กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการเฝ้าระวังดูแลผู้เข้าข่ายต้องกักกันเพื่อสังเกตอาการโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) ปีงบประมาณ 2564
รหัสโครงการ 64-L4131-5-02
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 5 สนับสนุนกรณีเกิดโรคระบาดหรือภัยพิบัติ
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ หน่วยงานสาธารณสุขอื่นของ อปท. เช่น กองสาธารณสุขของเทศบาล
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ กองสาธารณสุขและสิ่งแวดล้อม องค์การบริหารส่วนตำบลอัยเยอร์เวง
วันที่อนุมัติ 23 เมษายน 2564
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 23 เมษายน 2564 - 30 กันยายน 2564
กำหนดวันส่งรายงาน
งบประมาณ 50,000.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นางสาวสุนิสา ยี่สุ่นทรง
พี่เลี้ยงโครงการ
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลอัยเยอร์เวง อำเภอเบตง จังหวัดยะลา
ละติจูด-ลองจิจูด 5.963,101.398place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานเผชิญภัยพิบัติและโรคระบาด
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง 85 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง :

stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

โรคติดต่อเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) เป็นโรคติดต่อร้ายแรงที่ทำให้เกิดโรคทางเดินหายใจอักเสบเสียบพลัน ปอดอักเสบและมีภาวะแทรกซ้อน พบแหล่งกำเนิดจากเมืองอู่ฮั่น มลฑลหูเป่ย ประเทศจีน ในช่วงเดือนธันวาคม ปี 2562 ปัจจุบันโรคติดต่อเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) ได้มีการแพร่ระบาดอย่างต่อเนื่องและส่งกระทบแก่หลายประเทศทั่วโลก จากข้อมูลกรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข ณ วันที่ 21 เมษายน 2564 มีรายงานผู้ป่วยยืนยันทั่วโลกรวม 217 ประเทศ 2 เขตบริหารพิเศษและ 2 เรือสำราญ รวมจำนวน 143,542,550 ราย มีอาการรุนแรง 109,498 ราย เสียชีวิต 3,057,541 ราย และสถานการณ์การแพร่ระบาดในประเทศไทยพบผู้ป่วย ติดเชื้อสะสม 46,643 ราย หายป่วย 29,371 ราย อยู่ระหว่างการรักษา 17,162 ราย ผู้ป่วยยืนยันเสียชีวิต 110 ราย ในส่วนของสถานการณ์การระบาดในพื้นที่จังหวัดยะลา ระลอกใหม่ตั้งแต่วันที่ 1 - 21 เมษายน 2564 มีรายงานผู้ป่วยสะสม 10 ราย โดยเป็นผู้ป่วยในพื้นที่อำเภอเบตง จำนวน 5 ราย           ทั้งนี้การเฝ้าระวังป้องกันและควบคุมการระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) มีมาตรการ ที่สำคัญคือ การป้องกันตนเองมิให้สัมผัสกับโรคโดยการหลีกเลี่ยงการอยู่ในสถานที่แออัด และไม่อยู่ใกล้ชิดผู้ป่วยไอหรือจาม การสวมหน้ากากอนามัย การล้างมือ รวมถึงการเฝ้าระวังผู้เดินทางกลับมาจากพื้นที่เสี่ยงทั้งในประเทศและต่างประเทศ เนื่องจากในจังหวัดชายแดนภาคใต้มีชาวไทยที่ไปประกอบอาชีพที่ประเทศมาเลเซียและต้องการจะเดินทางกลับภูมิลำเนาซึ่งมีจำนวนมาก ทั้งเข้าทางด่านที่ถูกต้องตามกฎหมายและลักลอบข้ามทางช่องทางธรรมชาติ จึงจำเป็นอย่างยิ่งที่ต้องมีมาตรการ คัดกรอง แยกกัก ในสถานที่ที่ห่างไกลจากชุมชน เป็นระยะเวลา 14 วัน เพื่อสังเกตอาการของผู้ที่เดินทางกลับจากต่างประเทศหรือพื้นที่เสี่ยง
          ดังนั้น กองสาธารณสุขและสิ่งแวดล้อม องค์การบริหารส่วนตำบลอัยเยอร์เวง จึงดำเนินการจัดทำโครงการเฝ้าระวังดูแลผู้เข้าข่ายต้องกักกันเพื่อสังเกตอาการโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) ปีงบประมาณ 2564 ขึ้น เพื่อบริหารจัดการสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) ในพื้นที่ตำบลอัยเยอร์เวงให้มีประสิทธิภาพ และลดผลกระทบต่อสุขภาพของประชาชนในพื้นที่ต่อไป

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อเฝ้าระวังผู้เดินทางมาจากพื้นที่หรือประเทศกลุ่มเสี่ยง

ร้อยละของผู้เดินทางมาจากพื้นที่หรือประเทศกลุ่มเสี่ยงได้รับการกักตัวเพื่อสังเกตอาการติดเชื้อครบ 14 วัน

100.00
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
ลำดับกิจกรรมหลักงบประมาณเม.ย. 64พ.ค. 64มิ.ย. 64ก.ค. 64ส.ค. 64ก.ย. 64
1 กิจกรรมจัดตั้งศูนย์ฯ(23 เม.ย. 2564-30 ก.ย. 2564) 50,000.00            
รวม 50,000.00
1 กิจกรรมจัดตั้งศูนย์ฯ กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรมย่อย 85 50,000.00 1 49,997.50
23 เม.ย. 64 - 30 ก.ย. 64 กิจกรรมจัดตั้งศูนย์เฝ้าระวังดูแลผู้เข้าข่ายต้องกักกันเพื่อสังเกตอาการโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 85 50,000.00 49,997.50

ขั้นเตรียมการ

  1) เตรียมข้อมูล จัดทำโครงการเสนอกองทุนหลักประกันสุขภาพตำบลอัยเยอร์เวง เพื่อขออนุมัติโครงการ

  2) ประชุมทีมเจ้าหน้าที่และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเพื่อร่วมกันวางแผนและเตรียมความพร้อม

  3) เตรียมความพร้อมของสถานที่และวัสดุอุปกรณ์ประจำศูนย์กักกันฯ

ขั้นดำเนินการ

  1) ดำเนินการคัดกรองและนำกลุ่มเสี่ยงเข้ากักตัว เป็นเวลา 14 วัน

  2) เฝ้าระวังและสังเกตอาการ หากเข้าเกณฑ์ ให้รีบนำส่งโรงพยาบาลเบตง

ขั้นประเมินและสรุปผล

  1) รวบรวมข้อมูล ประเมินผล

  2) สรุปผลการดำเนินงานโครงการ

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ

1) พื้นที่ตำบลอัยเยอร์เวง ได้รับการเฝ้าระวังและป้องกันโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19)   2) ศูนย์กักกันเพื่อสังเกตอาการเริ่มป่วยระดับตำบลมีความพร้อม ปลอดภัยและสามารถเฝ้าระวังดูแลผู้เสี่ยงต่อการติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ได้อย่างมีประสิทธิภาพ

stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 23 เม.ย. 2564 13:41 น.