให้คำแนะนำเรื่องการสูบบุหรี่
    4. ส่งกลุ่มเป้าหมายที่ต้องการเลิกบุหรี่เข้าสู่กระบวนการบำบัดรักษา
    5. สรุปประเมินผล/วิเคราะห์ประเด็นปัญหาโครงการ
stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ
  1. มีทีมเครือข่ายแกนนำทีมีความรู้เรื่องการป้องกันโรคให้คำแนะนำเรื่องการสูบบุหรี่อย่างถูกต้องร้อยละ 80
        2. เครือข่ายสามารถนำความรู้ คำแนะนำการความรู้เรื่องการป้องกันให้คำแนะนำเรื่องการสูบบุหรี่สื่อสารให้กับประชาชนในพื้นที่  ครอบคลุมทุกหมู่บ้าน 4 หมู่บ้าน     3. เพื่อค้นหาและสำรวจคนที่สูบบุหรี่ทุกหลังคาเรือนครอบคลุมทุกหมู่บ้าน 4 หมู่บ้าน     4. เพื่อนำคนที่สูบบุหรี่เข้าสู่กระบวนการบำบัดและเลิกสูบบุหรี่ได้อย่างน้อยร้อยละ 10
stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 23 เม.ย. 2564 08:58 น.