กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการเด็กน้อยสุขภาพดี ได้รับวัคซีนครบตามเกณฑ์
รหัสโครงการ 60-L4116-4-14
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 2 สนับสนุนกิจกรรมสร้างเสริมสุขภาพ การป้องกันโรคของกลุ่มหรือองค์กรประชาชน/หน่วยงานอื่น
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ หน่วยบริการหรือสถานบริการสาธารณสุข เช่น รพ.สต.
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านลูโบ๊ะปันยัง
วันที่อนุมัติ 14 กรกฎาคม 2560
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 1 ตุลาคม 2559 - 29 กันยายน 2560
กำหนดวันส่งรายงาน
งบประมาณ 23,100.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นายอับดุลเลาะ สะรี
พี่เลี้ยงโครงการ นางสาวซัลมา หะยีสะมะแอ
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลกาบัง อำเภอกาบัง จังหวัดยะลา
ละติจูด-ลองจิจูด 6.449,101place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานเด็ก เยาวชน ครอบครัว
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

นโยบายของงานสร้างเสริมภูมิคุ้มกันโรคเพื่อให้งานสร้างเสริมภูมิคุ้มกันโรค ดำเนินไปโดยมีประสิทธิภาพ และบรรลุวัตถุประสงค์สูงที่สุด บุคลากรที่เกี่ยวข้องควรทราบนโยบายของกระทรวงสาธารณสุข และยึดถือเป็นแนวทางในการปฏิบัติงาน การได้รับบริการสร้างเสริมภูมิคุ้มกันโรคเป็นสิทธิขั้นพื้นฐานของเด็ก เด็กทุกคนในประเทศไทยควรได้รับวัคซีนพื้นฐาน ครบทุกชนิดตามกำหนดของกระทรวงสาธารณสุข ซึ่งรวมถึงการได้รับวัคซีนกระตุ้นตามกำหนดที่เหมาะสมสำหรับวัคซีนแต่ละชนิดด้วย ซึ่งหากเด็กกลุ่มวัยดังกล่าวมีอัตราป่วยและตายด้วยวัยที่ไม่สมควรเนื่องจากโรคที่สามารถป้องกันได้ด้วยวัคซีนแล้วหมู่บ้านชุมชนและประเทศชาติจะพัฒนาไปได้อย่างไรในอนาคต ฉะนั้นการเร่งรัดติดตามให้ประชากรกลุ่มเป้าหมายทุกคนได้รับการฉีดให้ครอบคลุมตามแผนที่วางไว้จึงเป็นสิ่งสำคัญที่จะต้องดำเนินการซึ่งการบริการสร้างเสริมภูมิคุ้มกันโรคจะต้องจัดให้แก่ประชาชนด้วยความสะดวก และปลอดภัย งานสร้างเสริมภูมิคุ้มกันโรค ต้องดำเนินการให้ครอบคลุมประชากรเป้าหมายในระดับสูงที่สุดและมีความต่อเนื่องตลอดไปงานสร้างเสริมภูมิคุ้มกันโรค จะพยายามป้องกันประชาชนจากโรคที่ป้องกันได้ด้วยวัคซีนให้ได้มากโรคที่สุด โดยการเพิ่มชนิดของวัคซีนที่ใช้ ทั้งนี้โดยความเหมาะสมกับสถานการณ์ทางระบาดวิทยาของโรค และกำลังทรัพยากรด้านสาธารณสุขของประเทศและต้องดำเนินการในทุกพื้นที่ โดยประสานสอดคล้องกับแผนงานหรือโครงการด้านสาธารณสุขอื่นๆ เช่น งานอนามัยโรงเรียน งานโภชนาการ งานป้องกันและควบคุมโรคติดต่ออื่นๆ ทั้งนี้ เพื่อให้ทุกงานที่เกี่ยวข้องมีประสิทธิภาพสูงที่สุด และเกิดประโยชน์สูงสุดแก่ประชาชน จากการดำเนินงานสร้างเสริมภูมิคุ้มกันโรคของโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านลูโบ๊ะปันยัง ตำบลกาบัง อำเภอกาบัง จังหวัดยะลา ในรอบปีที่ผ่านมาปรากฏว่า กลุ่มเด็ก 0-5 ปี ที่มารับบริการคิดเป็นร้อยละ 68.86ซึ่งต่ำกว่ามาตรฐานที่กำหนดฉะนั้นเพื่อให้การดำเนินงานบรรลุเป้าหมายตามแผนฯจากรายงานอัตราความครอบคลุมวัคซีนขั้นพื้นฐานพบว่า เด็ก 0-5 ปี ในเขตรับผิดชอบของโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านลูโบ๊ะปันยัง ตำบลกาบัง อำเภอกาบัง จังหวัดยะลา ได้รับวัคซีนไม่ครอบคลุม จึงจำเป็นต้องดำเนินการเร่งรัด ติดตาม ค้นหาเด็กตามกลุ่มเป้าหมายให้มารับการฉีดวัคซีนทุกคนเพื่อเป็นการป้องกันโรคที่อาจจะเกิดขึ้นกับประชากรกลุ่มอายุดังกล่าวไปอนาคตต่อไป

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 1.เพื่อให้เด็กอายุ0-5 ปีได้รับวัคซีนครบตามเกณฑ์

 

2 2.เพื่อให้เด็กอายุ 0-5ปี มีภูมิต้านทานโรคเหมาะสมตามวัย

 

3 3.เพื่อให้เด็กอายุ 0-5ปี มีพัฒนาการสมวัย

 

stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม

1.จัดทำโครงการเสนอประธานและคณะกรรมการกองทุนหลักประกันสุขภาพตำบลบ้าน ลูโบ๊ะปันยัง
2.ประสานงานกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง
3.ประสานงานกับสสอ./รพ./สสจ.ยะลาเพื่อขออนุเคราะห์วิทยากร 4.ขั้นเตรียมการ
4.1. ประชุมชี้แจงเพื่อทำความเข้าใจกับเจ้าหน้าที่ในรพ.สต.บ้านลูโบ๊ะปันยัง เพื่อให้เข้าใจวัตถุประสงค์ของโครงการ
4.22. สำรวจข้อมูลกลุ่มเป้าหมายในการฉีดวัคซีนและข้อมูลกลุ่มเด็กที่ไม่มาฉีดวัคซีนตามเกณฑ์ 5.ขั้นดำเนินการ
5.1. รณรงค์ฉีดวัคซีนในกลุ่มเด็กที่ไม่มาฉีดวัคซีนตามเกณฑ์ 5.2. จัดอบรมให้ความรู้แก่บิดา มารดา และผู้ดูแลเด็กถึงความสำคัญของการได้รับวัคซีนและละชนิด และมอบเกียรติบัตรให้แก่แม่ต้นแบบที่นำบุตรหลานมาฉีดวัคซีนครบตามเกณฑ์
6.ระยะหลังดำเนินการ
6.1.ติดตามความครอบคลุมวัคซีนในกลุ่มเป้าหมายทุกเดือน

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ

1.ความครอบคลุมของการได้รับวัคซีนขั้นพื้นฐานในเด็ก 0-5 ปี ไม่น้อยกว่าร้อยละ 80 2.ผู้ปกครองมีความตระหนักในการพาเด็กมารับบริการฉีดวัคซีน 3.ไม่เกิดโรคที่สามารถป้องกันด้วยวัคซีน

stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 8 ส.ค. 2560 10:57 น.