โครงการควบคุม ป้องกันโรคไข้เลือดออก ประจำปีงบประมาณ 2564
ชื่อโครงการ | โครงการควบคุม ป้องกันโรคไข้เลือดออก ประจำปีงบประมาณ 2564 |
รหัสโครงการ | 2564-L3306-2-29 |
ประเภทการสนับสนุน | ประเภท 2 สนับสนุนกิจกรรมสร้างเสริมสุขภาพ การป้องกันโรคของกลุ่มหรือองค์กรประชาชน/หน่วยงานอื่น |
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ | กลุ่มหรือองค์กรประชาชน |
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ | ชมรม อสม. รพ.สต.บ้านโล๊ะจังกระ |
วันที่อนุมัติ | 30 มีนาคม 2564 |
ระยะเวลาดำเนินโครงการ | 1 เมษายน 2564 - 20 กันยายน 2564 |
กำหนดวันส่งรายงาน | 31 ตุลาคม 2564 |
งบประมาณ | 8,400.00 บาท |
ผู้รับผิดชอบโครงการ | นางจำลอง อินนุรักษ์ |
พี่เลี้ยงโครงการ | |
พื้นที่ดำเนินการ | ตำบลคลองเฉลิม อำเภอกงหรา จังหวัดพัทลุง |
ละติจูด-ลองจิจูด | 7.349,99.958place |
(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)
กลุ่มเป้าหมาย | จำนวน(คน) | |
---|---|---|
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย | ||
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ | ||
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง | 500 | keyboard_arrow_down |
กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง : |
สถานการณ์ปัญหา | ขนาด |
---|
ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล
ในช่วงฤดูฝนมักมีการระบาดของโรคไข้เลือดออกเป็นจำนวนมากในทุกภาคของประเทศไทย สาเหตุของการเกิดโรคไข้เลือดออกเกิดจากเชื้อไวรัสเด็งกี่(Dengue) เชื้อไวรัสชิคุนกุนย่า(Chikungunya) เป็นสาเหตุของโรคซึ่งปัจจุบันจากการตรวจสอบจากห้องปฏิบัติการพบว่าเชื้อไวรัสเด็งกี่มี 4 ชนิดเชื้อดังกล่าวสามารถทำให้เลือดออกรุนแรงได้ ดังนั้นเมื่อเชื้อตัวใดตัวหนึ่งเข้าสู่ร่างกายจะทำให้ร่างกายมีภูมิคุ้มกันต้านทานต่อเชื้อตัวนั้นอย่างถาวรและยังต่อต้านข้ามไปเชื้ออื่นๆอีก 3 ชนิดแต่อยู่ไม่ถาวร โดยทั่วไปอยู่ได้นาน 6-12 เดือน หลังระยะนี้แล้ว คนที่เคยติดเชื้อเด็งกี่ชนิดหนึ่ง อาจติดเชื้อเด็งกี่ชนิดอื่นต่างจากครั้งแรกก็ได้ถือเป็นการติดเชื้อครั้งที่สอง การติดเชื้อซ้ำๆเชื่อกันว่าเป็นปัจจัยสำคัญที่ทำให้เกิดโรคไข้เลือดออก โรคไข้เลือดออกถือว่าเป็นปัญหาสาธารณสุขที่สำคัญมากเพราะมีผู้ป่วยป่วยและตายจำนวนมากในแต่ละปีเป็นโรคติดต่อที่มียุงลายเป็นพาหะ การระบาดตลอดปีและพบมากในช่วงฤดูฝน ยุงลายชอบวางไข่ในแหล่งที่มนุษย์สร้างขึ้น จากสถิติปี สอ.พบผู้ป่วยจำนวน และในเขตรับผิดชอบของโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านโล๊ะจังกระ ซึ่งประกอบด้วยบ้านโล๊ะจังกระ ประกอบด้วย หมู่ที่ 5 บ้านคลองเฉลิม, หมู่ที่ 9 บ้านโล๊ะจังกระ และหมู่ที่ 10 บ้านในควน ซึ่งในเขตรับผิดชอบของโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านโล๊ะจังกระ พบผู้ป่วยจำนวน 2 ราย
จากการเก็บรวบรวมข้อมูลของอาสาสมัครสาธารณสุข ในเขตพื้นที่โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านโล๊ะจังกระ โดยการสำรวจค่า BI CI และ HI พบว่าทั้ง 3 หมู่บ้าน ยังมีปัญหาอยู่มาก ปัญหาที่เราต้องเร่งแก้ปัญหาคือ โรคไข้เลือดออก เพราะจากการสำรวจดัชนีความชุกของลูกน้ำยุงลายยังพบว่ามีความชุกของลูกน้ำในเกณฑ์ที่สูงคือค่า HI เท่ากับ 30.26 เพราะประชาชนส่วนใหญ่ไม่ค่อยให้ความสนใจในการป้องกัน คิดว่าการป้องกันโรคเป็นหน้าที่ของฝ่ายสาธารณสุข ดังนั้นกองทุนอาสาสมัครสาธารณสุขโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านโล๊ะจังกระ จึงตระหนักถึงสาเหตุของปัญหา หากไม่มีการควบคุมกำจัดลูกน้ำยุงลายให้ถูกต้องทันทีจะมีการระบาดของโรคไข้เลือดออกในเขตรับผิดชอบของโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านโล๊ะจังกระ จนอาจเป็นอันตรายต่อชีวิตของประชาชนเพิ่มจำนวนขึ้นอีกก็เป็นได้
ดังนั้นจึงจำเป็นที่เราจะต้องป้องกันและรณรงค์ให้ทุกคนตระหนักในการควบคุมป้องกันโรคไข้เลือดออก โดยวิธีกำจัดลูกน้ำยุงลาย และกำจัดตัวยุงลายทั้งวิธีกายภาพ และชีวภาพและทางเคมีในบ้าน วัดและโรงเรียน ดังนั้นโอกาสที่จะเกิดไข้เลือดออกก็จะลดน้อยลงด้วย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จ | ขนาดปัญหา | เป้าหมาย 1 ปี | |
---|---|---|---|
1 | 1.เพื่อกำจัดลูกน้ำยุงลาย และยุงลายพาหะนำโรคในบ้าน ชุมชน โรงเรียน และสถานบริการสาธารณสุข
|
0.00 | |
2 | 2.เพื่อเป็นการกระตุ้นให้ประชาชน ตื่นกลัวและตระหนักในการดูแลตนเองให้ปลอดภัยจากโรคไข้เลือดออก
|
0.00 | |
3 | 3.เพื่อลดอัตราการป่วยและลดอัตราการตายด้วยโรคไข้เลือดออกได้ไม่เกิน 20 ต่อแสนประชาชน
|
0.00 |
hourglass_emptyไม่มีกลุ่มกิจกรรม | กลุ่มเป้าหมาย (คน) |
งบกิจกรรม (บาท) |
ทำแล้ว |
ใช้จ่ายแล้ว (บาท) |
||
วันที่ | กิจกรรม | 653 | 8,400.00 | 4 | 8,400.00 | |
1 เม.ย. 64 - 20 ก.ย. 64 | อบรมให้ความรู้ | 333 | 700.00 | ✔ | 700.00 | |
1 เม.ย. 64 - 20 ก.ย. 64 | รณรงค์ควบคุมป้องกันโรคไข้เลือดออก | 300 | 6,900.00 | ✔ | 6,900.00 | |
29 เม.ย. 64 | พ่นหมอกควันใน ศพด. | 0 | 400.00 | ✔ | 400.00 | |
11 ส.ค. 64 | ประชุมสรุปผลฯ | 20 | 400.00 | ✔ | 400.00 |
- ขั้นเตรียมการ 1. ประชุมประสานการดำเนินงานระหว่างครู ผู้นำชุมชน อบต. อสม. สถานีอนามัย และผู้ที่เกี่ยวข้องในการจัดทำแผนและผสมผสานแผนการดำเนินกิจกรรมในตำบลตลิ่งชัน และตำบลคุ้งลาน อำเภอบางปะอิน จังหวัดพระนครศรีอยุธยา 2. ขอรับการสนับสนุนสื่อต่างๆ ในการประชาสัมพันธ์เผยแพร่โรคไข้เลือดออก จากสำนักงานสาธารณสุขอำเภอบางปะอิน จังหวัดพระนครศรีอยุธยา
- ขั้นดำเนินการ
1. กำหนดพื้นที่ในการดำเนินการ โดยการจัดลำดับความเสี่ยง
1.1 สำรวจความชุกลูกน้ำยุงลายในโรงเรียน บ้าน สถานที่ราชการและเอกชน
1.2 สรุปผลความชุกของแต่ละพื้นที่
1.3 จัดลำดับพื้นที่ดำเนินการ ก่อน – หลัง
2. แจกทรายอะเบทให้กับประชาชนเพื่อกำจัดลูกน้ำยุงลายในครัวเรือนตนเอง
3. ดำเนินการพ่นหมอกควันกำจัดยุงลายตัวแก่
๑. ลดอัตราป่วยและอัตราป่วยตายด้วยโรคไข้เลือดออกและโรคไข้ปวดข้อยุงลาย
๒. ลดอัตราป่วยและอัตราป่วยตายด้วยโรคติดต่อที่ป้องกันได้
๓. ประชาชนมีความรู้ มีความตระหนัก และร่วมมือกันกำจัดลูกน้ำยุงลาย ทำลายแหล่งเพาะพันธุ์ยุงลายในบ้านเรือน ชุมชนของตนเอง ร่วมกันปรับปรุงสภาพแวดล้อมให้สะอาดถูกสุขลักษณะ
๔. ประชาชน ชุมชน มีส่วนร่วมและดำเนินการควบคุมและป้องกันโรค
โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 23 เม.ย. 2564 09:33 น.