กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการจัดตั้งระบบกักตัวผู้ต้องสงสัยโควิด-19 ระดับพื้นที่(LQ) อบต.ตาลีอายร์ ประจำปี 2564
รหัสโครงการ 64-L3043-01-0004
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 5 สนับสนุนกรณีเกิดโรคระบาดหรือภัยพิบัติ
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ หน่วยงานอื่นๆ ที่ไม่ใช่หน่วยงานสาธารณสุข เช่น โรงเรียน
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ ชมรม อสม.ตำบลตาลีอายร์
วันที่อนุมัติ 22 เมษายน 2564
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 22 เมษายน 2564 - 30 มิถุนายน 2564
กำหนดวันส่งรายงาน
งบประมาณ 82,605.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ ชมรม อสม.ตำบลตาลีอายร์
พี่เลี้ยงโครงการ
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลตาลีอายร์ อำเภอยะหริ่ง จังหวัดปัตตานี
ละติจูด-ลองจิจูด 6.789,101.389place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานเผชิญภัยพิบัติและโรคระบาด
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง 15 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง :

stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด
1 ปัจจุบันสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 ระลอกสาม ช่วงเดือนเมษายนจวบจนถึงปัจจุบัน มีอัตราการแพร่ระบาดอย่างรวดเร็วและขยายในวงกว้าง ส่งผลให้ประชาชนติดเชื้อโควิด-19 จำนวนมากกว่าวันละ 100 คน ทำให้การจะรับรักษาพยาบาลคนไข้เหล่านี้ในโรงพยาบาลคงไม่สามารถดำ
0.00

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

ตามประกาศคณะกรรมการหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ เรื่อง หลักเกณฑ์เพื่อสนับสนุนให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นดำเนินงานและบริหารจัดการระบบหลักประกันสุขภาพในระดับท้องถิ่นหรือพื้นที่ พ.ศ. 2561 ลงวันที่ 13 กันยายน 2561 ข้อ 6 กำหนดให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น เป็นผู้ดำเนินงานและบริหารจัดการระบบหลักประกันสุขภาพในระดับท้องถิ่นหรือพื้นที่ โดยให้มีกองทุนหลักประกันสุขภาพที่มีวัตถุประสงค์เพื่อสนับสนุนและส่งเสริมการจัดบริการสาธารณสุขของหน่วยบริการ สถานบริการ หน่วยงานสาธารณสุข หน่วยงานอื่น องค์กร หรือกลุ่มประชาชน เพื่อให้บุคคลสามารถเข้าถึงบริการสาธารณสุขได้อย่างทั่วถึงและมีประสิทธิภาพมากขึ้น โดยส่งเสริมกระบวนการมีส่วนร่วมตามความพร้อม ความเหมาะสมและความต้องการของประชาชนในท้องถิ่น และตามข้อ 10 เงินกองทุนหลักประกันสุขภาพให้ใช้จ่ายเพื่อสนับสนุนและส่งเสริมเป็นค่าใช้จ่ายตามแผนงาน โครงการ หรือกิจกรรม ที่คณะกรรมการกองทุนอนุมัติดังต่อไปนี้ (5) เพื่อสนับสนุนและส่งเสริมกิจกรรมกรณีเกิดโรคระบาดหรือภัยพิบัติในพื้นที่ ในการป้องกั้นและแก้ไขปัญหาสาธารณสุขได้ตามความจำเป็น เหมาะสม และทันต่อสถานการณ์ได้ ดังนั้น เพื่อให้สอดคล้องกับการเข้าถึงบริการสาธารณสุขของประชาชนในพื้นที่ได้อย่างทั่วถึงและสอดคล้องกับสถานการณ์การเกิดโรคระบาดหรือภัยพิบัติต่าง ๆ ในพื้นที่
ประกอบกับตามประกาศคณะกรรมการหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ เรื่อง หลักเกณฑ์เพื่อสนับสนุนให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นดำเนินงานและบริหารจัดการระบบหลักประกันสุขภาพในระดับท้องถิ่นหรือพื้นที่ (ฉบับที่ 3) พ.ศ. 2563 ลงวันที่ 31 มีนาคม 2563 ข้อ10/1 กำหนดว่า “เพื่อประโยชน์ในการป้องกันและแก้ไขปัญหากรณีเกิดการระบาดของโรคติดต่ออันตรายตามกฎหมายว่าด้วยโรคติดต่อ และคณะกรรมการกองทุนไม่อาจอนุมัติค่าใช้จ่ายตามข้อ 10 ได้ทันต่อสถานการณ์ ให้ประธานกรรมการตามข้อ 12 มีอำนาจอนุมัติโครงการหรือกิจกรรมเพื่อป้องกันและแก้ไขปัญหาด้านสาธารณสุขกรณีเกิดการระบาดของโรคติดต่ออันตรายตามกฎหมายว่าด้วยโรคติดต่อได้ตามความจำเป็น ได้ไม่เกินหนึ่งแสนบาทต่อโครงการ โดยให้ถือว่าเป็นโครงการหรือกิจกรรมที่คณะกรรมการกองทุนอนุมัติตามประกาศนี้ด้วย แล้วรายงานผลการดำเนินงานให้คณะกรรมการกองทุนทราบ” อีกทั้ง ประกอบกับปัจจุบันสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 ระลอกสาม ช่วงเดือนเมษายนจวบจนถึงปัจจุบัน มีอัตราการแพร่ระบาดอย่างรวดเร็วและขยายในวงกว้าง ส่งผลให้ประชาชนติดเชื้อโควิด-19 จำนวนมากกว่าวันละ 100 คน ทำให้การจะรับรักษาพยาบาลคนไข้เหล่านี้ในโรงพยาบาลคงไม่สามารถดำเนินการได้อย่างทั่วถึง ตลอดจนอาการป่วยโควิดก็มีระดับความรุนแรงในระดับน้อยถึงมาก โรงพยาบาลคงต้องใช้ในการดูแลผู้ป่วยอาการหนักเท่านั้นและมีความจำเป็น นอกจากนี้สถานการณ์ของบุคคลที่ไปทำงานในประเทศเพื่อนบ้าน มีแนวโน้มว่าจะต้องถูกผลักดันให้กลับประเทศ ซึ่งบุคคลเหล่านี้หลายคนอาจป่วยด้วยโควิดสายพันธุ์แอฟริกา ซึ่งเป็นสายพันธุ์ที่ - 2 –

ค่อนข้างดื้อวัคซีนที่กำลังจะฉีด ทางจังหวัดปัตตานีได้มีการประสานให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นเป็นสถานกักตัวแบบพื้นที่หรือ Local Quarantine : LQ เพื่อใช้ในการกักตัวบุคคลที่มีความเสี่ยงและเดินทางจากประเทศเพื่อนบ้านรวมถึงเพื่อรองรับผู้ที่จะถูกกักตัวที่เดินทางมาจากจังหวัดอื่นตามที่สาธารณสุขกำหนด ขึ้น
ดังนั้น เพื่อเป็นการเตรียมความพร้อมในการป้องกันการแพร่ระบาดของโรคไวรัสโคโรน่า 2019 ดังกล่าว จึงเป็นหน้าที่ของกลุ่ม อสม.ประจำตำบลตาลีอายร์ ในฐานะที่เป็นหน่วยงานสาธารณสุขในพื้นที่ที่ใกล้ชิดกับประชาชนในพื้นที่มากที่สุด (ทำหน้าที่ในการสนับสนุนการป้องกันโรคและระงับโรคติดต่อ) เป็นกลุ่มที่ต้องดูแลผู้ที่จะเดินทางเข้ามาประเทศไทย ซึ่งต้องถูกกักตัวเองในสถานที่ที่หน่วยงานกลางกำหนด (สำหรับของอำเภอยะหริ่ง ได้กำหนดสถานที่กลางในการกักตัวผู้ที่เดินทางกลับมาจากประเทศมาเลเซีย คือ ศูนย์พัฒนาชีวิตใหม่ตำบลปิยามุมัง ตามมติที่ประชุมอำเภอยะหริ่งเมื่อวันที่ 21 เมษายน 2564) จึงได้จัดทำโครงการป้องกันการเกิดโรคระบาดหรือภัยพิบัติในพื้นที่ตำบลตาลีอายร์ ขึ้นเพื่อแก้ไขปัญหาให้ทันท่วงทีต่อไปหากเกิดโรคระบาดหรือภัยพิบัติขึ้นจริงในพื้นที่ เป็นการป้องกันไม่ให้เกิดความรุนแรงของโรคและระงับยับยั้งการระบาดของโรคต่อไป

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 1. เพื่อจัดบริการกักตัวบุคคลที่มีความเสี่ยงใน LQ 2. เพื่อคัดกรองบุคคลที่เดินทางจากนอกพื้นที่และประเทศเพื่อนบ้าน
  1. เกิดระบบการกักตัวผู้ที่มีความเสี่ยงติดเชื้อโควิด-19
  2. ผู้ที่มีความเสี่ยงติดเชื้อโควิด-19 ได้รับการกักตัว 100%
0.00
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
วันที่ชื่อกิจกรรมกลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)

วัตถุประสงค์ข้อที่ 1 : 1. เพื่อจัดบริการกักตัวบุคคลที่มีความเสี่ยงใน LQ 2. เพื่อคัดกรองบุคคลที่เดินทางจากนอกพื้นที่และประเทศเพื่อนบ้าน

รวม 0 0.00 0 0.00

ไม่ระบุวัตถุประสงค์

22 เม.ย. 64 - 30 มิ.ย. 64 จัดตั้งระบบกักตัวบุคคลที่มีความเสี่ยงเดินทางมาจากพื้นที่เสี่ยง 15.00 68,025.00 -
22 เม.ย. 64 - 30 มิ.ย. 64 การคัดกรองและเฝ้าระวังบุคคลที่เดินทางมาจากต่างจังหวัดและประเทศเพื่อนบ้าน 15.00 14,580.00 -

หมายเหตุ : งบประมาณ และ ค่าใช้จ่าย รวมทุกวัตถุประสงค์อาจจะไม่เท่ากับงบประมาณรวมได้

กิจกรรมที่ 1 จัดตั้งระบบกักตัวบุคคลที่มีความเสี่ยงเดินทางมาจากพื้นที่เสี่ยง จัดตั้งระบบกักตัวบุคคลที่มีความเสี่ยงเดินทางมาจากพื้นที่เสี่ยง โดยใช้อาคารของศูนย์ พัฒนาชีวิตใหม่ ตำบลปิยามุมัง เพื่อการกักตัวบุคคลที่มีความเสี่ยงเดินทางมาจากพื้นที่เสี่ยง โดยกำหนดค่าใช้จ่ายสำหรับกิจกรรมนี้ ดังนี้ 1. ค่าจัดบริการกักตัวบุคคลที่สงสัยเดินทางจากพื้นที่มีความเสี่ยง (ค่าอาหารสำหรับผู้ที่ถูกกักตัว วันละ 3
มื้อ ๆ ละ 50 บาท) จำนวน 15 คน คนละ 150 บาท เป็นระยะเวลา 14 วัน คิดเป็นเงินทั้งสิ้น 31,500 บาท     2. ค่าอุปกรณ์ที่จำเป็นต่อการกักตัวของบุคคลเสี่ยง จำนวน 15 ชุด ๆละ 2,325 บาท คิดเป็นเงิน
34,875 บาท (รายละเอียดตามเอกสารแนบท้ายโครงการ : ผนวก ก.) 3. ค่าเจลล้างมือแอลกอฮอล์ (แบบขวดกดขนาด 400 ml) จำนวน 10 ขวด ๆ ละ 165 บาท  เป็นเงิน
1,650 รวมงบประมาณสำหรับกิจกรรมที่ 1 เป็นเงินทั้งสิ้น 68,025 บาท (เงินหกหมื่นแปดพันยี่สิบห้าบาทถ้วน) กิจกรรมที่ 2 การคัดกรองและเฝ้าระวังบุคคลที่เดินทางมาจากต่างจังหวัดและประเทศเพื่อนบ้าน - ประสาน อสม.ลงพื้นที่ประชาสัมพันธ์และคัดกรองบุคคลที่เดินทางมาจากต่างจังหวัดและประเทศเพื่อนบ้าน โดยกำหนดค่าใช้จ่ายสำหรับกิจกรรมนี้ ดังนี้ 1. ค่าตอบแทน อสม. หรือ (เบี้ยเลี้ยงตามระเบียบการจ่ายของหน่วยงานขอรับทุน) จำนวน 42 คน x 240 บาท เป็นเงิน 10,080 บาท ** หมายเหตุ สำหรับรายการนี้ จะเบิกเฉพาะวันที่มีเคสเข้ามาเท่านั้น โดยต้องแนบแบบรายงานการปฏิบัติงานของ อสม.ประกอบการเบิกจ่ายรายการนี้ด้วยทุกครั้ง 2. ค่าอุปกรณ์ เครื่องวัดอุณหภูมิแบบยิงหน้าผาก จำนวน 3 เครื่อง x 1500 บาท เป็นเงิน 4,500 บาท รวมงบประมาณสำหรับกิจกรรมที่ 2 เป็นเงินทั้งสิ้น 14,580 บาท (เงินหนึ่งหมื่นสี่พันห้าร้อยแปดสิบบาทถ้วน) รวมงบประมาณสำหรับโครงการนี้เป็นเงินทั้งสิ้น 82,605 บาท (เงินแปดหมื่นสองพันหกร้อยห้าบาทถ้วน)

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ
  1. เกิดระบบการกักตัวผู้ที่มีความเสี่ยงติดเชื้อโควิด-19
  2. ผู้ที่มีความเสี่ยงติดเชื้อโควิด-19 ได้รับการกักตัว 100% 3.สามารถป้องการระบาดของโรค. covid-19 ในพื้นที่ได้
stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 26 เม.ย. 2564 12:52 น.