กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการ"แกนนำร่วมใจคุ้มครองผู้บริโภค"
รหัสโครงการ 64-PKL-02-08
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 2 สนับสนุนกิจกรรมสร้างเสริมสุขภาพ การป้องกันโรคของกลุ่มหรือองค์กรประชาชน/หน่วยงานอื่น
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ กลุ่มหรือองค์กรประชาชน
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ ชมรมอาสาสมัครสาธารณสุขตำบลปากล่อ
วันที่อนุมัติ 15 มีนาคม 2564
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 8 มิถุนายน 2564 - 10 กรกฎาคม 2564
กำหนดวันส่งรายงาน 20 กันยายน 2564
งบประมาณ 14,895.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นางอรสา เกตุพัฒนพันธ์
พี่เลี้ยงโครงการ
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลปากล่อ อำเภอโคกโพธิ์ จังหวัดปัตตานี
ละติจูด-ลองจิจูด 6.62,101.187place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานอาหารและโภชนาการ
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
งวดวันที่งวดโครงการวันที่งวดรายงานงบประมาณ
(บาท)
จากวันที่ถึงวันที่จากวันที่ถึงวันที่
1 8 มิ.ย. 2564 10 ก.ค. 2564 14,895.00
รวมงบประมาณ 14,895.00
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มวัยทำงาน 45 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มวัยทำงาน :

ระบุ

กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

ปัจจุบันนี้ ผลิตภัณฑ์สุขภาพที่ไม่เหมาะสมและการโฆษณาผลิตภัณฑ์สุขภาพที่ไม่ถูกต้อง มีออกมาอย่างแพร่หลาย กระจายอยู่ทั่วไปในทุกท้องที่โดยเฉพาะในร้านขายของชำที่อยู่ในหมู่บ้าน ซึ่งผลิตภัณฑ์บางอย่างไม่มีคุณภาพมาตรฐาน หรือไม่มีการรับรองใด ๆ ถ้าผู้จำหน่ายและผู้บริโภคไม่ได้รับข้อมูลที่ถูกต้องอาจก่อให้เกิดอันตรายแก่สุขภาพของประชาชนได้ จากการปฏิบัติงานในการตรวจสอบฉลากในร้านขายของชำในเขตตำบลปากล่อ จำนวน 30 ร้าน พบว่ามีร้านขายของชำจำหน่ายยาอันตรายที่ไม่ใช่ยาสามัญประจำบ้านมากกว่า 22 ร้าน (ร้อยละ 73 ) ส่วนใหญ่เป็นยาแก้อักเสบหรือยาปฏิชีวนะ (Antibiotics) และยาชุด ซึ่งทำให้ประชาชนมีความเสี่ยงและอันตรายจากการใช้ยาทำให้เกิดการดื้อยาเป็นการใช้ยาอย่างไม่สมเหตุสมผลและเสียเงินโดยเปล่าประโยชน์ เนื่องจากผู้ประกอบการ เจ้าของร้านขายของชำส่วนใหญ่ยังไม่ค่อยมีความรู้ในเรื่องเกี่ยวกับผลิตภัณฑ์และยารักษาโรคที่วางจำหน่ายในร้าน เช่น การขายยาอันตรายในร้านขายยาหลายร้าน หรือพบผลิตภัณฑ์ที่ไม่มีฉลากหรือฉลากไม่ครบถ้วน ผู้ประกอบการยังไม่มีความรู้ในเรื่องเหล่านี้ จากสภาพปัญหาดังกล่าวชมรมอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้านตำบลปากล่อ จึงได้จัดทำโครงการอบรมให้ความรู้ร้านขายของชำปลอดยาอันตรายในตำบลปากล่อขึ้น เพื่อรณรงค์ให้ความรู้ร้านขายของชำปลอดยาอันตราย ให้มีการเฝ้าระวังผลิตภัณฑ์สุขภาพในร้านขายของชำอย่างถูกต้อง และมีความต่อเนื่อง โดยผู้ประกอบการเองเป็นผู้เลือกหาผลิตภัณฑ์ที่มีคุณภาพ ปลอดภัยสำหรับผู้บริโภค มาจำหน่ายในร้านขายของชำได้อย่างเหมาะสม เพื่อให้ประชาชนได้รับความปลอดภัยจากการใช้บริการในร้านชำ เนื่องด้วยประเทศไทยยุค ไทยแลนด์ 4.0 การนำหน้าต่างเตือนภัยสุขภาพ เชื่อมโยงกับงานคุ้มครองผู้บริโภคในชุมชนของโรงพบาบาลส่งเสริมสุขภาพปากล่อ ในชื่อ ศูนย์แจ้งเตือนภัยสุขภาพ มาใช้ตรวจสอบความปลอดภัย เฝ้าระวัง ของยาและผลิตภัณฑ์สุขภาพในชุมชน “กรมวิทย์ With you” จึงเป็นเครื่องมือในการดูแลสุขภาพ โดยใช้หน้าต่าง กรมวิทย์ With You http://alert.dmsc.moph.go.th ของกรมวิทยาศาสตร์ กระทรวงสาธารณสุข โดยมี อสม. นักวิทย์นั้นผ่านการอบรม มีความรู้ทักษะการใช้ชุดทดสอบ ทำหน้าที่เฝ้าระวังผลิตภัณฑ์สุขภาพในชุมชน สอดส่องดูแลการแพร่กระจายผลิตภัณฑ์สุขภาพที่สุ่มเสี่ยง เพื่อแจ้งเบาะแสต่อเจ้าหน้าที่ และให้ความรู้ต่อครอบครัว เพื่อนบ้าน และคนในชุมชนที่ตนเองดูแล ดังนั้น ทางโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลปากล่อ ได้เห็นถึงความสำคัญของงานคุ้มครองผู้บริโภคและเฝ้าระวัง ป้องกันอาหารผลิตภัณฑ์ยา เครื่องสำอาง จึงได้จัดโครงการแกนนำอสม.นักวิทย์ และศูนย์แจ้งเตือนภัย เพื่อเป็นต้นแบบในการตรวจเฝ้าระวังคุณภาพอาหารและผลิตภัณฑ์สุขภาพในชุมชนตำบลปากล่อต่อไป

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 ข้อที่ 1. เพื่อให้แกนนำมีความรู้ความเข้าใจ เกี่ยวกับอันตรายจากการบริโภคผลิตภัณฑ์สุขภาพที่ไม่ปลอดภัย

แกนนำมีความรู้ความเข้าใจเข้าใจ เกี่ยวกับอันตรายจากการบริโภคผลิตภัณฑ์สุขภาพที่ไม่ปลอดภัย ร้อยละ 60

0.00
2 ข้อที่ 2. เกิดกลุ่มแจ้งเตือนภัย ของแกนนำคุ้มครองผู้บริโภค

เกิดศูนย์แจ้งเตือนภัยสุขภาพประจำโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพปากล่อ อย่างน้อย 1 ศูนย์

0.00
3 ข้อ 3. ประกวดร้านชำคุณภาพ โดยให้รางวัลร้านชำที่มีการพัฒนาคุณภาพ ลำดับ ชนะเลิศ รองชนะเลิศลำดับ 1 และรองชนะเลิศลำดับ 2

ร้านชำคุณภาพ มีการพัฒนาก่อนและหลังการตรวจประเมินผ่านเกณฑ์ร้านชำคุณภาพ ร้อยละ 80 และสุ่มตรวจอาหารและผลิตภัณฑ์ 10 ร้าน

0.00
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
  1. เขียนโครงการเพื่อขออนุมัติ
  2. ขอเชิญวิทยากร ให้ความรู้ แก่แกนนำคุ้มครองผู้บริโภค
  3. จัดซื้ออุปกรณ์ที่ใช้ในการอบรมและทำกิจกรรมเชิงปฏิบัติการ เตรียมเอกสาร/แผ่นพับการประกอบการอบรม
  4. รวมกลุ่มแกนนำคุ้มครองผู้บริโภค แจ้งเตือนภัย
  5. ดำเนินการอบรมและทำกิจกรรมตามแผนที่กำหนดไว้
stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ
  1. เกิดกลุ่มแจ้งเตือนภัย ของชุมชนปากล่อ
  2. แกนนำเครือข่ายผู้บริโภคมีความรู้และสามารถดำเนินการเฝ้าระวังผลิตภัณฑ์ในชุมชนได้
  3. มีร้านชำคุณภาพต้นแบบ ในชุมชนปากล่อ
stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 23 เม.ย. 2564 10:10 น.